“ทำอย่างไร เมื่อเส้นทางของ UBER ไม่ราบรื่นเหมือนประสบการณ์ ของผู้โดยสาร” แม้ UBER จะช่วยให้การเดินทางของผู้โ ดยสารอย่างเราๆ ง่าย สะดวก และ ประหยัดขึ้น จากการ Disrupt อุตสาหกรรมแท็กซี่ แต่การเดินทางของพวกเขาเองใ นฐานะสตาร์ทอัพเบอร์หนึ่งขอ งโลกกลับไม่ราบรื่นเท่าไหร่ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับพวก เขาในเมืองไทยนั้น เทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่เค ยเกิดขึ้นกับพวกเขา หรือ กับสิ่งที่เขาเผชิญอยู่ตอนนี้
ทีมงาน AHEAD.ASIA จึงถือโอกาสเสนออีกมุมของ “สตาร์ทอัพ” ที่เป็นไอดอลของคนรุ่นใหม่พร้อมบทสัมภาษณ์พิเศษ อดีตพนักงานระดับผู้จัดการข อง Uber ถึงความเห็นต่อเหตุการณ์ในปร ะเทศไทย และ ทิศทางของ Uber ในระดับโลก ปิดท้ายด้วยกรณีศึกษาว่าเกิ ดอะไรขึ้นที่เมือง “ออสติน เท็กซัส” เมื่อ Uber และ Lyft ถอนตัวออกไปพร้อมๆกัน
เพื่อให้ได้รับรู้ว่าว่าโปรแกรมเรียกรถสีดำไม่ได้มี แต่เรื่องหอมหวาน แต่มันกลับเป็นเส้นทางที่ขรุขระ
Are you ready for a long bumpy UBER ride?
“แท็กซี่ไทย จะไม่ทน” ปัญหาเรื่อง UBER กับแท็กซี่ไทยนั้น มีมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางๆ ปี 2557 ที่พวกเขาเริ่มเข้ามาให้บริ การเป็นครั้งแรก โดยการเปิดตัวของ UBER ในประเทศไทยนั้นใช้ท่ามาตรฐานเหมือนที่พวกเ ขาใช้ในเมืองอื่นๆ ด้วยการให้ Celebrity อย่าง คุณวู๊ดดี้ หรือ คุณพอลล่า มาใช้บริการเป็นกลุ่มแรกๆ ก่อนที่จะปูพรมต่อด้วย Promotion Code ส่วนลด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลอ งใช้
นอกจากนี้การแนะนำคนอื่นแล้ วได้ส่วนลดของผู้ที่ใช้อยู่ แล้วนั้น ก็ก่อให้เกิดการบอกต่อ มีข้อสังเกตว่าในระยะแรก ที่ Uber เปิดตัวที่ไหนนั้น รถยนต์ที่เรียกได้นั้นมักจะ หรูหราดูดี เชื้อชวนถ่ายรูปลงโซเชียล ให้บอกต่อ สร้างความอยากนั่งมากๆ
อันเป็นไอเดียที่ Garrett Camp เสนอกับ Travis Kalanick ในตอนที่สองผู้ก่อตั้ง เริ่มคิดถึงการสร้างบริการเรียกรถแท็กซี่ที่ง่าย หลังหารถกลับโรงแรมไม่ได้หลังจากออกเที่ยวกลางคืนในปารีส ซึ่งไอเดียนั้นก็ดูจะได้ผลมาตลอด
แต่หลังจากการเปิด ตัวอย่างหรูหราในประเทศไทยได้ไม่นานนักในวันที่ 28 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั่นเอง “นายธีระพงษ์ รอดประเสิรฐ” อธิบดีกรมขนส่งในขณะนั้น ก็ได้ออกมาฟันธงว่า Ride Sharing เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของไทยเนื่องจากคนขับไม่ได้สอบผ่า นใบขับขี่รถสาธารณะ และ อาจมีการนำรถยนต์มาใช้ผิดปร ะเภท
ความจริงแล้ว ในช่วงนั้นทางกรมขนส่งไม่ได้พยายามจัดระเบียบ Uber เท่านั้น พวกเขายังพยายามจัดมาตรฐานของแท็กซี่ด้วยเช่นกัน มีการระงับการปรับขึ้นราคา มิเตอร์ของแท็กซี่กว่า 60,000 คันที่ตรวจไม่ผ่านมาตรฐาน
