5 ข้อควรเลี่ยงสำหรับ Edtech

ทุกสตาร์ทอัพล้วนมีความเสี่ยง แม้แต่สายเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือ Edtech ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกว่าจะประสบความสำเร็จในระดับเดียวกับ Fintech ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น

หนึ่งในกรณีศึกษา ก็คือ ‘SharpScholar’ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้สอน สามารถวิเคราะห์นักเรียนในคลาสได้แบบเรียลไทม์

SharpScholar ซึ่งก่อตั้งโดย Jawwad Siddiqui จากความไม่พอใจในคุณภาพของการสอนที่ได้รับจากศาสตราจารย์ที่ต่างกัน และต้องการเชื่อมต่อผู้สอนและผู้เรียนให้มี engagement ระหว่างกันมากขึ้น

ซึ่งก็ใช้งานได้ดีจนเป็นที่ยอมรับในแวดวง Edtech และมีมหาวิทยาลัยในแคนาดาถึงหกแห่งเลือกใช้ ผ่านศาสตราจารย์ 12 คน

แต่ในเวลาไม่ถึงปี SharpScholar กลับต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว เพราะแม้จะดูเหมือนไปได้สวย แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง การจะปั้น Edtech ให้ประสบความสำเร็จ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ทั้งความเข้าใจของผู้ถือหุ้นในเรื่องการศึกษา การขาดแคลนบุคลากร มุมมองของนักลงทุนในแง่ของผลตอบแทน ฯลฯ

ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาในเรื่องนี้ พร้อมสรุปเป็นบทเรียน 5 ข้อที่สตาร์ทอัพสาย Edtech ควรปฏิบัติ หากไม่ต้องการพบกับความล้มเหลวไว้ดังนี้

 

#5
ขาดความเข้าใจในระบบนิเวศน์การศึกษา

แทบเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะเข้าใจในระบบการศึกษา หากคุณไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานในด้านนี้มาก่อน เมื่อไม่เข้าใจ ก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้สอน ผู้เรียน หรือคนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาได้

ทางแก้ไข: อย่าคิดเหมารวมเองว่าอะไรดีที่สุดสำหรับสถาบันการศึกษา ใช้เวลาศึกษาระบบเพื่อให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์/บริการของคุณมอบคุณค่าใดๆให้กับผู้ใช้งานได้จริง

อย่าลืมว่าผู้สอนไม่มีเวลามากพอสำหรับการทดลองใช้งานหลายๆผลิตภัณฑ์ เพื่อตัดสินใจ ก่อนจะทำเรื่องเสนอเพื่อขอซื้อ ฉะนั้น ก่อนจะติดต่อไป คุณต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นพร้อมแล้วสำหรับการใช้งาน

 

#4
ขาดข้อมูลจากมุมมองของผู้สอน

แปลกแต่จริงที่ผู้สอนมักไม่ได้รับการติดต่อให้มีส่วนร่วมในสตาร์ทอัพสายนี้ เพราะหลายครั้งที่ผู้ประกอบการมักเลือกที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นจากความเชื่อส่วนตัว โดยปราศจากการทำวิจัยก่อน

การขาดข้อมูลที่เป็นเชิงลึกจากคนที่อยู่วงใน ทำให้การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะเป็นประโยชน์แก่การศึกษา แทบเป็นไปไม่ได้

ทางแก้ไข: ครูหรือสตาฟฟ์ในโรงเรียน คือคนที่เหมาะที่สุด ที่จะให้ข้อมูล ฟีดแบ็ก หรือรับรองผลิตภัณฑ์ว่าได้ผลหรือไม่

นอกจากนี้ การระบุข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์ของคุณผ่านการรับรองจากบุคลากรในวงการซึ่งเป็นที่ยอมรับ หรือมีงานวิจัยรับรอง ก็จะช่วยให้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

 

#3
มั่นใจเกินไปอาจกลายเป็นก้าวร้าว

ผู้สอนและผู้ประกอบการ เป็นบุคคลสองประเภทที่อยู่ในโลกที่แตกต่างกัน และฝ่ายหลังมักมีมุมมองในเชิงลบกับฝ่ายแรกเสมอ

