เรามักจดจำ เฮนรี ฟอร์ด ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทรถยนต์ยี่ห้อดัง Ford Motor Company ผู้ผลิต Model T ‘รถยนต์ที่คนทั่วไปสามารถครอบครองได้’ ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 1908
แต่ Ford ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลก เพราะรถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์คันแรกของโลก นั้นถือกำเนิดก่อนหน้านั้นแล้วราวยี่สิบปี จากการคิดค้นโดย คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) ชาวเยอรมนี

ถึงจะไม่ใช่เจ้าของเครดิตผู้คิดค้นรถยนต์ หรือระบบสายพานการผลิต (assembly line) แต่ไอเดียของ ฟอร์ด ในการนำทั้งสองสิ่งนี้ มารวมกัน
ไม่เพียงแต่จะทำให้ธุรกิจของเจ้าตัวประสบความสำเร็จเท่านั้น ยังเป็นการพลิกโฉมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของโลกด้วย

ฟอร์ด นั้น มีพื้นเพจากครอบครัวที่ทำอาชีพเกษตรกรรมในรัฐมิชิแกน แต่กลับมีความสนใจในเรื่องเครื่องยนต์กลไกตั้งแต่เล็ก
เพราะนิสัยอยากรู้อยากลอง เขาเคยลองแยกชิ้นส่วนและประกอบนาฬิกาพกที่พ่อให้เป็นของขวัญ ตอนอายุเพียง 13 ปี จนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะพัฒนาทักษะของเจ้าตัวในเวลาต่อมา
หลังจากเดินทางไปทำงานเป็นช่างเครื่องในเมืองดีทรอยต์ ตั้งแต่อายุได้ 16 ปี ฟอร์ด ก็ได้เรียนรู้กลไกของเครื่องจักรไอน้ำเพิ่มเติม
แต่สิ่งที่เจ้าตัวสนใจกว่า คือเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งน่าจะให้กำลังขับเคลื่อนได้ดีกว่าเครื่องจักรไอน้ำ หรือแม้แต่ม้าลากซึ่งยังนิยมใช้งานกันในยุคนั้น
กระทั่งทดลองพัฒนารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้สำเร็จ ระหว่างที่ทำงานให้กับ โธมัส เอดิสัน
และแยกตัวออกมาเปิดธุรกิจของตนเอง ในยุคที่คนส่วนใหญ่ยังมองว่ารถยนต์เป็นของฟุ่มเฟือย และรถม้ายังเป็นตัวเลือกแรกในการเดินทาง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้รถยนต์ในยุคนั้นมีราคาแพง คือการใช้แรงงานคนเป็นหลัก ในการสร้างรถยนต์หนึ่งคันนั้น พนักงานโรงงานจะต้องมารวมตัว ณ จุดเดียว เพื่อทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ทั้ง
ฟอร์ด จึงทดลองนำระบบสายพานมาใช้ในการผลิต โดยให้อุปกรณ์ไหลไปตามสายพาน และให้คนงานประกอบรถยนต์ทีละส่วน มีการบันทึกไว้ว่า สายพานการผลิต ที่โรงงาน Ford ในมิชิแกน ช่วยให้บริษัทผลิตรถยนต์หนึ
ที่สำคัญ มันช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล รถยนต์ทุกคันมีมาตรฐานระดับเดียวกัน ทนทาน และไม่ยุ่งยากในการซ่อมบำรุง
Ford Model T ซึ่งเปิดตัวในปี 1908 มีราคาอยู่ที่ 850 ดอลลาร์
แต่ด้วยระบบสายพานการผลิตที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริษัทสามารถลดราคาขายได้เหลือเพียง 360 ดอลลาร์
นั่นคือเหตุผลให้มันได้รับการตอบรับจากอเมริกันชนเป็นอย่างดี เพราะมีราคาถูกกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่นในตลาดเกือบครึ่ง กระทั่งสามารถทำยอดจำหน่ายได้ถึง 15 ล้านคัน

ระบบสายพานการผลิตของ Ford นั้น ไม่ใช่ส่งผลดีต่อเจ้าของกิจการเพียงฝ่ายเดียว
ค่าใช้จ่ายในการผลิตที่
พร้อมลดชั่วโมงทำงานจาก 9 เหลือ 8 ชั่วโมง รวมถึงสวัสดิการต่างๆอีกมากมาย
จนเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ประกอบการอื่นๆ ต้องหันมาใช้ระบบดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็ยังยืนพื้นจากแนวคิดของ Ford ที่ถือเป็นการพลิกโฉมครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม
กระทั่งเจ้าตัวได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน” โดยปริยาย
AHEAD FACTS
- Model T นั้น มีชื่อเล่นอีกชื่อว่า ‘Tin Lizzie’ หรือ รถกระป๋อง เพราะย้อนกลับไปต้นทศวรรษที่ 20 ผู้ผลิตรถยนต์มักจะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆมาแข่งขันกันเพื่อแสดงประสิทธิภาพ และในปี 1922 Model T ที่ขับโดย โนเอล บุลล็อค (Noel Bullock) ก็เข้าร่วมแข่งขันด้วย เดิมรถคันดังกล่าวมีชื่อว่า ‘Old Liz’ แต่ด้วยสภาพภายนอกที่ไม่ได้ทาสีและไม่มีหลังคา ผู้ชมหลายคนจึงหัวเราะเยาะ และเปรียบเทียบ Old Liz ว่าเหมือนกับกระป๋องดีบุกวิ่งได้ แต่เมื่อ บุลล็อค คว้าแชมป์มาครองด้วยรถคันดังกล่าว ‘Tin Lizzie’ หรือเจ้ารถกระป๋อง ก็กลายมาเป็นฉายาของรถรุ่นนี้ในที่สุด
- ระหว่างปี 1913-1927 โรงงาน Ford ผลิต Model T ได้ถึง 15 ล้านคัน
- เครื่องยนต์ 20 แรงม้าของ Model T ทำความเร็วสูงสุดได้ระหว่าง 65-70 กม./ชม.
- เฮนรี ฟอร์ด ถือเป็นไอดอลอีกคนหนึ่งของ อีลอน มัสก์ โดยเฉพาะในแง่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้น ก่อนที่คนจำนวนมากจะคิดได้ และหนึ่งในประโยคเด็ดที่ Musk กล่าวถึงไอดอลของตัวเองด้วยความชื่นชมก็คือ “เมื่อครั้งที่ เฮนรี ฟอร์ด ผลิตรถยนต์ที่ราคาไม่แพงและวางใจได้ คนก็ทักท้วงว่าขี่ม้ามันไม่ดีตรงไหน? สิ่งที่เขาทำคือการเดิมพันครั้งใหญ่ และมันก็ได้ผลซะด้วย” (‘When Henry Ford made cheap, reliable cars people said, ‘Nah, what’s wrong with a horse?’ That was a huge bet he made, and it worked’)
เรียบเรียงจาก
Builders & Titans: Ford
Ford – The Assembly Line
The Life of Ford
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า