Kiddicraft: แม่แบบของ Lego

#Breakfast4brain

Lego คือหนึ่งในแบรนด์ ซึ่งทรงพลังที่สุดในโลก ด้วยมูลค่ากว่า 7,100 ล้านดอลลาร์ จากการประเมินโดย Forbes เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

เรารู้จักของเล่นจากเดนมาร์กรายนี้กัน ในรูปของบล็อกขนาดเล็กที่สามารถใช้สร้างสรรค์อะไรก็ได้ตามต้องการ

มีการคำนวณในเชิงคณิตศาสตร์ไว้แล้วว่า บล็อกของ Lego ขนาด 2×4 เพียง 6 ตัวนั้น สามารถประกอบในรูปแบบต่างๆได้มากถึง 915 ล้านวิธี

ทว่า บล็อกขนาดเล็กที่สร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้ไม่รู้จบนี้

กลับไม่ได้เกิดจากไอเดียของ Kirk Kristiansen ผู้ก่อตั้ง หรือแม้แต่พนักงานคนอื่นๆของ Lego

เพราะบุคคลแรกที่คิดค้นตัวบล็อกนี้ขึ้นมา คือนักธุรกิจชาวอังกฤษ Harry Fisher Page

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hilary Page ภายใต้แบรนด์สินค้า Kiddicraft

..
.
Page คือผู้พลิกโฉมอุตสาหกรรมของเล่นในสหราชอาณาจักร ด้วยการคิดค้นของเล่นคลาสสิคสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน ที่ยังได้รับความนิยมมาจนปัจจุบัน

และผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของ Page ก็คือ Self-Locking Building Bricks ที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ LEGO ในเวลาต่อมานั่นเอง

Page เริ่มต้นศึกษาพฤติกรรมการเล่นของเด็กตามสถานรับเลี้ยงต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบของเล่นที่จะเป็นประโยชน์กับเด็กๆมากที่สุด

แนวคิดการผสมผสานจิตวิทยาเด็กกับการออกแบบของเล่นของ Page อาจเป็นเรื่องปกติสำหรับยุคนี้

แต่เมื่อกว่า 70 ปีก่อน ถือเป็นวิธีคิดที่ก้าวหน้ามาก

นอกจากนี้ Page ยังบุกเบิกการนำพลาสติกมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตของเล่น เพราะสามารถควบคุมคุณภาพและความสะอาดได้ดีกว่าไม้อีกด้วย

Kiddicraft เปิดตัว Self-Locking Building Bricks หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และ Page ก็จดสิทธิบัตร ตัวบล็อกพื้นฐาน 2×4 ในปี 1947

..
.
ในยุคหลังสงครามโลก พลาสติกถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

และ Ole Kirk Christiansen นักธุรกิจชาวเดนมาร์ก ซึ่งกำลังมีแผนเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตของเล่นจากไม้ มาเป็นพลาสติกเช่นกัน

ก็มีโอกาสได้เห็นบล็อกของ Kiddicraft ระหว่างชมการสาธิตการใช้งานเครื่องฉีดพลาสติกที่กรุงลอนดอน

Christiansen เกิดไอเดียในการนำของเล่นเหล่านี้มาดัดแปลง และทำการตลาดในแบบของตน ในปี 1949

ทั้งขอบสี่ด้านที่เคยโค้งมน ก็เปลี่ยนเป็นมุมฉากทั้งสี่ด้านเพื่อง่ายต่อการประกอบ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กๆน้อยๆ เพื่อไม่ให้ตรงกับ Kiddicraft

ไม่เพียงพบสินค้าใหม่ที่มีศักยภาพ

แต่ Christiansen ยังโชคดีที่สินค้าเหล่านี้ ไม่เคยมีโอกาสผ่านตา Page เลย ก่อนเจ้าตัวจะเสียชีวิตลงในปี 1957 ทำให้ไม่เคยเกิดการฟ้องร้อง ระหว่างสองบริษัทขึ้น

..
.
ในความเป็นจริง ทั้ง Kiddicraft และ Lego ต่างก็ไม่ประสบความสำเร็จเลยในยุคแรกที่สินค้าวางตลาด

จุดเปลี่ยนสำคัญคือการที่ Lego นำระบบ “System of Play” มาทดลองใช้ในงานทอย แฟร์ ที่เนิร์นแบร์ก เมื่อปี 1955

ระบบนี้จะเปิดโอกาสให้เด็กๆได้สร้างบ้านเรือนจากบล็อกของ Lego ตามแบบที่อยู่ในกล่อง และกลายเป็นรูปแบบมาตรฐานของ Lego นับแต่นั้นมา

ขณะที่ Kiddicraft ในยุคที่ได้ Page ก็ยังประคองตัวมาได้ราวยี่สิบปีก่อนขายกิจการไปในปี 1977

ตลกร้ายคือในช่วงทศวรรษที่ 1990 Lego กลับต้องขึ้นศาลฟ้องร้อง Tyco ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ของเล่นชุดนี้

จนต้องหวนมาซื้อสิทธิ์ของ Self-Locking Building Bricks จากบริษัทที่ถือครอง Kiddicraft แทน

แต่ลิขสิทธิ์ที่ว่าก็ไม่อาจช่วยอะไรได้

Lego เป็นฝ่ายแพ้คดี ส่งผลให้อีกฝ่ายได้สิทธิ์ในการขายบล็อกสำหรับประกอบเล่นเหล่านี้ตามเดิม

..
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
.
เรียบเรียงจาก
.
Hilary Page Toys
.
Tyco vs Lego: “More or Less”
.
ติดตาม #Breakfast4Brain ได้ทุกเช้าตรู่วันจันทร์ถึงศุกร์ที่เพจ AHEAD ASIA
.
หากถูกใจอย่าลืมกดแชร์ กดไลค์ คอมเมนท์ แนะนำติชม กดติดดาว หรืออะไรที่สบายใจเพื่อให้กำลังใจทีมงาน AHEAD.ASIA หาเรื่องราวดีๆมาให้คุณรู้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

4 เทคโนโลยีปั้นสตาร์ทอัพจาก OneStockHome

Next Article

Will Weisman : เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกเราอย่างไร

Related Posts