เป็นการแสดงให้เห็นถึงค วามพยายามของภาครัฐ และ ความไม่ได้มาตรฐานของแท็ กซี่ไทยไปพร้อมๆกัน
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เรื่องราวของความพยายามในการจะระเบียบขนส่งมวลชนของประเทศไทยก็จางหายไป ก่อนกลับมาเป็นประเด็นอี กครั้งในช่วงเดือนที่ผ่านมาเมื่อมีการล่อจับคนขับ Uber ที่เชียงใหม่ และ สุวรรณภูมิ
และในวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมานั้น “นายวรพล แกมขุนทด” นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่ร ถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ “นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.คมนาคม เพื่อเรียกร้องขอให้ยุติบทบ าทของ UBER TAXI และ GRAB CAR ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่เ ข้ามาประกอบอาชีพผิดกฎหมาย และเป็นการจงใจแย่งงานและทำ ลายอุตสาหกรรมแท็กซี่ไทย
จะว่าไปแล้วสิ่งที่สมาค มวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธ ารณะแท็กซี่เรียกร้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ Ride Sharing ยักษ์ใหญ่อย่าง UBER เลย หากแต่เป็นสิ่งที่ผู้เข้าเจ อมาตลอดเวลา ในทุกๆที่ทั่วโลก
“วุ่นวายมาแล้วทั่วโลก” การขยายบริการไปยัง 528 เมืองทั่วโลกนั้นนอกจากจะทำให้ชื่อของ UBER เป็นที่คุ้นเคยกับผู้โดยสารทั่วโลกแล้ว ความวุ่นวาย และการประท้วงต่างๆ ก็กลายเป็นความคุ้นเคยกับ UBER ด้วยเช่นกัน โดยมีครั้งที่สำคัญได้แก่
การประท้วงทั่วยุโรป เมื่อ11 มิถุนายน 2014 ในหลายเมืองใหญ่ในทวีปยุโรป เช่น เบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมัน, ปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส, มาดริด เมืองหลวงของสเปน และ ลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษ
การปิดปารีสเมื่อ 25 มิถุนายน 2015 ที่จงใจให้เกิดขึ้นในขณะที่ เมืองหลวงของฝรั่งเศสกำลังม ีเทศกาลดนตรีพอดี
การเดินขบวนที่ “อินโดนีเซีย” เดือนมีนาคม 2016 โดยคนขับแท็กซี่กว่าพันคนก็ เป็นการประท้วงครั้งใหญ่ในเ อเชียที่สร้างความวุ่นวายมากนั้น เพราะผู้ประท้วงหลักพันพากั นเดินไปยังจุดสำคัญอย่าง กระทรวงคมนาคม และ ทำเนียบประธานาธิบดี
ขณะที่ในอเมริกาใต้ การประท้ วงในเดือน กรกฏาคม 2015 ที่แท็กซี่กว่า 1,000 คัน ปิดถนนเข้าออกเมือง ริโอ เดอ จานาโร ในชั่วโมงเร่งด่วน ก็เป็นข่าวหน้าหนึ่งไปทั่วโ ลก เหตุการณ์ครั้งนั้น นำไปสู่การ ที่ศาลของบราซิลตัดสินใจแบน Uber จากประเทศพวกเขาในเวลาต่อมา พร้อมกำชับให้บริษัทอย่าง Apple, Google, Microsoft และ Samsung ห้ามให้บริการดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น เรียกรถรายนี้ในบราซิลอย่าง สิ้นเชิง
จริงๆแล้วยังมีความวุ่นวายใ นรูปแบบอื่นๆ ทั้งการจับกุม ออกกฎหมายควบคุม ฟ้องร้อง และ เรียกค่าปรับ ที่มีให้ได้ยินอยู่เรื่อยๆ ทุกที่ ที่ยูนิคอร์นรายนี้ขยับตัวเข้าไป
