เจาะ 3 เทคโนโลยีหลักใน F8 2017

Table of Contents Hide
  1. #3
  2. Connectivity
  3. #2
  4. AI
  5. #1
  6. AR & VR

หลัง Mark Zuckerberg นำร่องไปก่อน ด้วยเทรนด์แห่งโลกอนาคตในวันแรก ในวันที่ 2 ของงาน ‘F8 Developer 2017’ Mike Schroepfer CTO ของบริษัท รวมถึงคีย์แมนคนอื่นๆ ก็ขึ้นเวที ในช่วง Keynote

เพื่อเน้นถึง 3 เทคโนโลยีหลัก ที่จะเป็นส่วนสำคัญตามแผนโรดแมพ 10 ปีที่เคยประกาศไว้ ประกอบด้วย

  • Connectivity
  • AI (ปัญญาประดิษฐ์)
  • AR และ VR

#3

Connectivity

 

ปัจจุบันยังมีคนในโลก ราว 4.1 พันล้านคน ที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้

Facebook พยายามแก้ปัญหานี้ และยกระดับประสบการณ์การใช้งานทั่วไปให้ดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อหลายรูปแบบตามลักษณะของพื้นที่

เช่น การแก้ปัญหาย่านความถี่สูงสำหรับ 5G และไวร์เลส บรอดแบนด์ MM-Wave ที่มีคลื่นความถี่สั้นมากจนจำกัดรัศมีทำการ ด้วยอุปกรณ์ Terragraph ซึ่งจะนำไปติดตั้งเพิ่มตามจุดต่างๆเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณไม่ให้ติดขัด ซึ่งเริ่มต้นทดลองใช้แล้วในย่านดาวน์ทาวน์ของ San Jose

 

นอกจากนี้ ก็ยังมี Aquila อากาศยานสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณ MM-Wave ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่่ต่างๆมากที่สุด ที่่น่าจะมีการนำมาทดลองใช้งานในเร็วๆนี้

 

#2

AI

 

แนวคิดของ Facebook ก็เหมือนอีกหลายบริษัทชั้นนำที่เชื่อว่า AI จะเป็นประโยชน์ และพยายามพัฒนาให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (รับรู้ – เข้าใจและเรียนรู้ – คาดเดาคะเน – วางแผนรับมือ)

ในภาพตัวอย่าง จากเดิมที่ AI สามารถแยกแยะสิ่งที่ปรากฎในภาพได้ (คนสองคน-ใส่แว่นกันแดด-ยิ้ม ฯลฯ)

ปัจจุบัน AI พัฒนาจนทำความเข้าใจได้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพ แทนที่จะระบุว่า มีคน มีลูกบอล มีเสาประตู แต่เป็นการสรุปว่ามีคนเล่นฟุตบอลกัน

ถือว่าเป็นพัฒนาการที่รวดเร็วมาก หากมองว่าเมื่อ 5 ปีก่อน คอมพิวเตอร์ยังมองทุกสิ่งเป็นแค่ฐานตัวเลข

และเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึง AI ได้มากขึ้น Facebook จึงเปิดโอเพ่นซอร์ส Caffe2 เฟรมเวิร์คสำหรับสร้างและรันอัลกอริธึมของ AI ในโทรศัพท์ได้ รวมถึงแผนความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่รายอื่นๆที่พัฒนา AI อยู่เช่นกัน

 

#1

AR & VR

Schroepfer ยกตัวอย่างงานวิจัยที่พบว่า VR (Virtual Reality) ยังสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล เมื่อเทียบกับประสาทการรับรู้ของมนุษย์

ขณะเดียวกัน อุปกรณ์ต่างๆก็เริ่มมีราคาถูกลง เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น Gear VR ของ Samsung แม้ศักยภาพจะยังเป็นรอง Oculus ที่มีราคาแพงกว่า 3 เท่าก็ตาม

เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ต่างๆที่ไม่ได้หยุดแค่ภาพยนตร์ หรือเกมเท่านั้น ในทางการแพทย์ก็มีการนำไปใช้ฝึกในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

 

นอกจากนี้ ยังมี Facebook Spaces โซเชียลเน็ตเวิร์คในโลกเสมือนที่อยู่ในช่วงเบต้า รวมถึง gen ล่าสุดของกล้องวิดีโอ 3 มิติแบบ 360 องศา ‘SURROUND 360’ คือ X24 และ X6 ที่แก้ไขปัญหาจากรุ่นก่อนๆคือไม่สามารถเห็นบางจุดของภาพได้ในระบบ VR เพราะมุมกล้องจำกัด

แต่ในเวอร์ชั่นล่าสุดที่ Facebook พัฒนาร่วมกับ FLIR นั้น มี AI ที่สามารถคำนวณ และจำลองภาพขึ้นในจุดที่มุมกล้องไม่สามารถถ่ายไว้ได้ ทำให้มุมมองในการดูผ่าน VR เป็นอิสระ สามารถมองเห็นได้ครบทุกจุด อย่างที่เรียกกันวา Six degrees of Freedom หรือ 6DoF

 

 

ขณะที่ Michael Abrash จาก Oculus เชื่อว่าภายใน 20 ปีนับจากนี้ AR Glasses จะเข้ามาแทนที่สมาร์ทโฟนที่เราใช้ในที่สุด เพราะ AR และ VR จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แว่นเหล่านี้จะมีขนาดเล็กลง มีแบตเตอรี่ขนาดเล็กหรือใช้พลังงานน้อยลง และจะมีรูปร่างคล้ายกับแว่นทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในทรรศนะของ Abrash ว่าคงไม่มีใครอยากสวมดีไวซ์หน้าตาประหลาดให้ตัวเองเป็นจุดเด่น

 

 

ในช่วงท้ายของงาน Regina Dugan ซึ่งเพิ่งย้ายจาก Google มาฟอร์มทีมพัฒนาใหม่ในชื่อ Building 8 ยังนำเสนอไอเดียใหม่ๆที่อยู่ระหว่างพัฒนา

เช่น การสั่งงานต่างๆผ่านคำสั่งตรงจากสมอง ด้วย Brain Mouse (คลิกคำสั่ง AR ต่างๆ) หรือ Silence Speech system (พิมพ์ข้อความต่างๆ) หรือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับช่วยให้คนสื่อสาร/ได้ยินผ่านทางผิวหนัง

 

หากมีข้อแนะนำ สามารถคอมเมนท์ได้ในเพจ AHEAD.ASIA และอย่าลืมกด like เพื่อให้คุณไม่พลาดทุกเรื่องที่ทำให้เราทุกอยู่ข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

YOU ARE WHAT YOU READ#4 : Mark Zuckerberg

Next Article

เก็บตก F8 2017: บทเรียนจากสตาร์ทอัพจีน

Related Posts