เยอรมันแบน Smartwatch ฐานสอดแนม จีนลุยดึงข้อมูลทุกอย่างสร้าง Social Credit System

หน่วยงานเครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน (The Federal Network Agency หรือ FNA) ประกาศแบนสินค้าประเภท Smartwatch สำหรับเด็ก เนื่องจากเข้าข่ายอุปกรณ์ดักฟังที่ใช้สำหรับการจารกรรมข้อมูล

ในการสั่งแบนครั้งนี้ ทาง FNA ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับประกาศของ European Consumer Organisation (BEUC) ในช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่ระบุว่า Smartwatch อาจนำไปสู่การสะกดรอย หรือดักฟังแต่อย่างไร โดยที่นาย Jochen Homann ประธานหน่วยงานเครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน อธิบายถึงการตัดสินใจในครั้งนี้ว่า เพื่อป้องกันการทำผิดกฏหมายของประเทศเยอรมันเท่านั้น

“เพียงแค่ใช้แอพพลิเคชั่นที่เชื่อมต่อกัน ผู้ปกครองก็สามารถได้ยินทุกอย่างรอบๆตัวลูกของเขาพวกเขาได้ และวิจัยของเครือข่ายรัฐบาลกลางพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มักใช้  Smartwatch ฟังสิ่งที่คุณครูสอนในห้องเรียน ซึ่งการบันทึกหรือรับฟังการสนทนาของคนอื่นโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบหรือขออนุญาตก่อนนั้น ผิดกฎหมายของประเทศเยอรมัน”

.นอกจากการแบนแล้ว เครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน ยังรณรงค์ให้ผู้ปกครองทำลายสินค้า ประเภท Smartwatch ที่มีไว้ในครอบครองทิ้งด้วย โดยก่อนหน้านี้ เคยมีเหตการณ์ลักษณะคล้ายๆกันเมื่อหน่วยงานเครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน สั่งแบนตุ๊กตา Cayla ซึ่งมีไมโครโฟนสำหรับใช้พูดคุยกับเด็กๆ เนื่องจากถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่อุปกรณ์จารกรรมข้อมูลแบบแอบแฝง ( hidden espionage devices ) ซึ่งผิดกฎหมายของเยอรมนีเช่นกัน

 

 

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นน่าสนใจว่าในช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศเยอรมันตัดสินใจแบน Smartwatch เพราะเกี่ยวข้องกับการจารกรรมข้อมูลนั้น ในจีนกลับมีข่าวเกี่ยวกับการที่รัฐบาล เริ่มทดลอง และเตรียมเดินหน้าแผนร่วมกับบริษัทอินเตอร์เน็ตชั้นนำ 8 แห่งในประเทศ เพื่อเตรียมนำข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างของประชาชน

อาทิ เข้าชมเว็บไซต์อะไร เดินทางไปไหนบ้าง อยู่ที่ใดในเวลาไหน ใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตไปกับอะไร ใช้เงินซื้อของอะไรบ้าง มีความคิดอ่านต่อเรื่องต่างๆอย่างไร หรือแม้กระทั่งคบเพื่อนแบบไหน มาทำ Social Credit System หรือ ระบบคิดคะแนนความน่าเชื่อถือของประชาชน โดยข้อมูลทุกอย่างจะถูกรวบรวมก่อนนำไปคำนวณเป็น คะแนนประจำตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งในปัจจุบัน ระบบคะแนนนี้ ถูกเรียกว่า Sesame Credit Rating

ว่ากันว่า Sesame Credit ที่รัฐบาลจีนพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในปี 2020 นั้น ไม่เพียงแต่จะช่วยตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมของประชาชนเท่านั้น แต่ยังสามารถมีอิทธิพลให้ประชาชนทำสิ่งที่รัฐบาลต้องการได้อีกด้วย เพราะพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จะถูกให้คะแนนต่ำ ขณะที่อะไรก็ตามที่รัฐบาลชอบก็จะได้คะแนนสูงๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่าคนที่ได้คะแนน Sesame Credit ต่ำๆ อาจนำไปสู่ผลลัพธ์เช่น ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เฉพาะความเร็วที่จำกัด ถูกจำกัดการเข้าถึงร้านอาหารดีๆ และไม่มีสิทธิในการกู้ยืมเงิน หรือ ระงับสิทธิในการเที่ยวต่างประเทศอีกด้วย

สำหรับบริษัทใหญ่ทั้ง 8 รายนั้น คาดกันว่าน่าจะมี WeChat, Didi Chuxing, ANT Financial บริษัทแม่ของ AliPay ในกลุ่ม Alibaba รวมถึง Baihe แพลตฟอร์มหาคู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกด้วย

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Tesla Semi: รถพ่วงตัวแรง แซงรถสปอร์ต

Next Article

GrabCar Plus เสิร์ฟของว่างและเครื่องดื่ม อีกระดับของความสะดวกสบายบนท้องถนน

Related Posts