Richard Byrne จาก Free Technology ofr Teachers ซึ่งเคยร่วมงานกับทั้งสถาบันการศึกษา และ edtech จำนวนหลายพันราย ระบุว่าสตาร์ทอัพที่ล้มเหลว มักผิดพลาดตั้งแต่การใช้คำพูดในการพิทช์งาน โดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในห้องเรียนมาก่อน

ทางแก้ไข: ควรเลือกปรับการใช้คำพูดให้เหมาะกับวัฒนธรรมของสถาบันศึกษา และต้องจำให้ขึ้นใจว่าการขายชิ้นงาน มีความสำคัญพอๆกับตอนที่คุณสร้างมันขึ้นมา ขณะเดียวกัน ก็ต้องพร้อมรับฟังความเห็นจากผู้ใช้งาน แทนที่จะคิดเองเออเองว่านี่คือทางออกที่คนเหล่านั้นต้องใช้

 

#2
ระวังความต่างด้านวัฒนธรรม

ผู้ประกอบการจำนวนมาก มักใช้คำพูดห้วนๆแบบที่คุยกันเองในการติดต่อธุรกิจ หรือส่งอีเมลถึงครูหรือสถาบันศึกษา และนั่นอาจส่งผลในเชิงลบมากกว่าจะเป็นผลดี

เพราะวงการการศึกษานั้นค่อนข้างแคบ ทุกคนรู้จักกันดี และไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนภายนอกจะแทรกตัวเข้าไปได้ หากคุณพยายามเร่งรัดอีกฝ่ายจนเกินไป ไม่ใช่แค่จะก่อให้เกิดความรู้สึกด้านลบกับคนๆเดียว แต่เรื่องนี้จะแพร่ออกไปทั้งวงการก็ได้

ทางแก้ไข: ไม่ควรลืมว่าในหนึ่งวัน ครูแต่ละคนมีเรื่องต้องทำมากมาย การพิจารณาผลิตภัณฑ์ของเราคงไม่ใช่ตัวเลือกลำดับต้นๆ การสร้างความสัมพันธ์จึงควรเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป อย่าหวังผลในเวลาอันสั้น อาจจะต้องยอมให้ทดลองใช้ระยะหนึ่ง ขอความเห็น และปรับปรุงตามที่อีกฝ่ายต้องการ

 

#1
ทัศนคติที่ต่างกันสุดขั้ว

นี่คือเรื่องอันตรายที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักมาจากนักเรียนที่หันหลังให้การเรียน เพื่อเดินตามความต้องการของตน

เมื่อคนในสถาบันการศึกษามักเป็นคนที่อยู่ในกรอบ มาพบกับผู้ประกอบการที่รักอิสระ จึงต้องระมัดระวังเรื่องความเห็นที่ต่างกันเป็นพิเศษ

ทางแก้ไข: ต้องแน่ใจว่าคุณตัดสินใจทำ Edtech เพราะเชื่อว่ามันจะส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมนี้จริงๆ ทั้งการให้ความสำคัญกับผู้เรียน การยกระดับการศึกษา และช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วยผลิตภัณฑ์/บริการในราคาที่เหมาะสม

ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรลืมว่าผลิตภัณฑ์/บริการเดียวกัน อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับทุกสถาบันการศึกษา คุณอาจต้องปรับแต่งบางอย่างเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมของที่นั่น หากสามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศน์ของผู้บริโภคได้ โอกาสสำเร็จของคุณก็มีอยู่

 

เรียบเรียงจาก

The Top 5 Reasons EdTech Startups Fail And How To Avoid Them 

 

หากมีข้อแนะนำ สามารถคอมเมนท์ได้ในเพจ AHEAD.ASIA และอย่าลืมกด like เพื่อให้คุณไม่พลาดทุกเรื่องที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

กสิกรไทยเปิดตัวหนังสือค้ำประกันบนบล็อกเชนครั้งแรกในโลก

Next Article

สุดยอดกลยุทธ์การตลาด จาก 5 กูรูแถวหน้า ในงาน The Future of Digital Marketing

Related Posts