i-Construction: จักรกลก่อสร้าง

ขณะที่หลายส่วนของโลกกังวลถึงการมาของหุ่นยนต์และ AI แต่ ญี่ปุ่น ที่อยู่ในสภาวะขาดแคลนแรงงาน กลับต้องพึ่งพาเครื่องจักรเหล่านี้มากขึ้น

รายงานจากรัฐบาลญี่ปุ่น ระบุว่าในปี 2015 ราว 30% หรือเกือบ 1 ใน 3 ของคนงานก่อสร้างในญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยสูงกว่า 55 ปี ขณะที่กลุ่มคนหนุ่ม (อายุต่ำกว่า 29 ปี) กลับมีเพียง 10% เท่านั้น

สาเหตุสำคัญคือญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ขณะที่งานในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ไม่ดึงดูด ทั้งชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน งานหนัก และค่าตอบแทนต่ำ

Atsushi Fujino โฆษกของบริษัทก่อสร้าง Kajima Corp. เสริมว่าภายใน 10 ปีนับจากนี้ อุตสาหกรรมก่อสร้างในญี่ปุ่น จะมีคนงานก่อสร้างราว 900,000 คนเท่านั้น เทียบกับในปี 2014 ที่มีทั้งสิ้น 1.28 ล้านคน

เมื่อแรงงานมนุษย์ไม่เพียงพอ ทางออกของบริษัทก่อสร้าง 13 แห่งในญี่ปุ่น คือรวมตัวกันเพื่อหาทางเลือกใหม่ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงที่ดิน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ i-Construction และได้ข้อสรุปที่การนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพื่อทดแทน

ปัจจุบัน Kajima Corp. พัฒนาระบบที่คนงานเพียงคนเดียว สามารถควบคุมทั้งรถบรรทุก รถแทร็กเตอร์เกลี่ยดิน รถผสมปูน ซึ่งถูกโปรแกรมรูปแบบการทำงานล่วงหน้า ให้ทำงานตามขั้นตอนในไซต์งานก่อสร้าง ผ่านแท็บเล็ท

ขณะที่ Shimizu Corp. ก็พัฒนาหุ่นยนต์รูปทรงแขนในการยกและเคลื่อนย้ายเหล็กเส้น จนสามารถลดการใช้งานแรงงานลงครึ่งหนึ่งจากเดิม

การสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นที่ก่อสร้าง ก็ตกเป็นหน้าที่ของโดรนซึ่งถูกพัฒนาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

Yasushi Nitta รองผู้อำนวยการอาวุโสของโปรเจกต์ i-Construction มองว่าความร่วมมือในครั้งนี้อาจเป็นโอกาสสุดท้ายของรัฐบาลในการประคับประคองอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศ ในสถานการณ์ที่คนงานก่อสร้างจะลดจำนวนลงเรื่อยๆจนถึงขั้นขาดแคลนในอีกไม่ถึงสิบปีจากนี้

แต่ Yohei Oya ซูเปอร์ไวเซอร์ของ Shojigumi Inc บริษัทก่อสร้างในชิซึโอกะ ยังมองโลกในแง่ดี ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ จะมีส่วนดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจอุตสาหกรรมก่อสร้างอีกครั้ง

“หุ่นยนต์ช่วยให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 5-10 เท่า คนงานไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ไซต์หามรุ่งหามค่ำอีก ไม่จำเป็นต้องเป็นแรงงานมีฝีมือก็สามารถทำงานได้เสร็จด้วยการใช้เวลาแค่ครึ่งเดียว”

นอกจากนี้ แม้เทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์่ช่วยในการก่อสร้างจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน แต่ Fujino ก็ยังเชื่อว่าหุ่นยนต์จะยังไม่สามารถทดแทนแรงงานมนุษย์ได้หมด

“มีหลายสิ่งที่หุ่นยนต์ยังทำได้ไม่ดีเท่า อย่างการเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตามมุมห้อง หรือการตกแต่งภายในที่ยังเป็นเรื่องของแรงงานฝีมือ ทั้งเครื่องจักรและมนุษย์ต่างก็มีจุดเด่นของตัวเอง”

ขณะที่ Ogi ก็เสริมว่ามนุษย์จะยังต้องเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรเหล่านี้ ในสถานการณ์ที่ต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพผิวดิน อากาศ ขนาดของพื้นที่ ฯลฯ

“เครื่องจักรจะเป็นฝ่ายที่ทำงานหนัก โดยมีมนุษย์เป็นผู้ควบคุม”

SOURCE: www.japantimes.co.jp

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
หุ่นยนต์

ปรับตัวอย่างไร ในโลกที่หุ่นยนต์แย่งงาน

Next Article

4 ลูกเล่นใน Gmail ที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น

Related Posts