Friendster: เริ่มก่อนไม่ได้แปลว่าชนะ

#Breakfast4brain

ในยุคบุกเบิกของโซเชียล มีเดียเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว Friendster ที่เขียนขึ้นโดย Jonathan Abrams ถือเป็นเว็บไซต์แรกที่นำเสนอแนวคิดนี้ในปี 2002

Friendster ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ลงทะเบียนใช้งานแตะหลัก 3 ล้านคน ในเวลาเพียง 2-3 เดือน

ส่วน Abrams ก็ถูกสัมภาษณ์โดยสื่อดังอย่าง Time, Esquire,Vanity Fair, US Weekly ฯลฯ

..
.
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เว็บไซต์รูปแบบเดียวกัน ก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด

นอกจากชื่อเราคุ้นเคยกันดีอย่าง Myspace (2003) Hi5 (2003) และ Facebook (2004)

ยักษ์ใหญ่ในยุคนั้น ก็นำคอนเซปต์นี้ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Windows Live Spaces หรือ Yahoo! 360

Google ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการซื้อ Friendster ก็เข้าร่วมวง ด้วยโซเชียลมีเดียของตัวเอง Orkut (2004)

นอกจากนี้ ยังมี Ringo.com ที่ถอดแบบมาจาก Friendster โดยใช้เวลาแค่ 3 วันหลัง Michael Birch (อดีตผู้ก่อตั้ง Bebo) ได้เห็นเว็บไซต์ต้นแบบ

แม้แต่ Mark Pincus ที่เคยลงทุนกับ Friendster ยังสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาแข่งขันด้วยในชื่อ Tribe.net.(2003)

..
.
แม้จะมีการแข่งขันกันสูง บนหัวแถว ยังคงเป็น Friendster และ Myspace ที่ขับเคี่ยวกันอย่างสูสี

แต่ Abrams กลับรู้สึกตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่าคู่แข่งตัวจริงของ Friendster คือเว็บไซต์น้องใหม่ที่ชื่อFacebook

รูปแบบของทั้งสองเว็บมีความใกล้เคียงกันกว่า เมื่อเทียบกับ Myspace

ทั้งการเซตอัพโพรไฟล์ การติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว หรือการเสิร์ชหาคอนแทคท์ใหม่ๆที่อยู่ในเครือข่าย

จะต่างกันก็ตรง Facebook ยังเป็นที่นิยมอยู่ในวงแคบๆของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ส่วน Friendster นั้นเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากกว่า

..
.
Abrams ในฐานะซีอีโอ เสนอว่าบริษัทควรเปิดตัว “Friendster College” ในแคมปัสต่างๆ 20 แห่ง เพื่อแข่งขันกับ Facebook ที่กำลังเจาะผู้ใช้งานกลุ่มนี้

รวมถึงการพยายามเพิ่มฟังก์ชั่นอื่นๆ (ที่ Facebook จะนำมาใช้ในภายหลัง) เพื่อให้รูปแบบการใช้งานของ Friendster กว้างขึ้น เช่น news feed ฯลฯ

สุดท้าย ความพยายามของ Abrams ก็ไม่เป็นผล

หนำซ้ำ สองเดือนหลังจาก Facebook เปิดตัว บอร์ดบริหารก็ถอดเขาจากงานบริหาร เหลือแค่ตำแหน่งประธานที่ไม่มีอำนาจใดๆ

..
.
ปลายปี 2004 แม้จะไม่มีอำนาจแล้ว Abrams ยังแนะนำให้ Scott Sassa ที่เป็นซีอีโอในเวลานั้น ทาบทามเพื่อขอซื้อ Facebook จาก Mark Zuckerberg

ผลลัพธ์คือข้อเสนอนั้นได้รับการปฏิเสธ

ไม่นานหลังจากนั้น Abrams ก็ตัดสินใจอำลา Friendster อย่างเป็นทางการในปี 2005 เมื่อยอดผู้ใช้งานค่อยๆถูก Myspace และ Facebook ทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ

..
.
ตลกร้ายคือในปี 2011 Facebook ย้อนกลับมาซื้อสิทธิบัตรของ Friendster แทน ในราคา 40 ล้านดอลลาร์

ส่วนตัวบริษัทก็ถูกเทกโอเวอร์โดย MOL Global บริษัทออนไลน์เพย์เมนท์จากมาเลเซีย และเปลี่ยนรูปแบบไปเน้นเครือข่ายในด้านเกมแทน

และเพิ่งหยุดให้บริการอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2015

..
.
Abrams หันมาเริ่มต้นใหม่กับ Nuzzel แอพพลิเคชั่นที่จะช่วยสร้างนิวส์ฟีด ขึ้นโดยยึดข้อมูลจากสิ่งที่เพื่อนของเราอ่านและแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆแทน

แม้ไม่ใช่ผู้ชนะในสงครามโซเชียลมีเดีย

แต่ Abrams ก็มั่นใจว่าการสร้าง Friendster ให้อะไรกับเขามากมาย ไม่ใช่เพียงแต่ประสบการณ์หรือคอนเนคชั่นเท่านั้น

“เมื่อคุณก้าวออกมาเริ่มทำอะไรบางอย่าง คุณจะต้องเจอกับฟีดแบ็กทั้งในแง่บวกและลบแน่นอน แต่มันจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณลงมือทำเท่านั้น”

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
Friendster Founder Tells His Side of the Story, 10 Years After Facebook
.
Facebook Buys Friendster Patents for $40M
.
The 10 Companies That Tried To Buy Facebook
.
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

 

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Betamax - ความพ่ายแพ้ในโลกอนาล็อกของSony

Next Article

2 ทศวรรษโซเชียลมีเดีย: จากทฤษฎี 6 ช่วงคนสู่ความเป็นไปได้ไม่รู้จบ

Related Posts