K PLUS PLATFORM: ก้าวถัดไปของธนาคารยุคดิจิทัล

“ผมคิดว่าช่วงนี้มันเป็นช่วงแห่งความตื่นเต้น เพราะมันมีเรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้นเยอะมากเลย เห็นได้ชัดเจนเลยว่าหลายธนาคารก็เริ่มตื่นตัว”

คือประโยคขึ้นต้นจากคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ในการนัดพบและพูดคุยกับสื่อมวลชน ถึงยุทธศาสตร์ขององค์กรในยุคดิจิทัล ในหัวข้อ ‘Future Technology Trend’ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

คุณสมคิด ชี้ว่าอิทธิพลของโมบายล์ดีไวซ์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ขณะที่ธนาคารหลายๆแห่ง ก็เริ่มกระตือรือล้นที่จะปรับตัวให้เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นไปด้วย

 

มากกว่า ‘ช่องทาง’ แต่เป็น ‘แพลทฟอร์ม’

ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่น K Plus นั้น มีผู้ใช้งานมากถึง 6.5 ล้านคน (อ้างอิงจากข้อมูลของธนาคารกสิกรไทย) และทางธนาคารก็มีเป้าที่จะผลักดันยอดให้ถึง 8 ล้านคนให้ได้ภายในสิ้นปีนี้

เช่นเดียวกับการยกระดับสถานะของ K Plus จากการเป็นแค่ช่องทางในการทำธุรกรรมกับธนาคาร ไปสู่การเป็นแพลทฟอร์มในอนาคต ภายใต้คอนเซปต์ ‘Lifestyle Banking and Beyond’ เพื่อให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ cashless society ในอนาคต โดยมีระบบ PromptPay ระบบซึ่งมีความปลอดภัยสูงสำหรับ e-commerce เป็นพื้นฐาน

 

ครบวงจรด้วย K Plus Shop

นอกจาก K Plus ที่เปิดให้ใช้ในปัจจุบันแล้ว ในอนาคตอันใกล้ ทางธนาคารก็มีแผนจะเปิดตัว K Plus Shop แอพพลิเคชั่นตัวใหม่ (อยู่ระหว่างการทดสอบใน regulatory sandbox) เพื่อให้ร้านค้าทำธุรกรรมทางการเงินในระบบดิจิทัลได้สะดวกขึ้น ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ที่บริหารรายรับรายจ่ายให้กับร้านค้าได้ อาทิ

  • ระบบแจ้งเตือนการชำระเงิน (แทน SMS) ซึ่งตรวจสอบได้ทันทีว่ามาจากลูกค้าคนใด ตัดปัญหาเรื่องการต้องระบุด้วยเศษสตางค์
  • ระบบเก็บสถิติยอดขายในแต่ละวัน
  • ระบบรับพรีออร์เดอร์สินค้า
  • ระบบการคืนเงิน
    ฯลฯ

 

E-wallet ทางเลือกที่ชัวร์กว่า

ในมุมมองของคุณสมคิด ระบบของ PromptPay ที่เปิดให้เลือกใช้ตัวแทนเลขบัญชีธนาคาร อย่างใดอย่างหนึ่งจาก 3 อย่าง

หมายเลข e-wallet คือตัวเลขที่ปลอดภัยที่สุด และมีความเป็นส่วนตัวที่สุด เมื่อเทียบกับ เบอร์โทรศัพท์ หรือ เลขประจำตัวบัตรประชาชน เพราะถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการชำระเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ทางธนาคารจึงแนะนำให้ใช้ e-wallet สำหรับการทำธุรกรรมแบบดิจิทัลในระบบของ K Plus เป็นหลัก และจะยิ่งสมบูรณ์ขึ้น เมื่อทั้งสองฝ่ายใช้แอพในเครือคู่กัน (ลูกค้า ใช้ K Plus ส่วน ร้านค้า ใช้ K Plus Shop) โดยสามารถชำระเงินได้ทั้ง QR code ปกติ หรือ Nearby Payment ก็ได้

เนื่องจากทั้งสองแอพ จะเชื่อมโยงกันผ่าน API ที่พัฒนาขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทย ซึ่ง API ตัวนี้ยังจะเปิดให้หน่วยงานอื่นๆ หรือสตาร์ทอัพนำไปใช้งานได้ด้วย โดยเริ่มนำร่องไปแล้วกับบริการ mPay ของทาง AIS 

 

K Plus Lifestyle

 

เมื่อโยงทั้งหมดนี้เข้ากับการที่มีผู้ใช้บริการ K Plus มากกว่าหกล้านคน (และทางธนาคารมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ถึงหลักสิบล้านคน)

จากการที่เป็นเพียงแอพสำหรับทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร K Plus จะกลายเป็นแพลทฟอร์มที่เปิดให้ร้านค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆสามารถนำเสนอบริการของตนสู่คนหมู่มากได้ในทันที เพราะไม่ใช่มีแค่จำนวนผู้ใช้บริการ แต่ยังเอื้อให้เกิด engagement ขึ้นด้วย

และนอกจากฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมา ในอนาคต K Plus Platform ยังจะมีการเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างเช่น machine learning ที่จะเรียนรู้จากพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อแสดงผลของสินค้า/ผลิตภัณฑ์ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ฯลฯ ด้วย

 

โลกใหม่ โอกาสใหม่

ในช่วงท้ายของการพูดคุย คุณสมคิดยืนกรานว่าการปรับตัวทั้งหมดนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะธนาคารกสิกรไทยต้องการเปลี่ยนแปลงบทบาทตัวเองไปทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ในยุคที่บทบาทของธนาคารลดลงเพราะเทคโนโลยี หากแต่เทคโนโลยีใหม่ๆนั้นกำลังเปลี่ยนให้โลกเข้าสู่ยุคของการร่วมมือกัน

“เทคโนโลยีใหม่ๆเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปจากเดิมมาก แทนที่เราจะต้องออกไปข้างนอกเพื่อหาสิ่งใหม่ๆ กลายเป็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นฝ่ายที่มาหาเราแทน ซึ่งสิ่งนี้จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ผ่านรูปแบบต่างๆได้อีกมากมาย

“มันทำให้เห็นว่าโลกยุคใหม่ เป็นโลกที่เปิดให้เกิดความร่วมมือกัน เราอยู่คนเดียว ทำทุกอย่างมันเหนื่อย ถ้ามันเป็นแพลทฟอร์ม ชีวิตเราจะง่ายขึ้นเยอะ คนที่ไม่เคยมีโอกาสขายของในปริมาณเยอะๆได้ นี่จะเป็นการสร้างโอกาสให้คนเหล่านั้น”

“ถามว่าเราอยากไปทำอีคอมเมิร์ซ ไปทำมาร์เก็ตเพลสเต็มรูปแบบมั้ย เราไม่ได้อยากทำแบบนั้น เราอยากจะแมทช์สินค้าดีๆให้กับลูกค้า K Plus มากกว่า เพราะสิ่งที่เราต้องการ คือให้บริการลูกค้า K Plus ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าของเราพอใจ”

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

6 สตาร์ทอัพสุดล้ำใน Disrupt SF Startup Battlefiled

Next Article

DEPA ฉลองความสำเร็จ ‘Big Bang 2017’ คนร่วมงานกว่า2แสน นำไทยสู่ยุคดิจิทัล

Related Posts