นั่นทำให้เห็นว่านอกจากด้านที่ส วยงาม และ เซ็กซี่แล้ว สตาร์ทอัพระดับพระเอกตลอดกา ลอย่าง Uber ยังมีอีกด้านที่ไม่สวยงามเท่าไหร่ และ ไม่เซ็กซี่นักเช่นกัน
AHEAD.ASIA จึงติดต่อเพื่อคุยกับอดีตพนักงานระดับผู้จัดการ ที่มีส่วนสำคัญในการขยายกิจ การของสตาร์ทอัพแบรนด์นี้ ในประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อสอบถามถึงมุมมองของเขาต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเมืองไทย จากมุมมองของผู้ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
“คุยกับ Ex-Uber” แหล่งข่าวชาวต่างชาติของเรา คนนี้ เคยทำงานให้ Uber ในฐานะหนึ่งในทีม Manager ที่ช่วย Launch สตาร์ทอัพเจ้านี้ในประเทศหนึ่ง เราเริ่มต้นโดยการถามเขาว่า มีความเห็นอย่างไรกับเหตุกา รณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเท ศไทย ซึ่งเขาก็เล่าให้เราฟังว่า
“นี่เป็นเรื่องปกติมากสำหรั บ UBER พวกเขาพบกับเหตุการณ์แบบนี้ ในทุกที่ที่เขาไปแหล่ะ นั่นทำให้ต้องมีสิ่งที่เรี ยกว่า Playbooks ไว้รับมือกับสถานการณ์ทำนอง นี้ในแทบทุกรูปแบบ”
“ซึ่งรูปแบบหนึ่งที่พวกเขาน่าจะนำมาใช้เร็วๆนี้ คือการพยายามกระตุ้นให้คนขั บ หรือ คนใช้ลุกขึ้นมาเป็นปากเป็นเ สียงให้กับพวกเขา….เอาจริงๆ ผมเองก็เคยใช้เทคนิคนี้ ตอนที่เป็นทีมสตาร์ทอัพของ Uber ในประเทศ …..”
อดีตพนักงาน Uber เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่เขาเคย ผ่านมาก่อน
“ตอนนี้ผมมองว่าพวกเขาทำสิ่ งที่ต้องการสำเร็จไปแล้วอย่ างน้อยหนึ่งอย่างนะ นั่นคือการทำให้รัฐบาลหันม าสนใจ ศึกษา และ รีวิว ประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องพยาย ามทำเรื่องนี้ให้เป็นประเด็ นของ Ride Sharing ทั้งหมด ไม่ใช่เป็นแค่ประเด็นของ Uber เท่านั้น…. เป็นวิธีที่ถอดมาจากตำราเป๊ ะๆ”
“อ่อ….คุณเอาไปเล่าได้เต็ มที่เลยนะ ตราบใดที่ไม่เปิดเผยตัวตนผม ”
นั่นคือสิ่งที่แหล่งข่าว อดีตพนักงาน Uber ให้ข้อมูลกับเราถึงเรื่องที่เขาผ่านมา แต่เราก็ยังอยากรู้ด้วยว่า เขาจะมองอย่างไรกับสิ่งที่จ ะเกิดขึ้นต่อไป
“เด็กดื้อที่รอวันเติบโต” แหล่งข่าวคนเดิมบอกต่อว่า เหตุการณ์ในเมืองไทยนั้นเป็ นเรื่องปกติมากสำหรับสตาร์ท อัพจากซานฟรานซิสโก สิ่งที่น่าสนใจ หรืออาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย มากกว่า คือการผลัดใบของทีมบริหาร Uber ที่เป็นข่าว และ การถ่ายเลือดสตาฟอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสารพัดปัญ หาของบริษัทในช่วงหลัง ที่อาจไม่เป็นข่าวแต่เขารับรู้ได้จากแวดวงของ เขา
“All the staff that are seen as being part of the culture problem they have, are being asked to leave. They’ll hire fresh talents in their place“
“สตาฟที่มีส่วนกับวัฒธรรมที่เป็นปัญหากำลังถูกเชิญออกไ ป และ พวกเขาจะจ้างคนเจ๋งๆเลือดให ม่เข้ามา”
