ในซูเปอร์โบว์ลครั้งที่ 51 นอกจากความมันในสนามแล้ว อีกหนึ่งไฮไลท์ที่คนทั่วโลกรอชม ก็คือ ฮาล์ฟไทม์โชว์ ที่ปีนี้ได้ป๊อปสตาร์ระดับ “ตัวแม่” อย่าง Lady Gaga มาช่วยกระพือเรตติ้งให้ลุกเป็นไฟในช่วงพักครึ่ง
ช็อตเด็ดของปีนี้คือช่วงเปิดตัว Lady Gaga ที่ดาวระยิบระยับบนฉากหลังค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงและน้ำเงิน และเรียงตัวเป็นรูปธงชาติสหรัฐ ก่อนที่ “คุณแม่” จะโรยลงตัวลงจากหลังคาสนาม เอ็นอาร์จี สเตเดียม ลงมาเริ่มโชว์
หลายคนอาจคิดว่าเทคนิคดังกล่าวเป็นลูกเล่น CG ธรรมดา แต่ที่จริง ดาวระยิบระยับเหล่านั้น เกิดจากการเรียงตัวกันของโดรน (อากาศยานไร้คนขับ) ของ Intel ที่ใช้ชื่อว่า Shooting Star หลายร้อยตัว
Did you see those @intel drones light it up? #PepsiHalfTime #SB51 pic.twitter.com/cyNtRhZ2II
— NFL (@NFL) February 6, 2017
หลายคนที่เคยจับและลองเล่นโดรน คงพอรู้กันบ้างว่าการจะควบคุมให้ดี โดยไม่ไปชนกับสิ่งกีดขวางทั้งหลายไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่ผ่านการฝึกฝนหรือซ้อมมาเป็นอย่างดี
หลายคนที่เคยจับและลองเล่นโดรน คงพอรู้กันบ้างว่าการจะควบคุมให้ดี โดยไม่ไปชนกับสิ่งกีดขวางทั้งหลายไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่ผ่านการฝึกฝนหรือซ้อมมาเป็นอย่างดี ฉะนั้น การควบคุมโดรนถึงสามร้อยตัวให้เรียงตำแหน่งที่ถูกต้อง เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่ายาก
Shooting Star เป็นโดรนประเภทควอดคอปเตอร์ (4 ใบพัด) ขนาดประมาณ 1 ฟุต (30 ซม.) หนักเพียง 28 กรัม ซึ่งประดับด้วยหลอด LED ที่สามารถแสดงได้ถึง 4 พันล้านเฉดสี และถูกออกแบบโดยผสมผสานการประมวลผล การสื่อสาร เซนเซอร์ และเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อให้สามารถควบคุมได้ด้วยคนเพียงคนเดียว แม้จะมีจำนวนหลายร้อยลำ ทำให้สามารถเคลื่อนไหว และเรียงตัวเป็นรูปร่างต่างๆได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้น
ทาง Intel พยายามพัฒนาและทดลอง Shooting Star อย่างต่อเนื่อง และเพิ่งสร้างสถิติโลกด้วยการใช้คนเพียงคนเดียว ควบคุมโดรนพร้อมกัน 500 ตัว เมื่อเดือนพ.ย. ปีที่แล้ว รวมถึงการแสดงโชว์ในช่วงฤดูหนาวที่ดิสนีย์แลนด์ ในออร์แลนโด ด้วย
ส่วนในโชว์ของ Lady Gaga นั้น ถือเป็นการแพร่ภาพการแสดงของ Shooting Star เป็นครั้งแรกทางโทรทัศน์ แม้จะเป็นการบันทึกเทปไว้ล่วงหน้าก็ตาม
เหตุผลหลักไม่ใช่เพราะ Intel ไม่ต้องการเสี่ยงกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการออกอากาศสดๆ แต่เป็นเพราะกฎของคณะกรรมการควบคุมการบิน ที่ห้ามไม่ให้มีการใช้โดรนภายในรัศมี 34.5 ไมล์ของสนาม เอ็นอาร์จี สเตเดียม ระหว่างแข่งขัน
ทางเลือกของ Intel และ Lady Gaga คือการขอผ่อนผันกฎสองข้อ เพื่อการถ่ายทำล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์ คือการใช้โดรนบินเกินระดับความสูงที่กำหนด รวมถึงการบินผาดโผนเหนือผู้คนจำนวนมาก กระทั่งได้ภาพออกมาตามต้องการ และใช้ตัดต่อในช่วงเปิดตัวอย่างที่เห็นกัน
ประโยชน์ของ Shooting Star ในอนาคตคงไม่ได้ถูกจำกัดแค่เรื่องการบินผาดโผน หรือแสดงโชว์แทนพลุดอกไม้ไฟเท่านั้น เพราะปัจจุบัน โดรนถูกนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมหลายๆด้าน และในอนาคตอันใกล้ เราน่าจะได้เห็นอะไรที่เหนือชั้นกว่านี้ ทั้งจาก Intel รวมถึงผู้ผลิตโดรนรายอื่นๆแน่นอน
SOURCE:
Lady Gaga’s FULL Pepsi Zero Sugar Super Bowl LI Halftime Show | NFL
www.youtube.com/watch?v=txXwg712zw4&t=2s
Lady Gaga’s Halftime Show will reportedly use ‘hundreds of drones’
www.theverge.com/2017/2/4/14509436/lady-gaga-halftime-show-hundreds-of-drones
Intel and Drone Technology – Breaking New Ground
newsroom.intel.com/editorials/intel-and-drone-technology-breaking-new-ground