การยึดติดของ Polaroid

#Breakfast4brain

นอกจาก Kodak แล้ว Polaroid คืออีกหนึ่งบริษัทอเมริกันที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุด ในอุตสาหกรรมฟิล์มและถ่ายภา

ถ้าจุดแข็งของ Kodak ในยุครุ่งเรือง คือกล้องและฟิล์มในราคาที่ใครก็จับต้องได้

Polaroid ก็คือสัญลักษณ์ของ Instant Camera นั่นเอง

แต่การยึดติดกับ ‘อะไรที่ใช่’ ก็กลายมาเป็นดาบสองคมที่ทำให้ทั้งคู่มีชะตาไม่ต่างกันนัก ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

..
.
Polaroid Corporation ก่อตั้งขึ้นในปี 1937 โดย Edwin H. Land นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน

นวัตกรรมที่เกิดจากไอเดียของ Land สร้างความฮือฮาให้กับสังคมอเมริกันมากมาย

ในระดับที่เรียกว่าสถานะของ Polaroid ในยุคนั้น ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ Apple ในปัจจุบันเลยทีเดียว

เฉพาะอย่างยิ่งกล้อง instant camera ในปี 1947 ที่มีส่วนช่วยให้ Polaroid ยกระดับจากห้องแล็บเล็กๆ ขึ้นมาเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก

และ Land ซึ่งอยู่ในตำแหน่งซีอีโอนานกว่า 4 ทศวรรษ ก็เคยขึ้นปกนิตยสาร Life ในปี 1972

พร้อมด้วยคำโปรยตอกย้ำความยิ่งใหญ่ว่า ‘A Genius and His Magic Camera’ (อัจฉริยะกับกล้องมหัศจรรย์)

..
.
ระดับความยิ่งใหญ่ของ Polaroid นั้น ถึงจุดสูงสุดในระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1970

ด้วยการเป็นเจ้าตลาดในด้าน Instant Photography ตัวจริง และมียอดขายแตะหลัก 500 ล้านดอลลาร์

อิทธิพลของ Polaroid มีมากขนาดไหน เห็นได้จากการที่บริษัทกล้าชนกับ Kodak ตรงๆ เมื่อฝ่ายหลังเปิดตัวกล้อง instant camera ในปี 1976

Polaroid ตัดสินใจฟ้องร้องบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอีกราย ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรด้าน instant photography

เหตุการณ์นี้กินเวลานานถึงสิบปี ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้ Kodak ต้องยุติสายการผลิตกล้องรุ่นดังกล่าว พร้อมจ่ายเงินชดเชยให้ Polaroid อีก 909.5 ล้านดอลลาร์

..
.
จุดพลิกผันแรกที่สะเทือนสถานะของ Polaroid คือการผลิตและวางขายกล้องวิดีโอแบบ instant ในชื่อ Polavision เมื่อปี 1977

ปัญหาคือในเวลานั้น ฟอร์แมตวิดีโอเทป (VHS และ Betamax) เป็นที่ยอมรับในวงกว้างไปเรียบร้อย ส่งผลให้ Polavision เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของบริษัท

และ Land ก็ถูกบีบให้ลาออกจากบริษัทที่ตนก่อตั้งขึ้นมาเอง เพื่อรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้น

แต่สิ่งที่ Polaroid ต้องเจอในทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมานั้น อาจจะหนักยิ่งกว่าเคสของ Polavision

นั่นคือการที่ตลาดฟิล์มเริ่มเสื่อมความนิยมลง และเริ่มมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ก้าวหน้ากว่าเข้ามาทดแทน

สถานการณ์ของ Polaroid ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ต้องปลดพนักงานหลายพันคน รวมถึงปิดโรงงานหลายแห่ง จนสุดท้ายต้องยื่นเรื่องขอพิทักษ์ทรัพย์สิน ในเดือนตุลาคม 2001

พร้อมขายชื่อ ‘Polaroid’ รวมถึงกิจการให้กับ One Equity Partners (OEP)

จากนั้น ชื่อและสิทธิ์ในแบรนด์ Polaroid ยังถูกเปลี่ยนมืออีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่อาจไต่ระดับกลับไปเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนในอดีตอีก

..
.
อันที่จริง Polaroid ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้บุกเบิกกล้องดิจิทัลเช่นกัน ด้วย PDC-2000 ในปี 1996

และคุณภาพที่ได้ก็ถือว่ามีมาตรฐานสูงมากในยุคนั้น

แต่ปัญหาที่ทำให้กล้องดิจิทัลของ Polaroid ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ก็ไม่พ้นปัญหาภายในเหมือนที่เกิดขึ้นกับ Kodak

เพราะผู้บริหารของ Polaroid ในยุคนั้น มองว่าการให้ความสำคัญกับกล้องดิจิทัล จะย้อนมาส่งผลเสียต่อยอดขายกล้องฟิล์มของตนนั่นเอง

แต่สุดท้าย กลายเป็นว่าการเลือกไม่เปลี่ยนแปลง กลับส่งผลเสียหายต่อบริษัทมากมายกว่าหลายเท่านัก
..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
How Kodak and Polaroid fell victim to the dark side of innovation
.
Polaroid successes and failures
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

5 สตาร์ทอัพ สาย p2p lending ที่คุณควรรู้จัก

Next Article

ไทยจับมือไต้หวันหนุนความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม

Related Posts