เมื่อ SoundCloud กำลังจะหายไป

#Breakfast4brain

หลังหมดยุคของ MySpace ในอดีต หนึ่งในโซเชียลมีเดียทางด้านดนตรี ที่เรารู้จักกันดีก็คือ SoundCloud

สตาร์ทอัพจากเบอร์ลินรายนี้ ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ปี 2007 โดยนักดีไซน์เสียงชาวสวีเดนAlex Ljung และศิลปินเพื่อนร่วมชาติ Eric Wahlforss

รูปแบบของ SoundCloud เป็นบริการแผยแพร่ไฟล์เสียง ไม่ว่าจะอัพโหลดเพลง Podcast หรือ Live สด

แต่ก็ไม่นับเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Apple Music, Amazon หรือ Spotify

เพราะ Spotify มุ่งเน้นเป็นแพลทฟอร์ม เพื่อเผยแพร่ผลงานให้กลุ่มศิลปินสมัครเล่น หรือศิลปินที่ยังไม่มีสังกัดเป็นหลัก

หนึ่งในศิลปินอิสระที่สร้างชื่อขึ้นจากแพลทฟอร์มนี้ ก็คือ Chance the Rapper เจ้าของรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินยอดเยี่ยมคนล่าสุ

..
.

ในยุคที่สังกัดเพลงทั่วโลก ต้องชะลอการทำงาน เพราะแรงปะทะจาก ดิจิทัล มิวสิค

SoundCloud ใช้โอกาสนี้ ดึงดูดนักดนตรี และผู้รักในเสียงเพลง ได้มากถึง 175 ล้านคน

กระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หนึ่งในข่าวใหญ่ของวงการดนตรี และสตาร์ทอัพ

คือการที่ SoundCloud ประกาศเลย์ออฟพนักงาน 173 คน หรือครึ่งหนึ่งขององค์กร พร้อมปิดออฟฟิศ 2 แห่งใน ซาน ฟรานซิสโก และ ลอนดอน

พร้อมข่าวลือว่า ทั้งหมดเป็นไปเพื่อประคับประคองสถานการณ์ของบริษัทให้อยู่รอดจนถึงไตรมาสสุดท้ายเท่านั้น

..
.

ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ รายงานนี้ก็ส่งผลกระทบในทันที

ศิลปินและโปรดิวเซอร์จำนวนมากเร่งแบ็กอัพงานของตนที่อัพขึ้น SoundCloud กันจ้าละหวั่น และต้องไล่รวบรวมอีเมลหรือช่องทางติดต่อกับแฟนเพลงจากเว็บไซต์นี้

ฝ่าย Ljung ในฐานะซีอีโอ ก็ทวีตข้อความยืนยันว่าจะประคับประคองบริษัทไว้ต่อไป

เช่นเดียวกับ Chance ที่ประสบความสำเร็จได้ด้วยพลังจากโซเชียลมีเดีย ก็โพสท์ข้อความว่าเขาได้ติดต่อกับสองผู้ก่อตั้งบริษัท เพื่อทำงานร่วมกันให้ SoundCloud อยู่รอดต่อไป

ก่อนปิดท้ายด้วยประโยคว่า @SoundCloud is here to stay.

..
.

เพราะอะไร SoundCloud ถึงยังไม่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ ในเมื่อมีฐานผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

นักวิเคราะห์ มองว่า business model ของ SoundCloud ไม่แข็งแรงพอจะเลี้ยงบริษัทได้

เพราะเป็นรูปแบบ เปิดให้ผู้ใช้เข้าไปฟังเพลงได้ฟรีๆ แต่เก็บรายได้แบบแพ็คเกจจากสมาชิกที่ต้องการอัพโหลดเกินกว่า 3 ชั่วโมง (ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มศิลปินอิสระ ที่มีรายได้ไม่มากเช่นกัน)

เท่ากับว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จากฐานผู้ฟังที่มีจำนวนมากเลย

ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีการหารายได้จากโฆษณาเหมือน YouTube หรือหารายได้จากผู้ผลิตคอนเทนท์แบบแพลทฟอร์มอื่นๆ

นอกจากนี้ การซื้อขายผลงานก็เป็นการติดต่อกับศิลปินหรือสังกัดโดยตรง ขณะที่ SoundCloud ไม่ได้รับส่วนแบ่งใดๆ

..
.

นอกจากนี้ การเน้นเรื่องภาพลักษณ์องค์กรมากไปก็ย้อนกลับมาส่งผลเสีย

เว็บไซต์ www.digitalmusicnews.com นำเสนอภาพออฟฟิศสุดหรูของ SoundCloud หลายแห่งที่ดูหรูหราเกินความจำเป็น

พร้อมยกตัวอย่างออฟฟิศขนาด 40,000 ตารางฟุต ใจกลางย่านแมนฮัตตัน ในนิวยอร์คนั้น น่าจะมีค่าเช่าสูงถึงปีละ 3 ล้านดอลลาร์

ขณะที่ Reuters ก็ระบุว่าแม้จะเพิ่งระดมเงินจากนักลงทุนได้ถึง 100 ล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้

แต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา SoundCloud กลับยังต้องไปติดต่อกู้เงินเพิ่มจาก Ares Capital, Kreos Capital และ Davidson Technology อีก 30 ล้านดอลลาร์ เพื่่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเติบโตของรายรับ

เป็นการตอกย้ำว่าปัญหาการเงินของ SoundCloud ไม่ใช่เรื่องใหม่

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยว่า เมื่อ 18 เดือนก่อน KPMG ผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทได้ส่งรายงานถึงผู้บริหาร พร้อมคำเตือนถึงสถานะการเงินแล้ว แต่ได้รับการเพิกเฉย

..
.
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าสุดท้าย SoundCloud ยังจะสามารถหาทุนมาเพื่อประคองบริษัทให้อยู่ต่อไปได้

หรืออาจเลือก exit ด้วยการขายให้กับบริษัทที่ใหญ่กว่า โดยมี Twitter และ Spotify ให้ความสนใจ โดยเฉพาะรายหลังที่เคยเปิดเจรจากันแล้ว

เพราะในสถานการณ์นี้ หลายฝ่ายมองว่าคงเป็นไปได้ยากที่ SoundCloud จะยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
SoundCloud says it’s going to survive, but how?
.
Music streamer SoundCloud has cash until fourth quarter after layoffs
.
In February of 2016, KPMG Issued an Urgent Warning About SoundCloud’s Finances. It Was Ignored.
.
These Lavish Office Photos Are Coming Back to Haunt SoundCloud
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

DreamWorks: จุดเริ่มจากความขัดแย้ง

Next Article

5 สุดยอดการพิทช์ ในวงการสตาร์ทอัพ

Related Posts