Andrew Weinreich ผู้บุกเบิกโลกโซเชียลตัวจริง

#Breakfast4brain

ทุกวันนี้ เราอาจคุ้นเคยกับคำว่าโซเชียล เน็ตเวิร์คกันดี

แต่ย้อนกลับไปเมื่อยี่สิบปีก่อน ในยุคที่ยังไม่มี Facebook หรือแม้แต่ myspace แล้ว คำๆนี้ถือเป็นเรื่องใหม่มาก

จนเมื่อ Andrew Weinreich ก่อตั้ง Six Degrees ขึ้นในปี 1996 และเปิดตัวเว็บไซต์SixDegrees.com ในปีถัดมา

..
.
Six Degrees คือหนึ่งในเว็บไซต์ยุคบุกเบิกของโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มีฟีเจอร์สำคัญในการรวบรวมโพรไฟล์ รายชื่อ และข้อมูลติดต่อต่างๆ ของเพื่อนและคนรู้จักเข้าไว้ด้วยกัน

ไอเดียตั้งต้นของ Weinreich คือการขยายฐานคนรู้จักออกไปให้กว้างขึ้นจากกลุ่มเดิม เพื่อขยายผลการค้นหาต่างๆให้กว้างขึ้น ในลักษณะยกกำลังสอง

เช่นเราอาจมีคนรู้จักในลิสต์อยู่ 400 คน แต่ด้วยเครือข่ายของ Six Degrees เราจะสามารถหาข้อมูลเพิ่มได้จากเพื่อนๆของคนรู้จักในลิสต์ด้วย เท่ากับว่าจำนวนข้อมูลจะยกกำลังสองเป็น 400×400 = 160,000

Weinreich อธิบายว่าด้วยแนวคิดนี้ เราสามารถหาซื้อนาฬิการุ่นที่เราสนใจจากเพื่อนของเพื่อนอีกที หรืออ่านรีวิวหนังที่คนรู้จักของคนรู้จักเขียนไว้ได้

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าใหม่มากๆในยุคบูมของดอทคอม ที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟน พีซียังมีราคาแพง การเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ตก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก

กระทั่งคนอเมริกันส่วนใหญ่ยังไม่มีอีเมลของตัวเอง

..
.
อันที่จริง แนวคิดของ Weinreich ก็ยังไปได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะ Six Degrees สามารถดึงดูดผู้คนให้มาลงทะเบียนอีเมลได้หลายล้านคน

แต่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตที่ยังไม่พร้อมสำหรับโลกโซเชียล ทำให้ Weinreich ตัดสินใจขาย Six Degrees ให้กับ YouthStream Media Networks ในปี 1999 ในราคา 125 ล้านดอลลาร์

ไม่นานก่อนที่ฟองสบู่ดอทคอมจะแตก และ YouthStream Media Networks เป็นหนึ่งในบริษัทไอทีจำนวนมากที่ต้องปิดตัวลงในเวลาต่อมา

และต้องรออีกหลายปีก่อนที่โซเชียลเน็ตเวิร์ครุ่นถัดมา อย่าง Friendster, myspace หรือแม้แต่ Facebook จะนำแนวคิดนี้มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง

..
.
Weinreich อธิบายถึงเหตุผลในการตัดสินใจขาย Six Degrees ทั้งที่ช่วงระหว่างปี 1997-1999 พวกเขาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ใหญ่ที่สุด

ว่าในเวลานั้นธุรกิจนี้จำนวนเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลสำหรับฮาร์ดแวร์ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการสเกลอัพ

ต่างจากยุคนี้ที่คอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่เครื่องก็สามารถครอบคลุมสมาชิกจำนวนล้านๆคนได้ ผ่านระบบคลาวด์

เมื่อเทคโนโลยียุคนั้นไม่สามารถรองรับไอเดียได้ การเลือก exit น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

เพราะหลังจากนั้น Weinreich ยังเป็นเจ้าของไอเดียใหม่ๆอีกหลายอย่าง

อาทิ MeetMoi เว็บไซต์หาคู่ที่ขายให้ Match.comในเวลาต่อมา หรือ Xtify แพลทฟอร์มสำหรับส่งข้อความข้ามแชนแนล ที่ขายให้กับ IBM

ปัจจุบัน Weinreich ผันตัวมาเป็นแอคเซเลอเรเตอร์ เพื่อคอยปั้นสตาร์ทอัพสายดิจิทัลใหม่ๆที่ประสบปัญหาข้อจำกัดด้านการเงิน

เพราะเขาน่าจะรู้เรื่องนี้ดีที่สุด จากประสบการณ์ตรงที่เคยผ่านช่วงเวลาแบบเดียวกันมาก่อน

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก The father of social networking
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

คนอเมริกัน 7 % เข้าใจว่านมช็อกโกแลตมาจากวัวสีน้ำตาล

Next Article
Air Asia

แจ้งเกิดด้วยพลังโซเชียลแบบ Air Asia

Related Posts