David Roberts: ไม่มีใครหนีพ้น Disruption

ในอนาคตอันใกล้ ประเด็นเรื่องการ Disruption จะไม่มีคำถามที่ว่าใครกันบ้างที่จะถูก disrupt อีกต่อไป

เพราะ David Roberts นักเขียนและนักพูด จาก Distinguished Faculty, Singularity University ย้ำในช่วง Keynote วันที่สองของ Singularity University Global Summit ว่าเราทุกคนจะต้องเผชิญหน้ากับสภาวะดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

Disruption ไม่ใช่ Innovation

Roberts อธิบายว่าหลายคนเข้าใจผิดมาตลอดกับนิยามของ Disruption และ Innovation ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

ในทรรศนะของเขา Innovation คือการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพื่อให้สิ่งที่มีอยู่แล้วดียิ่งขึ้น (Doing the same things, better)

ขณะที่ Disruption คือการสร้างสิ่งใหม่ขึ้น และทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วหมดคุณค่าไป (Doing new things that make the old things obsolete)

 

‘สิ่งใหม่’ ที่กำลังเกิด

CREDIT: drishticone.org

 

Roberts ยกตัวอย่าง ‘สิ่งใหม่’ ที่กำลังจะทำให้สิ่งที่มีอยู่หมดคุณค่าไปขึ้นมาหลายชนิด

และหลายอย่างนั้น ก็มีส่วนในชีวิตประจำวันของเราจนหลายคนไม่ทันรู้สึกตัว โดยเฉพาะ machine learning หรือ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ทั้งหลาย

ย้อนกลับไปเมื่อสองปีก่อน Siri ผู้ช่วยส่วนตัวอัจฉริยะ ยังถูกมองว่าเป็นฟีเจอร์ที่ใช้งานจริงไม่ได้ผล

Roberts ลองทดสอบ Siri ด้วยประโยคที่ว่า I’m going to jump off a bridge (ผมจะไปกระโดดน้ำตาย)

คำตอบจาก Siri จะเป็นเพียงการค้นหาและแนะนำสะพานที่อยู่ใกล้ที่สุด แถมบางครั้งยังอาจติดชื่อสถานที่อื่นๆ ซึ่งมีคำว่า Bridge (สะพาน) รวมอยู่ด้วย

แต่ปัจจุบัน ถ้าเราพูดประโยคเดียวกัน คำตอบที่ได้จาก Siri จะเปลี่ยนไป

เราจะได้รับคำแนะนำว่าควรขอคำปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเสนอจะโทรศัพท์ติดต่อให้ด้วย

นั่นเพราะปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ ได้เรียนรู้ข้อมูลมากขึ้น และสามารถวิเคราะห์ประโยคที่เราพูดออกไปได้ดี และเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

 

ความท้าทายที่จะถูก Disrupt


CREDIT: blogs.nvidia.com

 

จากเคสของ Siri ตัวอย่างถัดมาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ ‘Watson’ ปัญญาประดิษฐ์ของ IBM ที่ปัจจุบัน ถูกใช้งานในหลายๆด้าน

อาทิ การประเมินสินไหม หรือแม้แต่การวินิจฉัยอาการป่วยเป็นมะเร็งขั้นต้นของคนไข้ในโรงพยาบาล

ตัวเลขที่น่าตกใจคือในโรงพยาบาลที่มีการใช้ Watson วินิจฉัยโรค พยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลดังกล่าว กว่า 90% พร้อมที่จะเชื่อข้อมูลดังกล่าวทันที

และเมื่อมีการเปรียบเทียบสถิติ ระหว่างการวินิจฉัยโรคด้วยแพทย์ที่เป็นมนุษย์ กับ Watson แล้ว

พบว่าอัตราความถูกต้องนั้น ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ที่ 50% ต่อ 90%

หรือแม้แต่ชาวรัสเซียรายหนึ่ง ซึ่งเพิ่งย้ายไปใช้ชีวิตในเดนมาร์กได้เพียงสัปดาห์เดียว และยังพูดภาษาเดนิชไม่ได้

กลับทำงานขับรถ Uber ที่นั่นได้แบบไม่มีปัญหา ด้วยการพึ่งพาระบบนำทาง และ AI ของรถยนต์ Tesla ที่ใช้อยู่

นั่นหมายถึงไม่ว่าคุณจะเป็นคนขับรถ หรือแพทย์ ล้วนหนีไม่พ้นการถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยี

 

กระนั้น Roberts ก็ไม่ได้สรุปว่าอาชีพที่ถูก disrupt นั้นจะหายไป

ในทางตรงกันข้าม เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตมนุษย์ง่ายดายขึ้น เหมือนคนขับ Uber รายนั้น

ขณะที่แพทย์ก็ยังจะสามารถประกอบอาชีพได้อยู่ และจะยังรับคนไข้ต่อวันได้มากขึ้น จากความช่วยเหลือของวิทยาการเหล่านี้

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

 

 

 

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Martin Cooper บิดาแห่งโทรศัพท์มือถือ

Next Article
Netflix

เมื่อ Blockbuster เมิน Netflix

Related Posts