Go-jek

สงคราม 2 ล้อ Go-jek ปะทะ GrabBike

Table of Contents Hide
  1. GO-JEK
  2. GRABBIKE
  3. AHEAD TAKEAWAY

Seno Gumira Ajidarma นักเขียนเจ้าของรางวัลซีไรต์ปี 1997 เคยเขียนไว้ในหนังสือของตน ว่าชาวจาการ์ตาใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนน เฉลี่ยคนละสิบปี

จริงเท็จแค่ไหน ดูได้จากรายงาน ‘TomTom Traffic’ ของผู้ผลิตอุปกรณ์นำทาง GPS จากเนเธอร์แลนด์ ที่ยกให้ จาการ์ตา รั้งอันดับ 3 ในแรงกิ้ง ‘เมืองที่การจราจรติดขัดที่สุดในโลก’ ประจำปี 2017

แต่ในวิกฤตก็ถือเป็นโอกาส เมื่อศิษย์เก่า MBA จาก Havard Business School (HBA) มองว่านี่คือ pain point ที่ต้องแก้ไข จนเป็นที่มาของสงคราม 2 ล้อ ระหว่าง 2 สตาร์ทอัพมาแรงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Go-jek และ GrabBike

GO-JEK

ojek คือคำที่ใช้เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างในภาษาอินโดนีเซีย และเป็นที่มาของชื่อสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดย Nadiem Makarim เพื่อยกระดับบริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างให้มีมาตรฐานขึ้น

Makarim ได้ไอเดียดังกล่าว ระหว่างเรียน MBA ที่ฮาวาร์ด จนเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคอลเซนเตอร์ และจ้างพนักงานขับ 20 คน มาทำหน้าที่ให้บริการหลากรูปแบบ ตั้งแต่ รับส่งผู้โดยสารปกติ ไปจนถึงการส่งสินค้า และอาหาร

หลังเรียนจบและเดินทางกลับมาอินโดนีเซีย Makarim ก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารของ Rocket Internet  เพื่อมาทุ่มให้กับ Go-Jek อย่างเต็มตัว ช่วยเร่งให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว

“โลจิสติกส์ คือหัวใจสำคัญของทุกอย่าง ทั้งอี-คอมเมิร์ซ ทั้งอาหาร เรากล้าเสี่ยงด้วยการพุ่งเข้าใส่ปัญหา เพราะโมเมนตัมไม่เคยรอเรา มันเหวี่ยงมาแล้วก็เหวี่ยงกลับไป ถ้าไม่คว้าไว้ตอนมันอยู่บนจุดสูงสุด คุณก็จะเสียมันไป” 

“ในการทำธุรกิจ ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการปล่อยให้โอกาสหลุดมือแล้ว” Makarim อธิบายแนวคิดในการทำงาน

 

GRABBIKE

Grab คือผลิตผลจากไอเดียของ Anthony Tan และ Hooi Ling Tan ศิษย์เก่าฮาวาร์ดร่วมรุ่นกับ Makarim ที่เบื่อหน่ายกับระบบและการให้บริการของแท็กซี่ในมาเลเซีย

“สมัยเรียนที่ฮาวาร์ดเราสนิทกันมาก” Makarim พูดถึง Anthony “เราปรึกษากันเรื่องธุรกิจตลอด ผมอยากแก้ปัญหามอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนเขาอยากแก้เรื่องแท็กซี่”

การแก้ปัญหาถูกจุด ทำให้ GrabTaxi ขยายออกไปยัง 6 ประเทศทั่วเอเชียอาคเนย์

โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ที่ขึ้นเป็นเจ้าตลาด เหนือคู่แข่งโดยตรงอย่าง Uber ด้วยวิธีคิดที่ปรับให้เข้ากับคนท้องถิ่นได้ดีกว่า โดยเฉพาะการยอมให้ผู้โดยสารจ่ายเงินสด

จนในปี 2015 Grab ก็เริ่มขยับเข้าสู่ตลาดมอเตอร์ไซค์รับจ้างอย่างเต็มตัว ด้วยกลยุทธ์ที่ถอดแบบจากอีกฝ่ายแทบทั้งหมด รวมถึงหมวกกันน็อคและชุดสีเขียวด้วย

 

AHEAD TAKEAWAY

ในสงคราม 2 ล้อนี้ ทั้งสองฝ่าย ต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกันไ

ฝ่ายแรกถึงจะเป็นรองเรื่องสเกล แต่การเริ่มต้นก่อน และความเป็นเจ้าถิ่นที่คุ้นเคยกับผู้ใช้บริการมากกว่า ทำให้ยังไม่เพลี่ยงพล้ำ เหมือนที่ Uber พลาดไปในตลาดแท็กซี่

และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็มีรายงานว่า Go-jek ประสบความสำเร็จในการระดมทุนเพิ่มได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ แต่ Grab ก็เพิ่งลอนช์โปรแกรม ‘Grab for Indonesia’ รวมถึงมีแผนระดมทุนเพื่อสร้างศูนย์ R&D ในอินโดนีเซีย ตอกย้ำว่าไม่ถอนทัพง่ายๆเช่นกัน

ที่แน่ๆ การแข่งขันของทั้งคู่ มีแต่ส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการ ในความเห็นของ Tommy Prabowo นักจัดรายการวิทยุในกรุงจาการ์ตา ที่เลือกใช้บริการของทั้ง Go-jek, Grab หรือแม้แต่ Uber ตามสถานการณ์

“ของพวกนี้ทั้งสนุกและก็สะดวกมาก นี่เป็นทางเดียวเลยที่ผมจะได้ผ่อนคลายกับการจราจรในเมืองบ้าง…”

 

เรียบเรียงจาก

The Taxi Wars of Jakarta

 

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Pony Ma: ทำทุกอย่างเพื่อสร้าง Tencent

Next Article

8 ข้อคิดจากงาน Echelon Thailand 2017

Related Posts