5 เรื่องต้องรู้สำหรับสตาร์ทอัพสาย Cyber Security

ในยุคสมัยที่ข้อมูลขององค์กรเป็นสิ่งมีคุณค่ามหาศาล อาชญากรรมในโลกไซเบอร์จึงเพิ่มความอันตรายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ปัญหาในการสร้างระบบเน็ตเวิร์คและโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร จึงเป็น pain point ที่สตาร์ทอัพกลุ่มหนึ่งเล็งเห็น และพยายามเข้ามาแก้ไข จนหลายรายประสบความสำเร็จ และสามารถตั้งตัวจนเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ

แต่อะไรคือปัจจัยสำคัญที่สตาร์ทอัพเหล่านั้นเอาตัวรอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจนี้ ทั้งที่มีงบประมาณและทรัพยากรอย่างจำกัด

และนี่คือ 5 เรื่องควรรู้สำหรับผู้สนใจเดินทางสายนี้ เพื่อโอกาสในการประสบความสำเร็จในอนาคต

 

#5
ใส่ใจเรื่องสำคัญ

แฮ็คเกอร์ มีแรงจูงใจมากมายในการลงมือ คนเหล่านี้ขอเพียงเจาะข้อมูลสำเร็จเพียงครั้งเดียว ก็เท่ากับความพยายามที่ผ่านมาสัมฤทธิ์ผล

ผิดกับคุณที่ต้องรับมือกับการโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าโดยห้ามผิดพลาด

การจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ขึ้นกับว่าคุณรู้ถึงคุณค่าของข้อมูลเหล่านั้นในฐานะสินทรัพย์มากน้อยแค่ไหน รวมถึงความเสี่ยงที่จะตามมา หากเกิดรั่วไหลออกไป

การรู้ถึง ‘ความสำคัญ’ และเข้าใจบทบาทของสมาชิกในทีมในการปกป้องสิ่งนั้น จะช่วยให้คุณเรียงลำดับความจำเป็นในการลงทุนด้านความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น

 

#4
ประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า

การมองข้ามไม่ประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า อาจส่งผลเสียหายร้ายแรง เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น

แม้แต่สตาร์ทอัพที่มีความสามารถแค่ไหน ก็อาจก่อความผิดพลาดได้ทั้งนั้น เหมือนกรณีของ Tanium ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกประเมินว่ามีมูลค่าสูงถึง 3,700 ล้านดอลลาร์ แต่หากพลาดเพียงครั้งเดียว มูลค่าของบริษัทก็พร้อมจะถูกประเมินใหม่ในราคาที่ต่ำลงทันที

การประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า จะทำให้คุณพร้อมตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดให้น้อยลง

 

#3
ให้ความรู้เพิ่มความระแวดระวัง

การโจมตีทางไซเบอร์นั้น มีเป้าหมายที่การสร้างปัญหาให้ผู้ใช้งาน พนักงานหรือพาร์ทเนอร์ของบริษัทเสมอ และมักถูกออกแบบให้เล่นงานเพื่อเจาะข้อมูล การเงิน หรือเรื่องใดๆที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นหลัก

และวิธีการหลักที่คนเหล่านี้นิยมใช้ ก็คือล่อหลอกให้ยูสเซอร์ดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ที่มีไวรัส ที่จะเปิดทางเข้าสู่เน็ตเวิร์ค

หนึ่งในวิธีป้องกันเบื้องต้น คือการให้ความรู้กับยูสเซอร์ เพื่อเพิ่มความระแวดระวังในเรื่องนี้ แต่องค์กรส่วนใหญ่มักละเลย เพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ หรือต้องการประหยัดงบประมาณ

แต่ในความเป็นจริง การที่ยูสเซอร์มีความรู้ในระดับหนึ่ง คือวิธีที่ประหยัดที่สุดในการรับมือภัยทางไซเบอร์เหล่านี้

 

#2
เตรียมพร้อมเผื่อเกิดหายนะ

ไม่ว่าคุณจะระวังแค่ไหน อย่าลืมเผื่อใจไว้ด้วยกรณีเกิดเหตุเลวร้ายที่สุดขึ้น

สิ่งที่ควรทำคือการวางแผนรับมือเป็นการภายใน เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจและรู้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง

เพราะหากคุณรอจนปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ค่อยพยายามหาคำอธิบาย เป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะรับฟังในสถานการณ์โกลาหล

แต่หากคุณเตรียมตัวให้พร้อม ก็มีโอกาสที่คุณจะเอาตัวรอดจากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดได้ และนั่นจะทำให้เครดิตในวงการของคุณดีขึ้นแบบก้าวกระโดดเช่นกัน

 

#1
หมั่นคิดค้นนวัตกรรมใหม่

สตาร์ทอัพสายนี้ ก็ไม่ต่างจากสายอื่นๆ คือมักต้องเจอกับความท้าทายอยู่ตลอด ทั้งจากเหล่าแฮ็คเกอร์ และการแข่งขันกับสตาร์ทอัพด้วยกันเอง

เป็นธรรมดาที่ไอเดียของคุณจะถูกลอกเลียนจากผู้อื่น หากว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่สิ่งสำคัญกว่าคือคุณภาพในการลงมือปฏิบัติที่จะเป็นตัวตัดสินว่าใครดีกว่า เฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาที่ยังไม่มีใครแก้ไขมาก่อน

เพราะในการเป็นสตาร์ทอัพนั้น มีเพียงไอเดียที่สดใหม่เท่านั้นที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จ หากขาดคุณสมบัตินี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะเอาตัวรอดในวงการ

 

เรียบเรียงจาก

5 Key Steps to Survive as a Cyber Security Startup 

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Nintendo ผู้ไม่เคยเกมโอเวอร์

Next Article
Laundroid และ Foldimate

Laundroid และ Foldimate - หุ่นยนต์ซักรีด ผู้ช่วยชั้นดีของพ่อบ้านใจกล้า

Related Posts