หากรู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจ เห็นอะไรขวางหูขวางตาแล้วละก็ ขอแนะนำให้หยุดเล่นโซเชียล เน็ตเวิร์ค ก่อนที่อาการของคุณจะหนักไปกว่าที่เป็นอยู่
และพบว่ากลุ่มที่พักการใช้งานโซเชียล มีเดียต่างๆเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ รู้สึกพอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ยอมรับว่าอิจฉา หรือมีแนวโน้มที่จะอิจฉา เมื่อเห็นกิจกรรมต่างๆของคนรู้จักในโซเชียลมีเดีย
Tromholt เริ่มต้นงานวิจัยชิ้นนี้ เพราะต้องการค้นหาว่าการที่เราติดต่อกับผู้คนได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน ส่งผลดีกับชีวิตเราจริงหรือไม่
และคำตอบที่ได้ก็คือ “ไม่”
ผู้ร่วมทดลองในงานวิจัยนี้ กระจัดกระจายอยู่ตามเมืองต่างๆทั่วเดนมาร์ก เป็นผู้หญิง 86% มีค่าเฉลี่ยอายุที่ 34 ปี และมีจำนวนเพื่อนใน Facebook เฉลี่ย 350 คน
ทั้งหมดจะเข้ารับการทดสอบเป็นเวลา 15 นาที เพื่อคัดแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ห้ามใช้ Facebook เป็นเวลา 7 วัน และกลุ่มที่ยังใช้ได้ตามปกติ
หลังการทดลอง มีผู้กลับมารับการทดสอบเพื่อให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิต ลดลงเหลือ 888 คน
เพราะมี 13% ที่ยอมรับว่ากลับมาใช้ Facebook ก่อนกำหนด เนื่องจาก 1) มีเรื่องเร่งด่วน และ 2) กลับไปด้วยความเคยชินโดยไม่ตั้งใจ
ผลการให้คะแนน พบว่าผู้ที่ยังใช้ Facebook ตามปกติ มีค่าเฉลี่ยที่ 7.74 ส่วนกลุ่มที่หยุดใช้ไป 7 วัน มีค่าเฉลี่ยที่ 8.11
การทดลองของ Tromholt สอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นที่พบว่ายิ่งใช้งานโซเชียลมีเดียนานเท่าไหร่ กลุ่มผู้เข้ารับการทดลองก็ยิ่งมีอาการเครียดมากขึ้นเท่านั้น
แม้จะยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ผู้คนเลิกการใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่ Tromholt ก็แนะนำว่าอย่างน้อยควรลดการใช้ลงบ้าง เพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
เฉพาะอย่างยิ่งในวันที่หลายคนติดแฮชแท็ก #โสดแล้วพาล ให้กับตัวเอง