ผู้ชุบชีวิต Lego

ในฐานะของเล่น Lego คือสัญลักษณ์ของความคิดสร้างสรรค์

มีการคำนวณในทางคณิตศาสตร์ว่า บล็อกรูปทรง 2×4 ของ Lego เพียงหกอัน สามารถประกอบในรูปแบบที่ต่างกัน ได้มากถึง 915 ล้านวิธี

กระนั้น ในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อไอเดียสร้างสรรค์เกิดตีบตัน และการบริหารเต็มไปด้วยความผิดพลาด

ผู้ผลิตของเล่นยอดนิยมจากเดนมาร์กรายนี้ ก็ตกเป็นหนี้ก้อนโต

สินค้าจำนวนมากค้างสต๊อคในคลัง พนักงานนับพันคนถูกเลย์ออฟ และบริษัทสุ่มเสี่ยงต่อการล้มละลาย

ก่อนบอร์ดบริหาร จะเสี่ยงดันชายหนุ่มวัยเพียง 35 ปี ขึ้นรับตำแหน่งซีอีโอ และช่วยกอบกู้บริษัทไว้ได้ในที่สุด

..
.
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 Lego ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในของเล่นยอดนิยมที่สุดในโลก

แต่ในทศวรรษถัดมา บริษัทก็ได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างมหาศาล

เมื่อตัดสินใจละทิ้ง ‘ตัวตน’ ไปผลิตสินค้าอื่นๆ เพราะคิดว่าจะทำให้ตนไม่ตกเทรนด์ ทั้งที่ขาดประสบการณ์

เฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสวนสนุก LegoLands ที่ต้องใช้ทุนสร้างมหาศาล

..
.
Jorgen Vig Knudstorp ซึ่งเริ่มงานที่ Lego ในฐานะ Junior Consultant สังเกตเห็นถึงความผิดปกตินี

เขาใช้เวลาสองปีในการรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน และลูกค้า ก่อนนำเสนอรายงานต่อบอร์ดบริหารในปี 2003 เมื่อ Lego ตกอยู่ในสภาพใกล้ล้มละลาย มีหนี้สินมากถึง 800 ล้านดอลลาร์

แม้ปฏิกิริยาตอบรับจากบอร์ดในครั้งแรก จะยังไม่เห็นด้วย แต่สุดท้าย รายงานของ Knudstorp ก็เป็นที่ยอมรับ

ในเดือนตุลาคม 2004 เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอรายแรกของบริษัท ที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว หรือสืบเชื้อสายจากผู้ก่อตั้ง Ole Kirk Christiansen

..
.
สิ่งแรกที่ Knudstorp ทำ หลังเข้ารับตำแหน่ง คือการกำหนดทิศทางใหม่ ด้วยการหวนกลับไปหาบล็อกพลาสติก ที่เป็นหัวใจหลักเดิมของบริษัท

แต่ที่เพิ่มเติมเข้าไปคือการลงลึกในรายละเอียด

Knudstorp นำนักจิตวิทยามาทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายหลัก คือเด็กๆ พร้อมส่งนักออกแบบไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวที่มีเด็กเล็กเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

เพื่อเก็บข้อมูลว่าอะไรคือสิ่งที่ใช่ และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์

..
.
ควบคู่กันไป Knudstorp ก็เริ่มลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

เริ่มจากการลดจำนวนรูปแบบบล็อกที่บริษัทผลิตขึ้น จากราวๆ 14,000 แบบ เหลือราวๆ 5 พันแบบ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในเรื่องแม่พิมพ์ได้

ต่อด้วยการทยอยขายหุ้นใน Legoland และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าไลน์หลักไปจนหมด

ราวสิบปีเศษหลังเข้ารับตำแหน่ง Lego ก็ฟื้นจากบริษัทที่ใกล้ตาย กลายมาเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ทรงพลังที่สุดในโลกได้อีกครั้ง

ปัจจุบัน Lego มีมูลค่าทรัพย์สิน จากการประเมินโดย Forbes ในปี 2015 ไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านดอลลาร์

และมีค่าเฉลี่ยที่น่าทึ่งคือ ทุก 1 วินาที จะมีสินค้าของ Lego ขายออกไปได้ถึง 28 ชุด

..
.
ปัจจุบัน Knudstorp ส่งมอบตำแหน่งซีอีโอให้ Bali Padda ดูแลต่อแล้ว

และผันตัวไปเป็นประธานบริหารให้กับ Lego Brand Group ซึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่สำหรับการบุกเบิกตลาดต่างประเทศแทน

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
How a rookie brought Lego back from the brink
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
วันจันทร์

8 วิธี ที่ทำให้คุณรักวันจันทร์มากขึ้น

Next Article

เรียนวิธีคิดสร้างธุรกิจแบบ One Stock Home ใน Startup Bangkok Meetup

Related Posts