โลกเปลี่ยน เมื่อจีนขยับ: วันที่รถยนต์พลังไฟฟ้าเปลี่ยนขั้ว

คำกล่าวที่ว่า ‘โลกเปลี่ยน เมื่อจีนขยับ’ นั้น ยังคงใช้ได้ดีเสมอ จนถึงทุกวันนี้

ด้วยจำนวนประชากรและอำนาจในทางเศรษฐกิจ จีน มีส่วนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในหลายอุตสาหกรรมของโลกหลายต่อหลายครั้ง อาทิ เสื้อผ้า การถลุงเหล็กกล้า ฯลฯ

และปัจจุบัน ก็หันมาเน้นในด้านพลังงานทางเลือก อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมมากขึ้น

ปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV หรือ Electric Vehicles) มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลจีน ที่มีแผนลดปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลงอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเป้าหมายระยะสั้น คือภายในปี 2025 รถยนต์ 1 ใน 5 คันที่ขายในประเทศ จะต้องเป็นพลังงานทางเลือก และเป้าหมายในระยะยาว คือการปลอดรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงบนท้องถนน

 

ผู้นำอุตสาหกรรม EV โลก

 

จากวิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีใหม่ รัฐบาลจีนทุ่มทั้งเงินและกำลังคนไปกับการสนับสนุนรถยนต์พลังไฟฟ้า เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์จากทั่วโลกต้องหันกลับมาสนใจ และพยายามเร่งเครื่องไล่ให้ทัน ก่อนจะตกเป็นผู้ตามในการแข่งขันครั้งนี้

นโยบายของรัฐบาลจีน ไม่ใช่มีเป้าหมายแค่การพลิกโฉมอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ยังรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้คนในระยะยาวด้วย เนื่องจากสภาพอากาศที่ปนเปื้อนด้วยมลภาวะในปัจจุบัน (พลังงาน 3 ใน 4 ของจีนมาจากถ่านหิน ซึ่งส่งผลกระทบกับสภาพอากาศมากกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

และในปัจจุบัน จีน ก็ถือเป็นผู้ผลิตและใช้งานรถยนต์ EV มากที่สุดในโลก เฉพาะในปีนี้ มีรายงานว่ารถยนต์ EV ขายในจีนได้แล้วเกือบ 3 แสนคัน หรือสามเท่าของยอดขายในสหรัฐ และส่วนอื่นๆของโลกรวมกัน

ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ในเครือ General Motors ที่สถิติระบุว่ามียอดขายในจีน สูงกว่าในสหรัฐ หรือแม้แต่ Tesla ที่จัดเป็นแบรนด์ระดับไฮ-เอนด์ก็เช่นกัน ทั้งที่กำแพงภาษีในจีนนั้นสูงกว่าในสหรัฐ ถึง 10 เท่า จนผู้บริหารของ Tesla ยอมรับว่ากำลังพิจารณาเปิดโรงงานแห่งใหม่ในจีนในอนาคตอันใกล้

ไม่ใช่แค่ Tesla แต่แบรนด์ใหญ่อย่าง G.M. หรือ Volkswagen ก็อยู่ระหว่างเร่งพัฒนาและผลิตรถยนต์ EV เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในจีน

เฉพาะ G.M. และ Ford นั้น มีรายงานว่ามีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตของรถยนต์ EV รวมทั้งสิ้น 33 รุ่น

ขณะที่จีนก็พยายามกดดันให้ผู้ผลิตเหล่านี้ยอมแชร์เทคโนโลยีใหม่ๆของ EV ให้กับพาร์ทเนอร์ที่เป็นโรงงานในจีน พร้อมเดินหน้าติดต่อดึงตัววิศวกรชั้นนำในด้านนี้จากทั่วโลกมาทำงานให้ เพื่อต่อยอดจากการที่เป็นฐานสำหรับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV อยู่แล้ว

 