เมื่อเราถามว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนให้สตาร์ทอัพรา ยนี้ อ่อนแอลงหรือเปล่า แหล่งข่าวรายนี้ยังคงเชื่อมั่นในอดีตต้นสังกัดของเขาว่านี่เป็นเพียงแค่ถนนที่ขรุขระบนเส้นทางสู่เป้าหมายใหญ่ และ บริษัทจากซานฟรานซิสโกก็ยังมีคนขับฝีมือดีมากมาย
“They are full of great people who I respect massively. They’ll definitely be ok in the long run. Just part of their maturing business….Can’t be the aggressive bad boys anymore”
“พวกเขายังมีคนระดับสุดยอดที่ผมยอมรับในความสามารถอย่า งไม่มีข้อสงสัยอยู่อีกเพียบ ในระยะยาวมันไม่น่ามีปัญหาอ ะไร เป็นแค่ช่วงเวลาที่ธุรกิจเต ิบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น”
“หมดเวลาของเด็กดื้อที่เอาแ ต่ใจแล้ว”
ความเป็นเด็กดื้อเอาแต่ใจที่แหล่งข่าวของเราพูดถึงนั้น หมายถึงหลายครั้งที่อูเบอร์ใช้ความพวกมากลากไป หรือ เอาความมั่นคงทางหน้าที่การงานของคนขับรถพวกเขามาขู่ เหมือนครั้งหนึ่งที่ขู่จะถอนตัวออกจากฮุสตัน ที่มีขนขับร่วม 100,000 คน หนึ่งอาทิตย์ก่อนซูเปอร์โบว์ล เมื่อไม่ได้อย่างใจ หรือกรณีเอาคนขับ 10,000 คนในออสตินเป็นตัวประกัน เมื่อถูกบังคับให้เก็บลายนิ้วมือ และ เช็คประวัติอาชญากรรม เหมือนแท็กซี่ทั่วไป ซึ่งเราใช้เป็นกรณีศึกษาในช่วงท้ายของบทความนี้
“ผลัดใบกันใหม่…มีใครไปบ้ าง”
รายงานล่าสุดแจ้งว่าในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้มีผู้บริหารระดับสูงของเลือ กแยกทางกับ Uber จำนวน 7 รายแล้ว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ดูไม่ปกติเ อาซะเลยสำหรับสตาร์ทอัพมูลค่า 2,450,000 ล้านบาท
โดยผู้บริหารระดับสูงทั้ง 7 รายที่ว่า ได้แก่
* Jeff Jones, Uber’s president
* Brian Mclendon, Uber’s VP of maps and business platform
* Gary Marcus, head of Uber AI Labs
* Raffi Krikorian, senior director of engineering at Uber’s Advanced Technologies Centre
* Charlie Miller, a key member of Uber’s self-driving car team
* Amit Singhal, SVP of engineering
* Ed Baker, Uber’s VP of product and growth
แต่สิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงอูเบอร์ มากกว่าการจากไปของผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ คือกระแสข่าวลือที่ว่า อาจมีการเปลี่ยน CEO เกิดขึ้น
สื่อที่รายงานเรื่องนี้ไ ด้แก่ BBC ที่อ้างแหล่งข่าวที่เชื่อถื อได้ 2 แห่ง ที่บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ Travis Kalanick CEO และ Co-Founder ของ Uber จะลงจากตำแหน่งหลังจากที่บริษัทสามารถหา COO หรือ Chief Operating Officer คนใหม่ได้สำเร็จ
