นอน

10 วิธีนอนเต็มอิ่ม พร้อมตื่นมาทำงาน

ผลสำรวจโดย TalentSmart บริษัทวิจัยและให้บริการปรึกษาด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) พบว่า 90% ของคนที่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ คือคนที่มีระดับ EQ สูง เพราะเข้าใจผู้อื่นและรู้จักใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์

พร้อมเสริมว่า การนอนหลับ ที่ถูกวิธี คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ EQ ของคุณสูงขึ้น

แต่ในความเป็นจริง การทำแบบสอบถามในกลุ่มผู้บริหารระดับซีอีโอ 500 คนในสหรัฐ พบว่าครึ่งหนึ่งได้นอนไม่ถึง 6 ชั่วโมง และ 1 ใน 3 ของพนักงานก็อยู่ในข่ายเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารองค์กรระดับโลก อาทิ เจฟฟ์ เบโซส (Amazon), วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Berkshire Hathaway), เชอรีล แซนด์เบิร์ก (Facebook) หรือแม้แต่ บิล เกตส์ ที่เคยอดหลับอดนอนในอดีต ก็ยืนยันว่าการ นอน อย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อคืน ช่วยให้สมาธิดีขึ้น กระฉับกระเฉงและสร้างสรรค์กว่าเดิม

ระยะเวลาในการ นอน ที่เพียงพอของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ค่าเฉลี่ยนั้นจะอยู่ที่ 7-9 ชั่วโมง +- ได้เล็กน้อย

สำคัญที่สุดคือ…นอน อย่างไรให้รู้สึกอิ่ม เพื่อสมองจะพร้อมสำหรับการทำงานต่างหาก และนี่คือ 10 วิธีที่น่าจะช่วยคุณได้

 

#1
ไม่ใช้ยานอนหลับ

ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือแม้แต่แอลกอฮอล์ ช่วยให้หลับก็จริง แต่ส่งผลเสียต่อกระบวนการตามธรรมชาติที่สมองจะทำการเคลียร์โปรตีนที่เป็นของเสียในตอนที่คุณหลับ

 

#2
เลี่ยงคาเฟอีนหลังมื้อเที่ยง

คาเฟอีน ช่วยแก้ง่วงได้ดี ด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอะเดรนาลีน และบล็อคสารเคมีที่กระตุ้นความง่วงในสมอง

แต่ข้อเสียคือ ระยะครึ่งชีวิตของคาเฟอีนในร่างกายเรา กินเวลานานถึง 6 ชั่วโมง

อธิบายง่ายๆ คือตอน 2 ทุ่ม จะยังมีคาเฟอีนคงค้างจากกาแฟที่ดื่มไปตอนเที่ยงถึง 50% และการนอนหลับทั้งที่ยังมีปริมาณคาเฟอีนในร่างกาย จะทำให้ระยะ REM ที่เป็นช่วงหลับลึกที่สุดสั้นลง ตื่นแล้วถึงยังมีอาการอ่อนเพลียค้างอยู่ ทำให้อยากดื่มกาแฟแก้วต่อไป และวนเวียนเป็นวัฎจักรไม่จบสิ้น

 

#3
เลี่ยงแสงสีน้ำเงิน

แสงแดดในตอนเช้า จะมีปริมาณแสงสีน้ำเงินมากเป็นพิเศษ คุณสมบัติของมันคือช่วยลดการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง

ธรรมชาติของร่างกายจึงจะรู้สึกง่วง เพราะปริมาณแสงสีน้ำเงินจะค่อยๆลดลงตั้งแต่ช่วงเที่ยงไปถึงค่ำ

แต่ปัจจุบัน ยังมีแสงสีน้ำเงินจากดีไวซ์ต่างๆ ทำให้การทำงานของสมองสับสน ฉะนั้น หากยังใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ในช่วงเย็น ควรใส่แว่นที่สามารถกรองแสงสีน้ำเงินได้

 

