Elon Musk

หนังสือโปรด 8 เล่มของโคตรอัจฉริยะ อีลอน มัสก์

ชั่วโมงนี้ คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธความดังของ อีลอน มัสก์ อีกแล้ว เมื่อซีอีโอของ Tesla, SpaceX และ The Boring Company คือหนึ่งในผู้ประกอบการที่โดดเด่นที่สุดของยุค

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เจ้าตัวมีพร้อม ทั้งจินตนาการกว้างไกล และความรอบรู้ ก็คือการอ่าน

จนมีเรื่องติดตลก (ซึ่งเป็นเรื่องจริง) เมื่อเจ้าตัวถูกสัมภาษณ์ถึงที่มาที่ไป ในการริเริ่มสร้างจรวดของ SpaceX และตอบกลับว่า “มาจากการอ่านหนังสือ”

 

 

หนังสือมีความสำคัญกับ มัสก์ ถึงขนาดที่เจ้าตัวให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร Rolling Stone ว่า “ถูกเลี้ยงมาด้วยหนังสือ (I was raised by books. Books, and then my parents.”

มัสก์ พูดแบบนี้ เพราะตั้งแต่เล็กจนอายุ 8 ขวบ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับพี่เลี้ยง เพราะคุณพ่อ เออร์รอล กับคุณแม่ เมย์ ต่างก็ต้องไปทำงาน

ขณะที่พี่เลี้ยงก็แทบไม่ได้ดูแลอะไรเป็นพิเศษ ยกเว้นเพียง “ห้ามไม่ให้เจ้าตัวทำลายข้าวของ” เท่านั้น

“เธอแทบไม่ได้ดูแลอะไรผมนัก ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพังโน่นพังนี่ อ่านหนังสือ สร้างจรวด และอะไรอีกสารพัดที่อันตรายถึงตาย ผมยังแปลกใจที่เหลือนิ้วครบมาจนทุกวันนี้”

ความหลงใหลในหนังสือนี่เอง ที่ทำให้ มัสก์ อ่านสารานุกรม Britannica จนจบเล่ม ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ และใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละวันไปกับนิยายวิทยาศาสตร์ที่โปรดปราน

เมื่อถูกถามว่ามีหนังสือเล่มไหนบ้างที่อยากจะแนะนำให้คนอ่าน นี่คือหนังสือ 8 เล่มที่แม้จะไม่ทำให้คุณสร้างจรวดได้เหมือน มัสก์

แต่จะช่วยให้คุณเห็นมุมมองใหม่ๆขึ้นอีกมากแน่นอน

#8

“Structures: Or Why Things Don’t Fall Down”

โดย J.E. Gordon

 

 

เมื่อ Musk อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างจรวด เขาจึงเริ่มศึกษาตำราฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และวิศวกรรมอย่างจริง แต่สำหรับคนทั่วไปที่คงไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงในเรื่องฟิสิกส์มากนัก Musk ก็แนะนำว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยอธิบายเรื่องยากๆที่อยู่เบื้องหลัง SpaceX ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

“นี่เป็นหนังสือที่ดีมากๆ ถ้าคุณอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบโครงสร้าง” Musk กล่าวไว้ระหว่างการสัมภาษณ์กับ KCRW

 

#7

“Benjamin Franklin: An American Life”

โดย Walter Isaacson

 

 

Musk มีไอดอลในใจหลายคน และหนึ่งในนั้น ก็คือ Benjamin Franklin รัฐบุรุษคนสำคัญของอเมริกา ผู้ค้นพบประจุไฟฟ้า ในชั้นบรรยากาศ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรื่องราวของเจ้าตัวที่ค้นคว้าและเขียนโดย Walter Isaacson จะเป็นหนังสือโปรดของซีอีโอแห่ง Tesla

“เขามีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการในตัว เบนจามิน มีมุมมองที่ไม่เหมือนใครตั้งแต่เด็ก และเขาก็สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง” Musk กล่าวชื่นชม Franklin ในการให้สัมภาษณ์กับ Kevin Rose.

 

#6

“Einstein: His Life and Universe”

โดย Walter Isaacson

 

 

Musk กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Foundation 20 ว่าหนังสือชีวประวัติของนักฟิสิกส์อัจฉริยะของโลกเล่มนี้ มีอิทธิพลต่อแนวคิดและมุมมองของตนอย่างมาก

โดยเฉพาะประโยคสำคัญอย่าง “สิ่งสำคัญคือการไม่หยุดตั้งคำถาม” (The important thing is not to stop questioning) และ

“ใครก็ตามที่ไม่เคยทำพลาด เพราะเขาไม่เคยพยายามทำอะไรใหม่ๆ” (Anyone who has never made a mistake has never tried anything new) ที่กลายมาเป็นแนวคิดหลักในทุกองค์กรที่ Musk บริหาร

*ฉบับแปลไทย ใช้ชื่อว่า “ไอน์สไตน์ ชีวประวัติ และ จักรวาล (ฉบับสมบูรณ์)” แปลโดย เยาวลักษณ์ ภูอภิรมย์,ธวัชชัย ดุลยสุจริต, ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ สนพ.เนชั่นบุ๊คส์

 

#5

“Superintelligence: Paths, Dangers, Strategies”

โดย Nick Bostrom

 

 

