เจฟฟ์ เบโซส

พิซซ่าสองถาดของ เจฟฟ์ เบโซส

แม้ Amazon.com จะเป็นองค์กรใหญ่ระดับโลก แต่ เจฟฟ์ เบโซส กลับมีแนวคิดว่าการทำงานเป็นทีมขนาดใหญ่นั้นไม่เวิร์ค

นั่นคือจุดเริ่มต้นของการนำกฎ ‘พิซซ่า 2 ถาด’ หรือ (two-pizza teams) มาใช้ในบริษัท

 

อะไรคือ two-pizza teams?

 

 

หลักการของ ‘ทีมพิซซ่า 2 ถาด’ คือ ในการทำภารกิจต่างๆ พนักงานจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่ถึงสิบคน เพื่อให้บรรลุเป้าที่ตั้งไว

หลายครั้งที่ทีมเหล่านี้ จะต้องแข่งขัน และทำงานซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุ

ส่วนเรื่องการสั่งพิซซ่าแค่สองถาด ว่าพอสำหรับเลี้ยงทุกคนในกรณีที่ต้องทำงานจนดึกดื่นนั้นเป็นเพียงกิมมิค

เพราะหลักการนี้ เกิดจากความเชื่อของ เบโซส ที่ว่ายิ่งมากคน ยิ่งมากความ

หากปล่อยให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น

‘การสื่อสารเป็นสัญลักษณ์ของความบกพร่อง มันชี้ให้เห็นว่าคนในทีมไม่ได้ทำงานประสานกันเป็นหนึ่งเดียว นี่คือวิธีช่วยให้แต่ละทีมพูดคุยกันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้’

การต้องแข่งขันกันเองภายใต้กฏนี้ ทำให้ทั้งพนักงานและอดีตพนักงานของ Amazon.comจำนวนไม่น้อย ยอมรับว่าไม่ค่อยปลื้มกับระบบ ‘ทีมพิซซ่า 2 ถาด’ ซักเท่าไหร่

อดีตพนักงานรายหนึ่งบอกว่า นอกจากกฎนี้จะไม่ได้ช่วยให้สมาชิกในแต่ละทีมมีอิสระในการทำงาน ยังยุ่งยากมากกว่าจะเป็นผลด

 

ตัดปัญหา “มากคน มากความ”

แต่ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญหลายราย นี่คือเหตุผลสนับสนุนว่าทำไม Amazon.com ถึงประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

ริชาร์ด แฮ็คแมน นักจิตวิทยาด้านการจัดการมองว่า ยิ่งมีส่วนเชื่อมโยงระหว่างคนในทีมมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากเท่านั้น

ด้วยการนำเสนอสมการที่ว่า n(n-1)/2

โดยให้ n แทนจำนวนสมาชิกในทีม

พร้อมยกตัวอย่างว่าหากในทีมมีสมาชิก 6 คน จะมีความเชื่อมโยงระหว่างกันทั้งสิ้น 15 เรื่อง

แต่หากเพิ่มจำนวนสมาชิกเป็นสองเท่า หรือ 12 คน ความเชื่อมโยงที่ว่าจะดีดขึ้นไปเป็น 66 เรื่องทันที

นั่นหมายความว่ายิ่งมีคนมากเท่าไหร่ โอกาสที่การพูดคุยจะบานปลาย หาข้อสรุปไม่ได้ จะยิ่งมีสูง

 

ยิ่งคนน้อย ยิ่งโฟกัส

 

 

อีกหนึ่งตัวอย่างการทดลองที่สนับสนุนแนวคิดนี้ คืองานวิจัยของ แบรดลีย์ สแตทส์, แคทธรีน มิลค์แมน, และ เคร็ก ฟอกซ์ ที่ให้ผู้เข้าร่วมทดลองต่อบล็อก Lego

ก่อนพบว่าทีมที่สมาชิกเพียง 2 คน ใช้เวลาในการต่อเพียง 36 นาที

ส่วนทีมที่มี 4 คน ใช้เวลากับชุดประกอบแบบเดียวกันถึง 52 นาที หรือช้ากว่าถึง 44%

ส่วนในด้านจิตวิทยา ดร. เอเดรียน เฟิร์นแนม ของ University College London ก็เสริมว่าในการประชุมหรือการทำงานที่ได้ผลทุกครั้ง สมาชิกที่เข้าร่วมจะต้องเตรียมข้อมูลในมือให้พร้อม

เช่นเดียวกับกำหนดเวลาชัดเจน เพื่อดึงส่วนที่ดีที่สุดในการพูดคุยออกมา

และสิ่งเหล่านี้มันยากที่จะเกิดขึ้น หากมีจำนวนคนในที่ประชุมมากเกินไป

นั่นคือเหตุผลว่าทำไม เจฟฟ์ เบโซส ถึงเชื่อว่า ‘ยิ่งน้อย ยิ่งส่งผลดี’

 

เรียบเรียงจาก

The Science Behind Why Jeff Bezos’s Two-Pizza Team Rule Works

The ‘two pizza rule’ is a secret to productive meetings that helped Amazon CEO Jeff Bezos become one of the world’s richest men

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
189
Shares
Previous Article

อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์: Brett King

Next Article

10 เทคนิคเร่งโตให้สตาร์ทอัพกับ Bjorn Lee

Related Posts