ทว่าแหล่งข่าวอีกรายของ BBC มองว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ทำให้ ณ เวลานี้เรื่องราวที่สั่นสะเทือนวงการสตาร์ทอัพดังกล่าวยั งมีสถาณะเป็นแค่ข่าวลือเท่า นั้น
แต่ที่ไม่ใช่ข่าวลือ คือ ผู้คร่ำหวอดในวงกา รสตาร์อัพ สื่อมวลชนหลายราย เริ่มมีเครื่องหมายคำถามในตัวของ Travis Kalanick ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆขนาดที่ Davey Alba คอลัมนิสต์ของ Wired ให้ความเห็นว่า จริงๆแล้ว Uber ไม่ได้ต้องการ COO หรือ Chief Operating Officer คนใหม่หรอก “พวกเขาต้องการ CEO คนใหม่มากกว่า”
แต่อะไรล่ะที่ทำให้ใครหลายค นเริ่มยืนอยู่ตรงข้ามกับ Travis Kalanick CEO ของ Uber ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมามีสถานะราวกับซูเปอร์ฮีโร่ของวง การสตาร์ทอัพ
“ปีแห่งมรสุม จากภายในองค์กร” คำตอบก็คือในช่วงหลังๆนั้น Travis Kalanick CEO ของ Uber ขยันขึ้นหน้าหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรขึ้นเท่าไหร่ CEO วัย 40 รายนี้เริ่มต้นปีใหม่ ด้วยการสร้างค วามไม่พอใจ และ โกรธแค้นให้กับคนจำนวนมากในเดือนมกราคม เมื่อเขาทวีตที่ส่อไปทางเห็ นพ้องกับนโยบายกีดกันชาวมุส ลิมของประธานาธิบดีทรัมป์
นั่นทำให้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับทวีตข อง Logan Green CEO ของ Lyft คู่แข่งสำคัญที่สุดของพวกเข าโดย CEO ของ Lyft ทวีตในเชิงไม่เห็นด้วยกับนโยบายกีดกันคนจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง พร้อมประกาศบริจาคเงิน 1 ล้านเหรียญในทวีตนั้น เพื่อเ ป็นกองทุนช่วยเหลือชาวมุสลิม ก่อนที่จะยืนยันว่า Lyft เป็นองค์กรที่ยึดมั่นในความ หลายหลาย และ ไม่มีอคติต่อเชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา หรือ เพศ ความแตกต่างที่ชัดเจนนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่ ชื่อ #DeleteUber ที่เชื่อกันว่ามีคนกว่า 200,000 คน ลบแอพลิเคชั่น Uber ออกจากมือถือในช่วงปลายเดือ นมกราคมที่ผ่านมา
ก่อนที่ในเดือนกุมภาพันธ์ Travis Kalanick จะขึ้นหน้าหนึ่งอีกครั้ง เมื่อวีดีโอบันทึกภาพเขาพูด จาดูถูก และ ทะเลาะกับคนขับ Uber ที่เขาเรียก นั่นทำให้มันถูกโยงเข้ากับป ระเด็นที่ Uber เคยถูกโจมตีมาก่อนอยู่แล้ว ว่าพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญ กับคนขับของพวกเขาเท่าไหร่ โดยมองเป็นเครื่องมือทำมาหา กินเท่านั้น เพราะเอาเข้าจริงคนขับ Uber ไม่มีสวัสดิการ ต้องหาซื้อเครื่องมือทำมาหาหินเอง อันเป็นประเด็นที่ถูกโจมตีมาตลอด
แต่เรื่องใหญ่สุดคือการที่มี อดีตพนักงาน Uber มาเปิดเผยว่า พวกเขาเป็นองค์กรที่กดขี่เพ ศหญิง ( Sexism) และ ไม่มีความที่จะสนใจแก้ปัญหา นี้ แม้ผู้ที่ถูกระทำจะรายงานให้หัวหน้า และ ผู้มีอำนาจรับรู้ถึงสองคน
ประเด็นต่างๆเหล่านี้สร้างความบอบช้ำให้กับแบรนด์ข อง Uber ไม่น้อยแต่ที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้ประ เด็นทางสังคม คือประเด็นทางกฏหมาย และ ประเด็นทางนวัตกรรม ที่ถาโถมเข้ามาใส่พวกเขาในเวลาเดียวกับประเด็นเหล่านี้
