Blue Origin: โปรเจกต์เติมฝันของ เจฟฟ์ เบโซส

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่ออี-คอมเมิร์ซ และชายผู้ร่ำรวยลำดับต้นๆของโลก

แต่ที่จริงแล้ว การเป็นมหาเศรษฐีจากธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ไม่ใช่ความฝันในวัยเด็กของ เจฟฟ์ เบโซส ผู้ก่อตั้ง Amazon.com 

เพราะการท่องอวกาศต่างหาก คือสิ่งที่อยู่ในใจเจ้าตัวมาตลอดชีวิต

ย้อนกลับไปในปี 1969 ความประทับใจแรกของ Bezos ขณะอายุ 5 ขวบ คือการได้เห็น Neil Armstrong เป็นมนุษย์คนแรกที่ลงเหยียบบนผิวดวงจันทร์ทางโทรทัศน์

‘คุณไม่ได้เป็นคนเลือกที่จะหลงใหลอะไร แต่สิ่งที่คุณหลงใหลต่างหากที่เป็นฝ่ายเลือก ผมไม่เคยหยุดคิดเรื่องอวกาศเลยตั้งแต่นั้นมา’

‘You don’t choose your passions, your passions choose you.’

 

ทัวร์อวกาศราคาประหยัด

แม้ความชอบของ Bezos จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามช่วงเวลาของชีวิต ทั้งนักโบราณคดีในช่วงประถม เลียนแบบ Indiana Jones หรือนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในตอนมัธยมปลาย มาจนถึงการเลือกเรียน computer science ขณะเรียนมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนมาทำด้านการเงินการธนาคารในช่วงเริ่มต้นทำงาน

แต่ความหลงใหลในดวงดาวและอวกาศของเจ้าตัวก็ยังไม่หายไปไหน และถูกรื้อฟื้นกลับมาอีกครั้ง เมื่อเริ่มประสบความสำเร็จในธุรกิจอี-คอมเมิร์ซกับ Amazon แล้ว

ในปี 2000 Bezos ก่อตั้ง Blue Origin ขึ้น โดยยังไม่เปิดเผยว่าจะเน้นทำธุรกิจด้านใด ก่อนจะค่อยๆเฉลยในเวลาต่อมา ว่ามีแผนพามนุษย์ออกเดินทางไปในอวกาศ (space tourism) – ในราคาที่จับต้องได้ เช่นเดียวกับ SpaceX ของ Elon Musk และ Virgin Galactic ของ Richard Branson

 

ขายหุ้น Amazon เติมฝัน

เมื่อเวลาผ่านไป Bezos พิสูจน์ว่า Blue Origin ไม่ใช่แค่งานอดิเรกเท่านั้น รายงานจาก The New York Times ระบุว่าเขาขายหุ้น Amazon เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ในแต่ละปี เพื่อนำมาเป็นเงินทุนสำหรับโครงการ

และเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้น ในการทดสอบ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา จรวด New Glenn (ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ John Glenn นักบินอวกาศอเมริกันคนแรกที่เดินทางออกนอกโลก) สามารถบินขึ้นลงในแนวตั้ง และสามารถนำเครื่องยนต์กลับมาใช้ใหม่ได้ โดยมีแผนที่จะใช้ New Glenn ส่งดาวเทียมสำหรับแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ออกสู่วงโคจร ภายในปี 2022 ด้วย

และเมื่อเดือนมีนาคม Blue Origin ก็แถลงว่าสามารถบรรลุข้อตกลงกับผู้ที่สนใจเดินทางออกไปสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ในยาน New Shepard เป็นเวลา 11 นาทีได้แล้ว

 

มองที่เป้าหมายไม่ใช่คู่แข่ง

Bezos ยอมรับว่าแนวคิดของ Blue Origin กับ SpaceX ของ Elon Musk มีความคล้ายคลึงกันในหลายเรื่อง ตั้งแต่การส่งจรวดขึ้นและลงในแนวตั้ง ไปจนถึงการใช้ซ้ำของอุปกรณ์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย

แต่เจ้าตัวก็ยืนยันว่าไม่มีการแข่งขันใดๆระหว่างสองบริษัทว่าใครจะบรรลุเป้าหมายก่อน เพราะสุดท้ายแล้ว ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุด หลังมีตัวอย่างจากกรณีของ Virgin Galactic ที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างการทดลอง จนนักบินเสียชีวิต 1 ราย เมื่อปี 2014

“ผมว่ามันไม่เหมาะ ถ้าเราจะแข่งกันเพื่อให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ เพราะเรากำลังพูดถึงอากาศยานที่มีคนนั่ง”

“แต่ผมยังเชื่อว่าเราสามารถเริ่มต้นธุรกิจส่งคนออกไปยังนอกโลกได้ ภายในปี 2018″

 

เรียบเรียงจาก

.
Beyond Space Tourism: Jeff Bezos Sees Many Uses for Blue Origin Rocket
.
Jeff Bezos Says He Is Selling $1 Billion a Year in Amazon Stock to Finance Race to Space
.
What young Jeff Bezos wanted to be when he grew up—it had nothing to do with e-commerce

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

AI เป็นภัยต่อคนจริงหรือ? มัสก์ หรือ ซัค ที่ ฉัตรวุฒิ วิริยะสุธี Cognitive scientist เห็นด้วย

Next Article
Bill Gates

แม่ผู้ผลักดัน Bill Gates

Related Posts