มุมมองที่เปลี่ยนไป

 

Xiong Jianghuai ทนายความจากเซี่ยงไฮ้ ที่ใช้รถ EV ของ Cherry ผู้ผลิตจากจีน ให้ทรรศนะว่า เหตุผลหลักในการเลือกซื้อ EV เพราะเชื่อว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงจะค่อยๆถูกกฎหมายบีบให้เลิกใช้โดยปริยายในอนาคต

นอกจากนี้ เสียงรบกวน และอัตราเร่งก็น้อยกว่า รวมถึงค่าบำรุงรักษาก็ถูกกว่ารถยนต์ทั่วไป ถึง 1 ใน 5 แม้ราคาของตัวรถจะสูงกว่าอยู่บ้างก็ตาม

ความพยายามของรัฐบาลจีน ก่อให้เกิดเสียงครหาจากภายนอก ว่ากำลังก้าวก่ายการดำเนินธุรกิจในประเทศ ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ผลิตในประเทศมีความได้เปรียบเหนือบริษัทต่างชาติ

แต่บุคคลในอุตสาหกรรมรถยนต์จีนกลับเห็นต่าง และคิดว่านี่คือแนวทางที่เหมาะสมแล้วในการสนับสนุนให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถลืมตาอ้าปากได้ – ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นกับที่อื่นบนโลก

ปัญหาปัจจุบันของจีน คือยังไม่สามารถโน้มน้าวผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้หันมาไว้ใจแบรนด์จีนได้ แต่เลือกที่จะซื้อรถยนต์ของ Ford, Chevrolet และ Volkswagen ซึ่งผลิตในโรงงานซึ่งเป็น การร่วมทุนระหว่างจีนกับผู้ผลิตต่างชาติ

 

ปัญหาที่ยังรอวันคลี่คลาย

 

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของจีน คือเทคโนโลยีในเรื่องแบตเตอรี่ ซึ่งปัจจุบันถูกควบคุมโดยผู้ผลิตต่างชาติ รวมถึงข้อจำกัดในเรื่องสถานีพลังงานที่ยังไม่ทั่วถึง

นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ก็ยังมีรายงานว่า Faraday Future ผู้ผลิตรถ EV ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างจีนกับสหรัฐ ก็ประสบปัญหาการเงินจนต้องลดกำลังการผลิตลง และยังมีการตรวจสอบพบการระบุยอดขายที่สูงเกินจริงของบริษัทเหล่านี้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่รัฐก็หวังว่ารถยนต์ EV ของจีน ซึ่งเน้นในเรื่องการใช้งานเป็นหลัก มากกว่าความหรูหราในแบบ Tesla จะค่อยๆตีตลาดได้สำเร็จ เพราะในจีนนั้น รถยนต์ถูกใช้ในการเดินทางระยะสั้นๆในเมืองที่มีความแออัดสูง ส่วนในการเดินทางไกลนั้น ผู้คนนิยมใช้รถไฟความเร็วสูงซึ่งรวดเร็วและสะดวกสบายกว่า

 

เรียบเรียงจาก

China Hastens the World Toward an Electric-Car Future

China’s Electric Car Push Lures Global Auto Giants, Despite Risks

 

อ่านเพิ่มเติม

เมื่อรถไฟฟ้าเลือดมังกรรุกคืบตลาด EV

รถไร้คนขับ โดรน และพลังงานสะอาด: เมื่อดูไบมุ่งหน้าสู่สมาร์ทซิตี้

สรณัญช์ ชูฉัตร: เปลี่ยนโลกด้วยพลังงานสะอาด

เมื่อ Elon Musk แตกหักกับผู้ก่อตั้ง Tesla

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

AddVentures โดย เอสซีจี เลือก “WAVEMAKER PARTNERS” หวังต่อยอดลงทุนสตาร์ทอัพ B2B

Next Article

'Corporate Innovation : Why and How' โดย Paddy Tan

Related Posts