“ถูกฟ้องจาก Investor ของตัวเองในข้อหาขโมยนวัตกรรม ทั้งที่ทำได้แย่” เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Waymo ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรถขับเค ลื่อนอัตโนมัติของ Google ได้ตัดสินใจที่จะฟ้อง “Anthony Levandowski” Co-Founder และ VP ของ Otto บริษัทพัฒนารถยนต์ไร้คนขับข อง Uber รวม Otto และ Uber ว่าขโมยนวัตกรรมของพวกเขา ทั้งๆที่จริงแล้ว Google เองเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนในสต าร์ทอัพรายนี้โดยลงทุน 258 ล้านเหรียญในรอบปี 2013 จากการที่ Anthony Levandowski ซึ่งเคยเป็นวิศวกรที่ Waymo ดาวน์โหลดไฟล์กว่า 14,000 ชิ้น ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับ LiDAR เทคโนโลยีสำคัญของ Waymo รวมอยู่ด้วย ก่อนที่เขาจะลาอ อกมาทำงานกับ Uber
แต่ตลกร้ายของเรื่องนี้ก็คือ ทั้งๆที่พวกเขาถูกฟ้องร้องว่าขโมยเทคโนโลยีรถไร้คนขับ ทว่าข่าวล่าสุดที่หลุดรอดออ กมานั้น กับพบว่าเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับของ Uber นั้นยังล้าหลัง Google ที่ฟ้องพวกเขาอยู่มาก ถ้าข่าวที่หลุดออกมาเป็นจริงนั้น หมายความว่าโอกาสที่ Uber จะนำรถยนต์ไร้คนขับมาใช้นั้ นดูจะไม่ใกล้ความจริงเอาซะเ ลย ซึ่งตรงนี้เองน่าจะเป็นสิ่ง ที่พวกเขากังวลอยู่ไม่น้อย
เพราะที่ผ่านมาแม้พวกเขา จะเป็นสตาร์อัพที่ระดมทุนได้มากที่สุดในโลก เป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่พวกเขาก็ไม่เคยที่จะทำกำ ไรได้เลย ซึ่ง Travis Kalanick ก็ตั้งความหวังและลงทุนอย่า งหนักในนวัตกรรมรถยนต์ไร้คน ขับ เพราะเชื่อว่าอาจเป็นปัจจัย หนึ่ง ที่สามารถพลิกเกมให้พวกเขากลับมาทำกำไรได้ในอนาคต
ถ้าสตาร์ทอัพจากซ านฟรานซิสโกรายนี้ทำได้ไม่ดีพอ ย่อมมีผลในทางที่ไม่ดีนักกับแผนการ IPO ของพวกเขาที่มีข่าวออกมาเรื่อยๆ ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2018 เพราะเป็นไปได้ว่าเมื่อสถานการณ์เดินมาถึงจุดนี้นั้น Investor อย่าง Google มีโอกาสแยกทางกับพวกเขาทันทีที่เข้าตลาด
ความจริงประเด็นเหล่านี้ต่า งหากที่ Uber น่าจะกลัวมากกว่าการประท้วงหรือ กฏหมายในประเทศต่างๆ เพราะเขาแสดงว่าไม่ได้แคร์เท่าไหร่ และหากกฎหมาย และ การประท้วงมันวุ่นวายนักพวกเขาก็พร้อมที่จะถอนตัวออ กมาอย่างดื้อๆ เหมือนกับที่เขาทำแล้วที่ Austin Texas ในปี 2016
“บทเรียนจาก Austin Texas” ออสติน เป็นเมืองหลวงของรัฐเท็กซัส และ เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของอเมริกา ความพิเศษของเมืองนี้คือเต็ มไปด้วยมหาวิทยาลัย ผู้คนมีการศึกษาและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีรวมทั้งมีอัตราส่วนร้านเหล้ าต่อประชากรสูงที่สุดในสหรั ฐซึ่งจากส่วนประกอบเหล่านี้ทำให้ออสตินเป็นเมืองในอุดม คติของ Uber ได้ไม่ยาก
