เมื่อชาติที่แห้งแล้งที่สุด กลั่นน้ำดื่มจากน้ำทะเล

#Breakfast4brain

อิสราเอล คือหนึ่งในประเทศที่มีข้อจำกัดมากมาย

ทั้งขนาดของประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ และความแห้งแล้ง

แต่หลายครั้ง ความจำเป็นและแรงกระตุ้นเพื่อความอยู่รอด ก็กลายมาเป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรมได้เหมือนกัน

..
.
ย้อนหลังไปไม่กี่ปี อิสราเอล ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด ในประวัติศาสตร์ของประเทศ

สภาพอากาศแห้งแล้งที่กินเวลานานติดต่อกันนับทศวรรษ ทำให้แหล่งน้ำจืดทางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดอย่างทะเลสาบกาลิลีลดระดับลง จนเกือบถึงจุดที่น้ำเค็มไหลเข้ามาปะปนได้

สถานการณ์ดังกล่าวบีบให้รัฐบาลต้องจำกัดการใช้น้ำ เกษตรกรจำนวนมากต้องละทิ้งพืชผลในไร่นาของตัวเอง

นอกจากนโยบายดังกล่าว อิสราเอล ก็ไมได้งอมืองอเท้า และพยายามหานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เพื่อแก้ปัญหา

ทั้งสุขาที่ลดปริมาณการใช้น้ำ

ระบบการรีไซเคิลที่สามารถหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ได้ถึง 86% มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

แต่ก็ยังทำได้แค่แบ่งเบาปริมาณการใช้น้ำอุปโภคบริโภคของประเทศได้ระดับหนึ่ง

เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่เพิ่งถูกคิดค้น

และเปลี่่ยน อิสราเอล จากหนึ่งในประเทศที่แห้งแล้งที่สุด ให้มีปริมาณน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคมากจนเกินพอ

..
.
สถาบัน Zuckerberg Institute for Water Research พัฒนาเทคโนโลยีการกลั่นน้ำทะเล (desalination) ขึ้นใหม่

โดยใช้หินภูเขาไฟที่มีรูพรุน ดักจับจุลินทรีย์ที่เป็นอุปสรรคในการกลั่นน้ำทะเล แทนการกำจัดด้วยสารเคมีแบบเดิม

ปัจจุบัน น้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในอิสราเอล 55% หรือราว 600 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็มาจากกรรมวิธีนี้

เนื่องจากมันช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกลั่นน้ำทะเลลงจากเดิมถึง 1 ใน 3

โรงงานที่โซเรค (Sorek) ผลิตน้ำดื่ม 1,000 ลิตรได้ ด้วยต้นทุนเพียง 58 เซนต์ (ประมาณ 19.7 บาท) เท่านั้น

ส่งผลให้ค่าน้ำต่อครัวเรือนในอิสราเอลปัจจุบัน อยู่ที่ราว 30 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเมืองส่วนใหญ่ในสหรัฐ

และถูกกว่า ลาส เวกัส (47 ดอลลาร์) หรือ ลอส แองเจลีส (58 ดอลลาร์) ด้วยซ้ำ

..
.

Edo Bar-Zeev หนึ่งในวิศวกรของ Zuckerberg Institute ยังเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยเซฟประเทศของตนจากภัยแล้ง

แต่ยังอาจช่วยลดความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง ทั้งอิหร่าน, อิรัก และ จอร์แดน ที่ประสบปัญหาเดียวกันได้ด้วย

ในปี 2018 นักวิทยาศาสตร์จากอิสราเอล, อียิปต์, ตุรกี, จอร์แดน, เขตเวสต์แบงค์ และฉนวนกาซา จะเดินทางมาร่วมในงานสัมมนา Water Knows No Boundaries เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด รวมถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้

และในอนาคตอันใกล้ ยังมีโปรเจกต์ ‘Red Sea–Dead Sea Canal’

กิจการร่วมระหว่าง อิสราเอล และ จอร์แดน เพื่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำทะเลขนาดใหญ่บริเวณทะเลแดง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อพรมแดนระหว่างสองฝ่าย เพื่อกระจายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชากรในบริเวณนั้น

ไม่เพียงแต่ อิสราเอล หรือ จอร์แดน แต่ยังรวมถึงชาวปาเลสไตน์ด้วย

“ผมเชื่อว่าน้ำสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเราได้ ผ่านกิจการร่วม หนึ่งในนั้นก็คือการกลั่นน้ำทะเล”

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
Israel Proves the Desalination Era Is Here
.
Water for Life – Zuckerberg Institute for Water Research
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

ICQ: ต้นตำรับแอพแชท

Next Article

Saul Singer : ปฏิรูปการศึกษาอย่าง Start-Up Nation

Related Posts