ICQ: ต้นตำรับแอพแชท

#Breakfast4brain

ปัจจุบัน mobile messaging apps หรือแอพสำหรับส่งข้อความ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว

จากข้อมูลในเดือนมกราคมปีนี้ WhatsApp และ Facebook Messenger คือแอพแชทที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีผู้ใช้งานต่อเดือนแตะหลักพันล้านคน

รองลงมาคือสองแอพพลิเคชั่นจากจีน QQ Mobile (877 ล้าน) และ WeChat (846 ล้าน)

ส่วนลำดับรองๆลงไป เช่น Skype, Viber หรือ Line จะอยู่ในราว 2-300 ล้านคน

เหตุผลหลัก คือความสะดวกในการใช้งาน บริการที่หลากหลาย และสมาร์ทโฟนก็มีราคาถูกลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับพีซีหรือแล็ปท็อป

..
.
แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อราวสองทศวรรษที่แล้ว หลายคนที่เริ่มหัดใช้พีซี และอยู่ในยุคบุกเบิกของอินเตอร์เน็ต น่าจะรู้จักบรรดาโปรแกรมส่งข้อความที่เรียกกันว่า instant messenger กันดี

ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo Messenger, AIM

…และที่ขาดไม่ได้ คือผู้บุกเบิกอย่าง ICQ

..
.
ที่จริง โปรแกรมส่งข้อความระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 แล้ว แต่ก็ยังไม่แพร่หลายนัก

กระทั่งในปี 1988 โปรโตคอลที่เรียกว่า IRC (ย่อมาจาก Internet Relay Chat) ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดย Jarkko Oikarinen เพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการ UNIX

แต่เมื่อความนิยมของระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับไม่มีโปรแกรมลักษณะเดียวกันให้ใช้งาน

เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพจากอิสราเอล Mirabilis ที่ก่อตั้งขึ้นโดยสองพ่อลูก Yossi กับ Arik Vardi และเพื่อนๆ เห็นช่องว่างตรงจุดนี้ และพัฒนาฟรีแวร์ตัวหนึ่งขึ้น ในปี 1996

และตั้งชื่อว่า ICQ โดยแผลงมาจากประโยคที่ว่า “I Seek You”.

..
.
ด้วยความที่เป็นผู้บุกเบิก ICQ จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ก่อนที่โปรแกรมรูปแบบเดียวกันจากนักพัฒนารายอื่น จะถูกปล่อยตามออกมา เช่น AIM (ของ AOL) หรือ Yahoo! Messenger และ MSN Messenger

เมื่อการแข่งขันสูงขึ้น AOL มองว่าทางออกที่ดีที่สุดในการขึ้นเป็นเจ้าตลาด คือการยื่นข้อเสนอซื้อ ICQ จากบริษัทที่เล็กกว่าอย่าง Mirablis ในเดือนมิถุนายน 1998

ดีลนั้น มีมูลค่ารวมถึง 500 ล้านดอลลาร์ นับเป็นสถิติสูงสุดสำหรับการซื้อขายบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอิสราเอลในช่วงเวลาดังกล่าว

ในช่วงที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด ราวปี 2001 ว่ากันว่า ICQ มีผู้ใช้บริการทั่วโลกรวมกันกว่า 100 ล้านคนเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ICQ ยังเป็นแรงบันดาลใจของ OICQ แอพแชทตัวแรกของ Tencent จากจีน ในปี 1999 ด้วย

ก่อนที่ OICQ จะต้องเปลี่ยนชื่อเป็น Tencent QQ ในเวลาต่อมา เพราะคดีฟ้องร้องกับ AOL ที่ถือสิทธิ์ชื่อดังกล่าวในเวลาน้ัน

..
.
ปัจจุบัน Yossi Vardi ในวัย 70 เศษ ยังคงคลุกคลีในวงการสตาร์ทอัพของประเทศ และมีส่วนปั้นบริษัทเทคโนโลยีมากกว่า 85 ราย

ในฐานะผู้ประกอบการและนักลงทุน Vardi เปรียบเทียบเทคโนโลยีว่าเป็นเหมือนเปียโน ซึ่งจำเป็นต้องมีนักดนตรีเป็นผู้เล่น จึงจะสามารถสร้างเสียงดนตรีได้

เหมือนที่ผู้ประกอบการ หาและดึงประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้งานได้จริง

เหมือนที่เขาและทุกคนใน Mirablis มองเห็นโอกาส และสร้าง ICQ ขึ้นมานั่นเอง

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
The Rise and Fall of Instant Messenger
.
Yossi Vardi Biography
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
1
Shares
Previous Article

รมต.ดิจิทัลเล็งหนุนวีซ่า Digital Nomad ยกระดับสตาร์ทอัพไทย

Next Article

เมื่อชาติที่แห้งแล้งที่สุด กลั่นน้ำดื่มจากน้ำทะเล

Related Posts