มันก็เป็นอย่างนั้นมาซั กพัก จนกระทั่งเมือง “ออสติน” ตัดสินใจว่าผู้ที่จะขับ Uber หรือ Lyft จะต้องมีการพิมพ์ลายนิ้วมือ และ ตรวจสอบประวัตินั่นทำให้เป็นครั้งแรกที่ Uber กับ Lyft แทคทีมกัน ต่อต้านนโยบายนี้ โดยการขู่ถอนตัวออกจากออสติ น และ ทิ้งให้คนขับรถกว่า 15,000 คนต้องตกงาน หากถูกบังคับให้ทำเช่นนั้น
( เป็นแทคติกเดียวกับที่ Ex-Uber ที่ให้สัมภาษณ์กับ AHEAD.ASIA กล่าวถึง )
เชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ Uber กับ Lyft ไม่ต้องการให้พิมพ์ลายนิ้วมือ และ ตรวจสอบประวัติเพราะสร้างความยุ่งยากให้กั บคนที่อยากขับ บางคนอาจเปลี่ยนใจไม่ขับเอา ได้ และเมื่อมีคนขับที่เป็น Supply น้อยลง แต่คนนั่งที่เป็น Demand เท่าเดิมนั้น อาจทำให้ราคาถูกปรับให้สูงขึ้นตามกลไกของตลาด และ ทำให้พวกเขาไม่สามารถใช้ราค ามาแข่งขันได้อย่างที่เคยทำ มาตลอด
การพยายามให้คนสามารถขับได้ ง่ายเพื่อเพิ่มปริมาณคนขับ และใช้ราคาเป็นเครื่องมือแข่งขันนั้ น ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการกระตุ้ นให้คนมาขับรถมากขึ้น มีการใส่รถเข้าไปในระบบมากขึ้น ทำให้การจราจรติดขัด และใช้ทรัพยากรมากขึ้น อันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกั บหลักการ Sharing Economy อันเป็นแก่นของธุรกิจอย่าง Uber ที่ควรจะช่วยให้คนแชร์รถกัน ลดจำนวนการใช้รถ ลดการจราจรที่ติดขัด และ ลดการใช้ทรัพยากร
ซึ่งหลังจากการถอนตัวของ Uber กับ Lyft นั้น แม้จะมีความขลุกขลักในรอยต่ อ แต่ไม่นานนักก็มีสตาร์ทอัพอ ย่าง Fasten, Fare และ RideAustin มาแทนที่
ที่น่าสนใจก็คือ สตาร์ทอัพรายเล็กกว่าทั้ง 3 เจ้านี้นั้นยอมที่จะทำตามกฎของออสติน และ แบ่งผลตอบแทนให้กับคนขับมาก กว่าหลายเจ้าใช้ โมเดลการแบ่งรายได้แบบ Flatrate ที่ไม่ซับซ้อนเหมือนของ Uber แต่ได้รับความนิยมในหมู่คนขับมากกว่า
โมเดลของ RideAustin นั้นมีความน่าสนใจที่สุด เพราะเป็น Open Source ไม่หวังผลกำไร ให้คนเลือกบริจาคได้ และสามารถหยิบไปใช้ในที่อื่ นๆได้นั่นทำให้เห็นว่าในที่สุดแล้วการขาด Uber ไปนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องขาดใจ และการทำตามกฏพร้อมๆกับการทำธุรกิจก็เป็นเรื่องที่สร้า งได้จริง หากพยายามที่จะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และ ยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นตัวตั้ง
“แท็กซี่เมืองไทย ไปไหนกันต่อนอกจากเติมแก๊ส” หากสังเกตจะพบว่าช่วงที่ UBER มีปัญหานั้น ความแตกต่างระหว่างกรุงเทพ กับ ออสติน คือกระแสของมวลชนของทั้งสองเมืองนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่พลเมืองออสตินเลือกที่จะยืนข้างกฏระเบียบ แต่ประชากรของกรุงเทพ และ คนไทยเลือกที่ยืนข้างการบริการที่ได้มาตรฐาน และ มีประสิทธิภาพมากกว่า
