Saul Singer : ปฏิรูปการศึกษาอย่าง Start-Up Nation

Start-Up Nation คือหนังสือระดับเบสต์เซลเลอร์ ว่าด้วยความสำเร็จทางนวัตกรรมของอิสราเอล ชาติเล็กๆกลางดินแดนทะเลทราย ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดทางทรัพยากร เขียนโดย Saul Singer ร่วมกับ Dan Seno  

Saul นั้นเป็นอดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Jerusalem Post รวมถึงเคยเขียนบทความให้สื่ออเมริกัน อย่าง The Washington Post และ Wall Street Journal มาก่อน

ความสำเร็จของหนังสือเล่มดังกล่าว ทำให้ Saul ได้รับเชิญให้ขึ้นพูดในเวทีต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้น ก็คือการพูดต่อหน้าเพื่อนร่วมชาติ ระหว่างงาน Israel EdTech Summit เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ในฐานะ 66 สปีกเกอร์จากทั่วโลก

และประเด็นที่เจ้าตัวเลือกนำมาพูดบนเวที คือการปฏิรูปการศึกษา ที่เจ้าตัวเชื่อว่าเป็นหนทางสำหรับการพัฒนาไปสู่ความเป็น Start-Up Nation

 

ความล้มเหลวของระบบการศึกษา

Saul เริ่มต้นด้วยการย้อนไปถึงยุคเกษตรกรรม ว่าวิถีชีวิตที่เรียบง่ายในยุคนั้น ทำให้คนไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาระดับสูง

จนเมื่อโลกเจริญขึ้น ระดับการศึกษาที่จำเป็น ก็ค่อยๆสูงขึ้น เพื่อรองรับกับโลกใหม่ที่ซับซ้อนกว่าเดิม

แต่ในยุคปัจจุบันนั้น ต่างออกไป

Saul ยกตัวอย่างอัตราคนว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น หรือคนที่จบการศึกษาระดับสูงๆ กลับต้องมาทำงานที่ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพที่ตนเรียนมา

พร้อมระบุว่านี่คือสิ่งที่หลายคนนิยามว่าเป็นความล้มเหลวของระบบการศึกษาในปัจจุบั

เครื่องมือที่จะนำความรู้ไปใช้

Saul กล่าวต่อว่าเขาไม่เห็นด้วยซะทีเดียว กับสิ่งที่ Andreas Schleicher นักวิจัยด้านการศึกษาชาวเยอรมนี กล่าวไว้ว่า The world economy no longer pays you for what you know. Google knows everything. The world economy pays for what you can do with what you know.

“เราไม่ได้ถูกจ้างในสิ่งที่เรารู้ เพราะ Google นั้นรู้ทุกสิ่งอยู่แล้ว แต่เราถูกจ้าง เพราะเรานำความรู้ที่มีมาใช้ได้”

พร้อมอธิบายว่าที่เขาไม่เห็นด้วย เพราะยังเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญ – และยิ่งสำคัญมากขึ้นด้วยสำหรับการทำงานในปัจจุบัน

ปัญหาคือในสถาบันการศึกษานั้น ขาดการสอน “เครื่องมือที่จะนำความรู้ไปใช้” ต่างหาก

ไม่ว่าจะเป็น ความฉลาดทางอารมณ์ ความเป็นผู้นำ การสื่อสาร การคิดและวางกลยุทธ์ การตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล ฯลฯ

มีความพยายามนิยามว่าคุณสมบัติเหล่านี้เป็นทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 แต่ Saul ยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ของใหม่อะไร

และการที่อิสราเอลยกฐานะตัวเองขึ้นมาเป็นชาติที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้อย่างปัจจุบัน ก็เพราะวิธีคิดเหล่านี้นั่นเอง

Geek ที่ทำงานได้

Saul กล่าวต่อว่าคนกว่า 90% ไม่เคยถูกท้าทายให้ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

แต่ในอิสราเอล ซึ่งประชากรทุกคนต้องเข้าเป็น “ทหารกองหนุน” จะได้ซึมซับคุณสมบัติที่เรียกว่า mission orientation คือทักษะในการทำภารกิจให้ลุล่วง

เพราะการมีความรู้เพียงอย่างเดียว อาจทำให้คุณเป็น geek

แต่การจะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องเป็น geek ที่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นได้ด้วย

และนั่นคือสิ่งที่เขาเชื่อว่าจำเป็นต้องนำวิธีคิดดังกล่าวมาสอนในโรงเรียน

เพื่อไม่ให้บุคลากรมีแค่รู้ในเชิงลึกเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีความรู้เป็นวงกว้าง เพื่อนำมาผสมผสานสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วย

สิ่งที่ชอบกับสิ่งที่ใช่

และหลักการที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาในความคิดของ Saul คือมันควรเป็นกระบวนการค้นพบศักยภาพในตัวผู้เรียนทุกคน

เป็นการหาจุดร่วม (sweet spot) ระหว่างสิ่งที่ชอบ (what we love) กับสิ่งที่ใช่ (what you are good at)

ซึ่งบางครั้งสองสิ่งนี้อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และยังอาจเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

ผู้เรียนจึงควรได้รับการสนับสนุนให้ลองผิดลองถูกจนกว่าจะค้นพบ ‘ตรงกลาง’ คือศักยภาพแท้จริงของตัวเองในที่สุด

Better be AHEAD
#AHEADASIA

เรียบเรียงจาก

Reinventin Education and the Future of Start-Up Nation

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

เมื่อชาติที่แห้งแล้งที่สุด กลั่นน้ำดื่มจากน้ำทะเล

Next Article

คนอเมริกัน 7 % เข้าใจว่านมช็อกโกแลตมาจากวัวสีน้ำตาล

Related Posts