แม้จะหลงใหลในโลกอนาคต และนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ Musk ก็มักแสดงความเห็นเป็นเชิงว่าเราควรระมัดระวังสิ่งเหล่านี้ในคราวเดียวกัน เหมือนที่เจ้าตัวเคยตั้งข้อสังเกตว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาจเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติ

ประเด็นดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะย้อนกลับไปในปี 2014 เจ้าตัวก็เคยทวีตถึงหนังสือเล่มนี้ ที่เขียนโดย Nick Bostrom ว่าด้วยความเป็นไปได้ที่ปัญญาประดิษฐ์จะพัฒนาจนอยู่เหนือกว่ามนุษย์ในอนาคต

 

#4

“Merchants of Doubt”

โดย Erik M. Conway and Naomi Oreskes

 

 

หนังสือเล่มนี้ นำเสนอการแลกเปลี่ยนความเห็นกันของสองนักประวัติศาสตร์ ผู้เชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองและองค์กรต่างๆ เจตนาจะทำให้เกิดความคลุมเครือในเรื่องข้อมูลด้านสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องภัยจากการสูบบุหรี่ จุดประเด็นความอยากรู้ของ Musk จนต้องหามาอ่าน และแนะนำไว้ผ่านการทวีตในปี 2013

 

#3

“Lord of the Flies”

โดย William Golding

 

 

นวนิยายคลาสสิคที่ว่าด้วยเรื่องการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด การแข่งขัน และความโลภ เล่มนี้ สร้างความประทับใจให้กับ Musk มาก เพราะมันแสดงให้เห็นอีกมุมหนึ่งที่เจ้าตัวไม่เคยได้สัมผัสในวัยเด็ก

“ตัวละครเอกในหนังสือที่ผมอ่านมักรู้สึกถึงหน้าที่ที่จะปกป้องโลกใบนี้ แต่เล่มนี้ไม่ใช่แบบนั้น” เขากล่าวกับ the New Yorker 

*Lord of The Flies มีฉบับแปลไทย โดย ต้องตา สุธรรมรังษี ใช้ชื่อว่า ‘วัยเยาว์อันสิ้นสูญ’ พิมพ์ครั้งแรก 2552 โดย ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง

 

#2

“Zero to One: Notes on Startups, or How to Build the Future”

โดย Peter Thiel

 

ตำราของเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และสตาร์ทอัพ ที่เขียนโดยอดีตเพื่อนร่วมงานของ Musk และผู้ก่อตั้ง PayPal หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมสิ่งที่ Thiel ใช้สอนนักศึกษาที่ สแตนฟอร์ด ในช่วงปี 2012 โดยเน้นไปที่มุมมองความคิดแปลกใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ
*ฉบับแปลไทยใช้ชื่อว่า จาก 0 เป็น 1 โดย วิญญู กิ่งหรัญวัฒนา สนพ. วีเลิร์น

 

#1

The “Foundation” trilogy

โดย Isaac Asimov

 

ในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Guardian เมื่อปี 2013 Musk เล่าว่าเขาได้เรียนรู้จากนิยายของ Asimov ว่า อารยธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงตามวัฎจักร

ดังนั้น ในความคิดของเจ้าตัว การจะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้ จึงต้องเดินหน้าด้วยความทะเยอทะยานแบบสุดโต่ง (radical ambitions)

“ผมมองว่านี่เป็นครั้งแรกในรอบ 4,500 ล้านปี สำหรับมนุษยชาติที่มีโอกาสก้าวไปใช้ชีวิตนอกดาวดวงนี้ และมันคงจะดีกว่าถ้าเราลงมือในขณะที่โอกาสยังเปิดกว้าง โดยไม่ต้องสนใจว่าโอกาสจะอยู่กับเราไปอีกนานแค่ไหน”

*The Foundation Trilogy แปลเป็นภาษาไทย โดย บรรยงก์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 และตีพิมพ์หลายครั้ง ล่าสุดโดยสำนักพิมพ์โปรวิชั่น ในชื่อ สถาบันสถาปนา (Foundation) สถาบันสถาปนาและจักรวรรดิ (Foundation and Empire) และ สถาบันสถาปนาแห่งที่สอง (Second Foundation)

 

*You are what you read เป็นซีรีส์ที่เกิดขึ้น หลังทีมงานมีโอกาสได้พูดคุยกับนักคิด และคนที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และเห็นว่าต่างก็มีจุดเชื่อมเดียวกัน คือพื้นฐานจากการเป็นนักอ่านมาก่อน

พื้นที่นี้ จึงจะเป็นการรวบรวมหนังสือดีที่คนเหล่านี้เคยอ่าน และยืนยันว่าควรมีไว้ประดับสมอง ทั้งจากการค้นคว้าโดยทีมงาน หรือจากการสัมภาษณ์โดยตรง โดยจะอัพเดทตอนใหม่ทุกเย็นวันพุธ

หากมีข้อแนะนำ สามารถคอมเมนท์ได้ในเพจ AHEAD.ASIA และอย่าลืมกด like เพื่อให้คุณไม่พลาดทุกเรื่องที่ทำให้เราทุกอยู่ข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
247
Shares
Previous Article

สมรภูมิ Ride-hailing ในไทย: วันที่ Line ขอร่วมวง

Next Article

ส่องสาวข้างกาย 7 CEO ระดับโลก

Related Posts