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคนไทยไม่เคารพกฏหมาย แต่อาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้ คนขับแท็กซี่บางส่วนก็ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายมาก่อนทั้ง ปฏิเสธผู้โดยสาร ไม่กดมิเตอร์แต่ใช้ระบบเหมา โกงมิเตอร์ รวมถึงการบริการที่สอบตก นั่นทำให้ในเมื่อไม่ต่างฝ่ายต่างผิดทั้งคู่ ประชาชนจึงตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองดีกว่า
นั่นทำให้จริงๆแล้วในวันนี้การพิจารณาปัญหานี้ อาจไม่สามารถมองแค่ประเด็นเล็กๆอย่างจะเอา Taxi หรือจะเอา UBER กับ GRAB เท่านั้น แต่อาจต้องพิจารณาในภาพกว้างถึงความไม่มีประสิทธิภาพ และ มาตรฐานของระบบขนส่งมวลชลในภาพรวม เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมในการแก้ไข และ ได้รับข้อมูลหลายๆ ด้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทีมงาน AHEAD.ASIA พยายามทำ ซึ่งหากมีส่วนไหนที่คุณอยากเพิ่มเติม หรือ แก้ไขก็เสนอแนะเข้ามาได้ที่ AHEAD.ASIA
เรียบเรียงโดยทีมงาน AHEAD.ASIA
Better be AHEAD #AHEADASIA
จาก
http://www.bbc.com/news/ technology-39323828 http://www.cnbc.com/2017/ 03/16/ anthony-levandowski-ubers-s elf-driving-car-engineer-s afety-lawsuit.html https:// www.theguardian.com/ technology/2017/feb/23/ anthony-levandowski-google- uber-self-driving-cars-law suit https://www.wired.com/ 2017/02/ googles-waymo-just-dropped- explosive-lawsuit-uber-ste aling-self-driving-tech/ http:// uk.businessinsider.com/ uber-in-crisis-timeline-201 7-3 https://www.wired.com/ 2017/03/ travis-kalanick-doesnt-need -new-coo-needs-new-ceo/ http://www.rideaustin.com/ new-page/ http://www.cnbc.com/2016/ 09/02/ uber-and-lyft-are-getting-p ushback-from-municipalitie s-all-over-the-us.html http:// www.investopedia.com/ articles/investing/110614/ taxi-industry-pros-cons-ube r-and-other-ehail-apps.asp http://www.theverge.com/ 2017/3/6/14791080/ uber-sexism-scandal-strike- waymo-lawsuit-travis-kalan ick http://www.curbed.com/ 2016/12/7/13828514/ uber-lyft-ride-austin-rides hare-get-me http://www.vocativ.com/ 327333/ a-world-without-uber-dispat ches-from-austin/ https://www.nytimes.com/ 2016/05/12/opinion/ how-austin-beat-uber.html?_ r=0 https://www.forbes.com/ sites/kevinready/2016/05/ 12/ uber-vs-austin-a-public-bat tle-to-control-the-future- of-transportation/3/ #43ca58d61923 http://www.thairath.co.th/ content/407848 https://www.blognone.com/ node/63291