#4
เข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา

ความสม่ำเสมอ คือเคล็ดลับของการนอนที่ดี

สมองจะจดจำวงจรของการนอนและปรับตามเพื่อให้คุณรู้สึกสดชื่นที่สุดเมื่อถึงเวลาตื่น คุณจะรู้สึกว่าร่างกายเริ่มตื่น ตั้งแต่ก่อนนาฬิกาปลุก เพราะระดับฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกาย และความดันเลือดจะค่อยๆกลับเป็นปกติในชั่วโมงสุดท้ายก่อนตื่น ถ้าเข้านอนไม่เป็นเวลา จะทำให้การทำงานดังกล่าวของสมองสับสน

 

#5
ไม่นอนเกินในวันหยุด

การนอนเกินเวลาที่ร่างกายต้องการในวันหยุด ให้ผลในลักษณะเดียวกับการเข้านอนไม่เป็นเวลา เพราะนาฬิกาของสมองและร่างกายสับสนในการทำงาน

 

#6
หาจำนวนชั่วโมงที่ร่างกายต้องการให้เจอ

จำนวนชั่วโมงที่จำเป็นต่อการนอนของแต่ละคน แตกต่างไปตามพันธุกรรม

หากรู้สึกอ่อนเพลียในเวลาทำงาน ในคืนต่อๆไปให้ลองเพิ่มเวลานอนอีก 30 นาที จนกว่าจะรู้สึกว่าเพียงพอ และยึดเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับวัฎจักรของร่างกาย

 

#7
หยุดทำงานเกินเวลา

การทำงานในช่วงเย็น เป็นการกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว ทั้งที่เป็นช่วงที่คุณควรผ่อนคลายเพื่อเตรียมตัวหลับ

ผลวิจัยพบว่าคนราวๆ 60% ยังเช็คอีเมลเรื่องงานในโทรศัพท์ก่อนนอน ซึ่งเท่ากับกระตุ้นตัวเองด้วยแสงสีน้ำเงินไปด้วย

 

#8
เลี่ยงสิ่งรบกวน

พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าต่างๆที่อาจรบกวนการนอนได้

คุณอาจใช้หน้ากากปิดตา เอียร์ปลั๊กอุดหู ปิดโทรศัพท์ อย่าดื่มน้ำมากไปก่อนนอน เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย ฯลฯ เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้ขัดจังหวะการนอนของคุณเอง

 

#9
ทำสมาธิ

มีหลักฐานยืนยันว่าการทำสมาธิส่งผลเชิงบวกต่อการนอน

งานวิจัยของ Stanford Medical Center ทดลองให้กลุ่มผู้มีอาการนอนไม่หลับฝึกสมาธิเป็นเวลาหกสัปดาห์ พบว่าเวลาเฉลี่ยในการหลับหลังเข้านอน ลดลงจาก 40 เหลือ 20 นาที และร้อยละ 60 ไม่ถูกจัดให้เป็นผู้มีอาการนอนไม่หลับอีก

 

#10
ไม้ตายสุดท้าย: งีบตอนบ่าย

ถ้าคุณทำตาม 9 ข้อที่เราแนะนำมาไม่ได้เลย แนะนำให้หาโอกาสงีบตอนบ่าย (13.00-15.00) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมลาโทนินหลั่งออกมามากที่สุด

บริษัทอย่าง Google และ Zappos ก็อนุญาตให้พนักงานงีบหลับในช่วงบ่ายได้ แม้จะสั้นๆแค่ 15 นาที แต่ก็ให้ผลดีกว่าการดื่มกาแฟเพื่อฝืนทำงานต่อ

 

สุดท้ายแล้ว ได้ผลอย่างไร หรือมีคำแนะนำอื่นๆ อย่าลืมโพสต์ความเห็นของคุณในเพจเราด้วย

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
290
Shares
Previous Article

จากข่าว 9 ถึง The Momentum : วันที่สื่อหัวก้าวหน้าถึงคราวเปลี่ยนแปลง

Next Article

นครินทร์ วนกิจไพบูลย์: Life after Momentum

Related Posts