แนวโน้มสถาบันการเงินไทยยุคดิจิทัล: รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์

ในยุคที่ทุกธุรกิจพร้อมถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ธนาคารธนชาต เชื่อว่าแม้แต่สถาบันการเงิน ก็ต้องปรับตัวใหม่ เพื่อไล่ให้ทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

บนเวที Big Bang ในงาน Digital Thailand Big Bang 2017 ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

รศ.ดร.ธนชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสาร คือหนึ่งในสปีกเกอร์บนเวที ที่มาพร้อมกับหัวข้อ ‘Digital Disruption Technology in Finance’ เพื่อนำเสนอแนวโน้มที่กำลังจะมาถึงในอุตสาหกรรมการเงิน และสิ่งที่สถาบันการเงินทั้งหลายควรปรับตัว

 

โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

รศ.ดร.ธนชาติ ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมอื่นๆที่เผชิญหน้ากับการถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องปิดตัวลง เพราะการมาถึงของสื่อออนไลน์ หรือกระทั่งยักษ์ใหญ่ในโลกค้าปลีก อย่าง TOYS R’ US ยังต้องยื่นเรื่องขอล้มละลาย เพราะทานกระแสของอี-คอมเมิร์ซไม่อยู่

เมื่อสิ่งที่เคยแน่นอนกลับไม่แน่นอน คำถามที่ตามมา คือการเงินการธนาคาร ก็กำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกันหรือไม่

ผู้อํานวยการซอฟต์แวร์พาร์ค สถาบันไอเอ็มซี เชื่อว่าปัจจุบัน สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ก็กำลังเจอการท้าทายจากฟินเทคที่นำเสนอบริการที่รวดเร็ว สะดวกกว่า

 

วันที่ธนาคารไร้ตัวตน

 

รศ.ดร.ธนชาติ ยกสถิติที่น่าสนใจมาประกอบความเห็นตรงนี้ ว่าตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา จำนวนสาขาของธนาคารทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ก็กำลังลดลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง เป็นผลจากการมาของ digital และ mobile banking

ผลสำรวจในสหรัฐ พบว่า ภายในปี 2019 คนรุ่นใหม่ราวๆ 94.2 % จะใช้ digital banking เป็นหลัก ในจำนวนนี้ 73.1% เป็นการใช้ผ่านโมบายล์ดีไวซ์

และ 27% เชื่อว่าไม่มีปัญหา หากธนาคารจะไม่มีสาขาให้บริการ ส่วน 19% เชื่อว่าอนาคต โลกจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด (cashless society) อย่างเต็มตัว

 

ไล่ให้ทันเทคโนโลยี

ในทรรศนะของ Brett King ผู้เขียนหนังสือระดับเบสต์เซลเลอร์ อย่าง Augmented: Life in the smart lane, Bank 2.0 และ Bank 3.0 เชื่อว่ามีเทคโนโลยี 3 แบบที่จะเปลี่ยนโลกใบนี้ คือ

  • AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเปลี่ยนให้การทำงานต่างๆฉลาดขึ้น
  • Embeded Experience (AR/VR/IoT) เราสามารถเข้าถึงช่องทางให้บริการธนาคารจากที่ไหนก็ได้บนโลก
  • และ Health tech ที่จะก้าวหน้าจนสามารถตัดต่อเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตได้

รศ.ดร.ธนชาติ เชื่อว่า ในจำนวนนี้ 2 ใน 3 จะนำโลกเราก้าวไปสู่ smart infrastructure

หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ จึงต้องทำความเข้าใจตามไปด้วยว่าเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และต้องนำมาใช้ เพื่อจะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้

 

ประสบการณ์ของลูกค้าที่ไม่เหมือนเดิม

สำหรับธนาคารและสถาบันการเงินแล้ว สิ่งที่ต้องทำ คือหาวิธีให้ลูกค้าสามารถใช้บริการของตนได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น สาขา มือถือ เว็บ หรืออุปกรณ์ IoT ทั้งหลาย ให้สามารถ interact ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์

ยกตัวอย่าง เมื่อรถของลูกค้าเกิดอุบัติเหตุ ระบบของ IoT ของรถยนต์ก็จะส่งข้อมูลกลับไปยังธนาคาร/บริษัทประกันเพื่อเคลมประกันในทันที แทนที่จะต้องยกหูโทรศัพท์แจ้งไปยังคอลล์เซนเตอร์ เพื่อให้ช่วยติดต่อพนักงานสินไหมอีกหนึ่งต่อ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา

 

จับมือฟินเทคสู่ Neo-banking

แต่การจะปรับเปลี่ยนบริการให้ได้อย่างรวดเร็ว ลำพังธนาคารรูปแบบเดิมอาจทำไม่ได้ทั้งหมด

ทางออกที่ดีที่สุด คือการจับมือกับฟินเทคทั้งหลายที่มองเห็น pain point ในธุรกรรมต่างๆ เพื่อตอบโจทย์นี้แทน เพราะจุดแข็งของธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน ยังอยู่ที่การมี banking license ดำเนินการจากภาครัฐ

ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายคือการเปิด API ให้คนภายนอกสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาเป็น ‘บริการเสริม’ ให้กับธนาคารได้ และจะทำให้การบริการของธนาคารในอนาคตเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อให้ประสบการณ์ในการรับบริการจากลูกค้าเป็นไปด้วยดีขึ้น

บทบาทของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม จึงจะเปลี่ยนจากผู้ให้บริการ กลายเป็น ecosystem ซึ่งมีทั้ง CRM (customer relationship management) และ KYC (know your customer) ให้ฟินเทคทั้งหลายมาเชื่อมต่อและเติบโตไปพร้อมกัน

เพราะในอนาคตอันใกล้ ฟินเทค จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในบ้านเราและแถบเอเชีย เหมือนที่ชาติใหญ่ๆอย่าง สหรัฐและจีนล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

ขณะที่ในบ้านเรา เทรนด์นี้ก็จะยิ่งเข้มข้นขึ้น และมีการแข่งขันระหว่างธนาคารที่สูงขึ้นอีกในปีหน้า

 

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

DEPA ฉลองความสำเร็จ ‘Big Bang 2017’ คนร่วมงานกว่า2แสน นำไทยสู่ยุคดิจิทัล

Next Article

B.F.R. แผนบุกดาวอังคารของ Elon Musk

Related Posts
Read More

DAB killed the Radio Star: เกิดมาเพื่อฆ่าคลื่นวิทยุ

แม้ในความเป็นจริง มิวสิควิดีโอกับคลื่นวิทยุ จะอยู่ร่วมกันมาได้นานอีกเกือบสี่ทศวรรษ แต่ในศตวรรษที่ 21 อวสานของคลื่นวิทยุ FM ที่ The Buggles เคยทำนายไว้ กำลังใกล้จะเป็นความจริงแล้ว