The Rise (& Fall) of Under Armour

#Breakfast4brain

หนึ่งในแบรนด์เครื่องกีฬามาแรงในรอบ 2-3 ปีหลังสุด จะเป็นแบรนด์ไหนไม่ได้ นอกจาก Under Armour ด้วยชื่อของเอนดอร์สเซอร์ ระดับแถวหน้าของวงการ อย่าง Tom Brady (NFL), Stephen Curry (NBA), Anthony Joshua (มวย) และ Andy Murray (เทนนิส) และยอดขายทั่วโลกกว่า 4 พันล้านดอลลาร์

 

ปัจจุบัน UA ก้าวขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องกีฬา เป็นอันดับ 3 แล้ว รองจาก Nike และ Adidas เท่านั้น ทั้งที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียง 21 ปี

 

ช่วงถือกำเนิด

UA ถือกำเนิดขึ้นในปี 1996 เพราะ Kevin Prank อดีตกัปตันทีมพิเศษของทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ไม่ชอบความรู้สึกเวลาเสื้อที่อยู่ใต้อุปกรณ์กันกระแทกชุ่มไปด้วยเหงื่อ จนอยากผลิตเสื้อกีฬาที่จะปฏิวัติวงการ

หลังสังเกตว่ากางเกงใยสังเคราะห์กลับไม่มีปัญหาเดียวกัน จนเป็นที่มาของการทดลองใช้เส้นใยแบบเดียวกัน มาผลิตเสื้อเพื่อตัดปัญหาเรื่องความชื้น

 

ขณะเดียวกันก็ให้เกิดความรู้สึกเบา เย็นและแห้งเวลาสวมใส่

 

ระยะแรก

ในระยะแรก UA ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก วิธีการโปรโมทแบรนด์จึงเป็นไปในลักษณะปากต่อปาก จากเพื่อนเก่าที่เคยเล่นด้วยกันที่มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกดราฟต์เข้าสู่ NFL

 

จนกระทั่ง

ในที่สุด ดีลสำคัญของบริษัทก็มาถึงในปี 1999 เมื่อ Jeff George ควอเตอร์แบ็กของโอ๊คแลนด์ เรดเดอร์ส ในเวลานั้น สวมเสื้อคอเต่าของ UA ไปปรากฎบนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ USA Today

จนผู้จัดการอุปกรณ์ของทีมฟุตบอล จอร์เจีย เทค ติดต่อหา Plank เพื่อขอซื้อไปทดลองใช้บ้าง ก่อน UA จะกลายเป็นแบรนด์ที่ทีมชั้นนำต่างๆในระดับคอลเลจเลือกใช้ และขยายไปสู่นักกีฬาและทีมอื่นๆในที่สุด

แต่ใช่ว่าทุกก้าวของ UA จะไปได้สวยเสมอ!!

เพราะเมื่อ Nike และ Adidas ปรับตัวตามด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบเดียวกัน สิ่งที่เคยเป็นจุดเด่นของ UA ก็หมดไป ทางออก คือการตัดสินใจปรับเข้าหาความเป็นแบรนด์แฟชั่นมากขึ้น ด้วยการจับมือกับดีไซเนอร์ื่ Tim Coppens แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

เพราะประสบการณ์ในการหาจุดที่ลงตัว ระหว่างตลาดของคนทั่วไปกับตลาดไฮเอนด์ยังเป็นรองแบรนด์อื่นๆ ที่ลองผิดลองถูกมาก่อน

 

เช่นเดียวกับการพยายามนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆในอุปกรณ์กีฬาของบริษัทที่ยังไม่เห็นผลชัดเจน

 

ช่วงหนักที่สุด

แต่หนักที่สุด อาจเป็นท่าทีของ Plank ที่สนับสนุนประธานาธิบดี Donald Trump เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งนำไปสู่กระแสติดแฮชแท็ก BoycottUnderArmour ในโซเชียลมีเดียต่างๆ

จนทำให้ราคาหุ้นของบริษัทตกลงไปแล้วกว่า 30% รวมถึงผลประกอบการในไตรมาสแรกที่กลายเป็นขาดทุน และจากที่เคยแซง Adidas ขึ้นไปเป็นเบอร์สองเรื่องส่วนแบ่งตลาดเฉพาะในสหรัฐเมื่อสองปีก่อน ก็ถูกยักษ์ใหญ่จากเยอรมนีแซงกลับไปเป็นที่เรียบร้อย

 

กลายเป็นบทเรียนสำคัญ สำหรับทั้ง UA และ Plank โดยปริยาย

Better be AHEAD
#AHEADASIA

 

เรียบเรียงจาก Under Armour made some huge mistakes that are turning into a nightmare

 

ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA

หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Brand it like Beckham

Next Article

7 สตาร์ทอัพในวงการกีฬา

Related Posts