แชมป์พรีเมียร์ลีก ราคา 1 ปอนด์

พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2016/17 จบลงด้วยตำแหน่งแชมป์ของ เชลซี นับเป็นสมัยที่ 2 ในรอบ 3 ปีของสิงโตน้ำเงินครามแห่งลอนดอน และนับเป็นสมัยที่ 5 นับแต่ โรมัน อบราโมวิช เข้าเทกโอเวอร์เมื่อ 14 ปีก่อน

ปัจจุบัน เชลซี คือสโมสรที่มีมูลค่ามากสุดเป็นอันดับ 7 ของโลกจากการจัดอันดับของ Forbes ที่ 1,661 ล้านดอลลาร์ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อต้นทศวรรษที่ 1980 นี่คือสโมสรที่กำลังย่ำแย่หนัก หากไม่ได้ชายคนหนึ่งยื่นมือเข้ามาช่วย ในราคาเพียง 1 ปอนด์

ในปี 1982 สถานะของ เชลซี เข้าขั้นย่ำแย่ในทุกๆด้าน ตั้งแต่ปัญหาจากปัญหาฮูลิแกน ค่าใช้จ่ายในการสร้างอัฒจันทร์ฝั่ง อีสต์ สแตนด์ ที่กระทบกับการเงินของสโมสร ส่วนอันดับในตารางก็ย่ำแย่จนส่อแววจะต้องตกชั้นสู่ดิวิชั่น 3 (ลีกทูในปัจจุบัน)

เคน เบตส์ นักธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ตกลงซื้อกิจการของสโมสรต่อจาก ไบรอัน เมียร์ส หลานชายของ โจเซฟ เมียร์ส ผู้ร่วมก่อตั้งสโมสร ในลักษณะดีลที่เรียกกันว่า Peppercorn

โดย เบตส์ ตกลงจ่ายเงินให้ Mears ในราคาเพียง 1 ปอนด์ ขณะเดียวกัน ก็ตกลงรับภาระหนี้สิน 1.5 ล้านปอนด์ไว้แทน

James Stonebridge จากสำนักงานทนายความ Norton Rose อธิบายที่มาของ Peppercorn ว่าภายใต้ common law ของสหราชอาณาจักร การทำข้อตกลงใดๆ คู่สัญญาจะต้องมอบสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือแลกเปลี่ยนแก่กันและกัน เงิน 1 ปอนด์ที่ Bates จ่ายให้ Mears จึงเป็นไปในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่า ‘ได้มีการชำระเงิน’ เกิดขึ้น โดยอาจตั้งราคาไว้ที่เท่าไหร่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกั

และการซื้อขายในลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นเมื่อองค์กรนั้นๆประสบปัญหาด้านการเงิน และผู้ซื้อพร้อมจะรับช่วงภาระต่างๆ รวมถึงหนี้สินต่อไป ราคาซื้อขาย จึงไม่มีความสำคัญนัก ขึ้นกับความยินยอมของผู้ซื้อที่จะแบกรับภาระผูกพันมากกว่า

เชลซี ไม่ใช่สโมสรเดียวบนเกาะเกรทบริเตน ที่ผ่านการซื้อขายแบบ Peppercorn เพราะยังมี พอร์ทสมัธ, ฮัลล์ ซิตี้, สวอนซี ซิตี้, เร็กซ์แฮม และ น็อตต์ส เคาน์ตี้ อยู่ในข่าย

กระนั้น ดีล 1 ปอนด์ที่ เบตส์ ได้เป็นเจ้าของสโมสรแห่งนี้ น่าจะถือเป็นการซื้อที่คุ้มค่าที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพราะหลังจากใช้เวลาสองทศวรรษ ปั้นให้สิงโตน้ำเงินครามก้าวขึ้นมาเป็นทีมชั้นนำในลีกสูงสุดของอังกฤษ ด้วยตำแหน่งแชมป์เอฟเอ คัพ 2 สมัย ลีกคัพ 1 สมัย และ คัพ วินเนอร์ส คัพ 1 สมัย รวมถึงตั๋วไปเล่น ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก หนแรกในประวัติศาสตร์

เบตส์ ก็ตกลงขาย เชลซี ให้ อบราโมวิช ในราคา 140 ล้านปอนด์ เมื่อปี 2003 เป็นดีลที่ win-win กับทุกฝ่าย เพราะ เชลซี ได้ล้างหนี้สิน 80 ล้านปอนด์ที่ค้างอยู่ในเวลานั้น อบราโมวิช ก็ได้เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลในลอนดอนสมใจ

ส่วน เบตส์ แม้จะหักลบกลบหนี้กับค่าใช้จ่ายที่เสียไประหว่างสร้างทีม ก็ยังถือว่าได้กำไรมหาศาล เพราะเขาเริ่มต้นลงทุน ด้วยเงินเพียง 1 ปอนด์เท่านั้น

เรียบเรียงจาก Football clubs that were bought for a measly £1

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
Nike

ถอด 5 บทเรียนจาก 'Shoe Dog' บันทึกของ ฟิล ไนท์ ผู้ก่อตั้ง Nike

Next Article

กว่าจะเป็น Air Jordan

Related Posts