Breakfast4brain, Adidas, Puma

ศึกสายเลือด: Adidas v Puma

Adidas และ Puma คือสองแบรนด์กีฬาจาก Herzogenaurach หมู่บ้านเล็กๆในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี ซึ่งได้รับความนิยมทั่วโลกนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ ทั้งคู่ต่างมีต้นกำเนิดจากพี่น้องแท้ๆที่คลานตามกันมา แต่เพราะความขัดแย้งที่บานปลายจนกลายเป็นความบาดหมาง ทำให้ทั้งคู่กลายเป็นอริกันจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

ย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 1920 Adolf (หรือ Adi) และ Rudolf (Rudi) สองพี่น้องตระกูล Dassler ร่วมกันก่อตั้งธุรกิจรองเท้า ในชื่อ Gebrüder Dassler Schuhfabrik

คุณภาพรองเท้าของพี่น้อง Dassler เป็นที่ยอมรับจากนักกรีฑา ทั้งในและต่างประเทศ

หนึ่งในนั้นก็คือ Jesse Owens นักกรีฑาชาวอเมริกัน เจ้าของ 4 เหรียญทองในโอลิมปิก ที่เบอร์ลินปี 1936

 

แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้น Rudolf ก็ถูกเกณฑ์ เพื่อไปร่วมรบในโปแลนด์ และถูกจับกุมในฐานะเชลยศึกหลายครั้ง

เขาเชื่อว่า Adi น้องชาย ซึ่งอยู่แนวหลัง และมีหน้าที่ผลิตรองเท้าให้หน่วย Wehmacht ของกองทัพ มีส่วนรู้เห็นในเรื่องนี้

หลังสงคราม Rudolf ที่เกิดความไม่พอใจอีกฝ่าย จึงแยกออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง ณ อีกฟากของแม่น้ำ ในชื่อ Puma

ส่วน Adi ก็เปลี่ยนชื่อโรงงานใหม่เป็Adidas ตามชื่อของตนเอง (Adi Dassler)

 

ทั้งสองบริษัทชิงดีชิงเด่นกันมาตลอด โดยเฉพาะการเสนอให้นักกีฬาชั้นนำของประเทศเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของตน

แต่จุดพลิกผันสำคัญที่ทำให้ Adidas แซงหน้า และเติบโตจนเป็นบริษัทที่ใหญ่กว่าได้ เกิดขึ้นก่อนฟุตบอลโลก ปี 1954 ที่สวิตเซอร์แลนด์ไม่นาน

Rudolf ขัดแย้งกับ Sepp Herberger โค้ชของเยอรมนีตะวันตกในเวลานั้น เปิดทางให้ Adidas เข้าไปเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับทีมอินทรีเหล็กแทน

 

และเมื่อเยอรมนีชุดนั้น พลิกล็อกโค่นมหาอำนาจแห่งยุคอย่าง ฮังการี ได้ในนัดชิงชนะเลิศ (แมตช์ดังกล่าวถูกขนานนามว่า ‘ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น’ – Wunder von Bern)

ชื่อและภาพของ Adi Dassler ก็ปรากฎไปทั่วในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เพราะนักเตะอินทรีเหล็กสวมรองเท้าหนังสีดำพร้อมแถบสีขาว 3 แถบของ Adidas กันทุกคน

เพราะแม้คุณภาพรองเท้าของ Puma จะไม่ด้อยกว่า แต่การเดินหมากที่ผิดพลาดครั้งเดียวของ Rudolf ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ของทั้งสองริิษัทโดยปริยาย

 

Adidas กลายเป็นแบรนด์ที่คนรู้จักไปทั่วโลกจากเหตุการณ์นั้น แต่ Puma ภายใต้การนำของ Armin ลูกชายของ Rudolf ก็เติบโตกลายเป็นแบรนด์ระดับโลกได้ในเวลาต่อมา

กระนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองพี่น้องก็ไม่เคยกลับมาเป็นเหมือนเดิม จนวันสุดท้ายของชีวิต

โดย Rudolf เสียชีวิตในปี 1974 ส่วน Adi ก็สิ้นลมใน 4 ปีให้หลัง

ทั้งคู่ถูกฝังในสุสานเดียวกัน แต่หลุมศพยังคงตั้งห่างกันเท่าที่เนื้อที่ในสุสานจะอำนวยให้อยู่ดี

เรื่องราวของสองพี่น้อง Dassler ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ Barbara Smit ตัดสินใจค้นคว้าจนเป็นที่มาของหนังสือชื่อ Sneaker Wars ที่บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดนี้อย่างละเอียด และเธอก็เชื่อว่าหากปราศจากความบาดหมางที่รุนแรงจนต่างก็อยากอยู่เหนืออีกฝ่ายแล้ว

บางที ทั้ง Adidas และ Puma อาจไม่ได้พัฒนาจนเป็นแบรนด์ระดับโลกอย่างทุกวันนี้ก็ได

 

เรียบเรียงจาก

THE HISTORY OF ADIDAS AND PUMA

 

ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA

หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
11
Shares
Previous Article

รู้จักสนีกเกอร์สคู่ใจผู้บริหารแห่ง Silicon Valley

Next Article

eSports: กีฬาแห่งอนาคต

Related Posts