การกลับมาของ NOKIA3310 และ การตลาดจากความคิดถึง

ขณะที่โลกของสมาร์ทโฟนไม่มีอะไรให้ฮือฮา Nokia อดีตยักษ์ใหญ่ในวงการโทรศัพท์มือถือ ก็หันกลับมาเรียกความสนใจของผู้คนด้วยฟีเจอร์โฟน ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกย่องว่า “แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี”

ขณะที่โลกของสมาร์ทโฟนไม่มีอะไรให้ฮือฮา Nokia อดีตยักษ์ใหญ่ในวงการโทรศัพท์มือถือ ก็หันกลับมาเรียกความสนใจของผู้คนด้วยฟีเจอร์โฟน ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกย่องว่า “แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี”

ในงาน Mobile World Congress 2017 กลางเดือนก.พ.นี้ Nokia ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ HMD Global เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่หลายรุ่น

แต่นั่นกลับไม่เป็นกระแสเท่าข่าวที่ว่า Nokia 3310 จะถูกนำกลับมาวางขายอีกครั้ง

สำหรับคนที่อยู่ในช่วงรอยต่อของประวัติศาสตร์โทรศัพท์มือถือ คงรู้จักเจ้านี่เป็นอย่างดี ในเรื่องความทนทาน ขนาดมีตลกร้ายว่าสามีทะเลาะกับภรรยาจนขว้าง3310ลงกับพื้นจนกระจัดกระจาย

แต่พอหยิบขึ้นมาประกอบใหม่ ก็ยังใช้คุย(ทะเลาะ)กันต่อได้!?!

3310 คือหนึ่งในมือถือที่ประสบความสำเร็จที่สุดของ Nokia ด้วยยอดขาย 126 ล้านเครื่องทั่วโลก นับจากเปิดตัวครั้งแรกในปี 2000

นอกจากความทนทานแล้ว 3310 ยังมีน้ำหนักเบา และมีฟีเจอร์หลายๆอย่างที่ถือว่า “ล้ำ” มากสำหรับยุคนั้น

อาทิ เครื่องคิดเลข นาฬิกาจับเวลา และเกมถึง4เกม โดยเฉพาะเกมยอดฮิตอย่าง Snake II ฟังก์ชั่น voice dialing การพิมพ์ข้อความได้สูงสุดถึง 459 ตัวอักษร ไปจนถึงการเปลี่ยนหน้ากากและแต่งริงโทนเฉพาะตัว

สนนราคาของ 3310 รุ่นคืนชีพ ถูกตั้งไว้ที่ 59 ยูโร หรือราว2พันบาทเศษๆ และวางเป้าไว้ที่การเป็นมือถือสำรองมากกว่าจะเป็นเครื่องหลัก

แต่ด้วยความคัลท์ของมัน ก็น่าจะเป็นมือถือสำรองที่น่าจะทำยอดขายได้ดีในระดับหนึ่งแน่นอน

มุมมอง AHEAD ASIA:

การกลับมาของ 3310 ในยุคที่น้อยคนจะใช้ฟีเจอร์โฟน เป็นการทำการตลาดแบบย้อนยุค (Nostalgic Marketing) ที่หยิบจับความคลาสสิคมาขายผู้บริโภค หรือ ที่ทีมงาน AHEAD ASIA เรียกว่า “การตลาดจากความคิดถึง”

เพราะแม้จะสวนทางกับกระแส แต่ก็มีจุดแข็งตรงที่ดึงความประทับใจและคุณค่าในอดีตของสินค้าชิ้นนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เหมือนที่ Famicom Mini ที่ขายดีจน  Nintendo ผลิตไม่ทันในช่วงเทศกาล Thanksgiving เมื่อปีที่แล้ว หรือ Pokemon GO ที่นอกจากจะบูมเพราะกระแส Augmented Reality แล้ว ก็ยังได้แรงส่งจากคนวัยทำงานที่ครั้งหนึ่งเคยชืนชอบอนิเมะเรื่องนี้ในตอนเด็กด้วย หรือ ธุรกิจแผ่นเสียงไวนิล ก็เป็น Physical Product ชนิดเดียวในธุรกิจดนตรีที่มีการเติบโตขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะเป็นดิจิทัลไปหมด

ขณะที่ในเมืองไทยกรณีศึกษาตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คงเป็นภาพยนตร์ฟีลกู๊ดอย่าง “แฟนฉัน” ที่ดึงอารมณ์ร่วมของคนยุคนั้น รวมถึงเด็กรุ่นหลังให้หันมาสนใจได้ในคราวเดียว เช่นเดียวกับกระแส “วัยรุ่นยุค90s” ที่ยังถูกจุดเป็นระยะทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่ท่องเที่ยวและร้านอาหารอย่างเพลินวาน หรือแม้แต่อีเวนต์อย่าง RCA Reunion ที่รวมเอานักร้องอย่าง โบ จ๊อยซ์, ไชน่าดอล และ พี่ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ก็ขายบัตรหมดได้อย่างรวดเร็ว

นั่นเพราะเราซื้อสินค้า และ บริการส่วนใหญ่ด้วยอารมณ์ และอารมณ์คิดถึงมันก็มีอานุภาพมากพอที่จะสร้างให้เป็นเป็น “ธุรกิจแห่งความคิดถึง” เช่นกัน
___________

อย่าลืมกดไลค์เพจ AHEAD.ASIA เพื่อไม่พลาดคอนเทนท์เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ และบทวิเคราะห์แบบพอดีคำ โดยไม่มีการขายของให้กวนใจ

 

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

อินทรีพิฆาตโดรน

Next Article

ชัวร์ก่อนชาร์จ? กับดักในพอร์ท USB สาธารณะ

Related Posts