ผลสำรวจพบ Ride Sharing ทำสนามบินสูญรายได้

ผลสำรวจโดย National Academies Press พบว่าธุรกิจ Ridesharing เช่น Grab หรือ Uber มีส่วนทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการสายการบินในสหรัฐเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าเช่าที่จอดรถ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายได้หลักของสนามบิน

นอกเหนือจากค่าเช่าจากสายการบินต่างๆแล้ว อีกหนึ่งช่องทางที่เป็นรายได้หลักของสนามบินในสหรัฐ คือการเก็บค่าบริการที่จอดรถ การเก็บค่าเช่าพื้นที่สำหรับบริษัทให้เช่ารถ รวมถึงแท็กซี่ ฯลฯ ซึ่งตัวเลขในปี 2016 จากการเปิดเผยโดยสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 5,800 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเช่าที่ได้จากร้านค้า ร้านอาหาร รวมถึงโรงแรมภายในตัวสนามบิน

แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่หันมาใช้บริการประเภท Ridesharing มากขึ้น กำลังส่งผลกระทบโดยตรงต่อเรื่องนี้โดยตรง เนื่องจากสะดวกกว่าการขับรถมาจอดเอง เช่ารถ หรือไปยืนต่อแถวเพื่อรอขึ้นแท็กซี่ในบริเวณที่สนามบินจัดไว้ให้

 

 

Pat Kinsel หัวหน้าผู้บริหารของบริษัทอิเลคทรอนิคส์แห่งหนึ่ง ซึ่งต้องใช้บริการสายการบินเป็นประจำ ยอมรับว่าเป็นหนึ่งคนที่หันมาใช้บริการ Ridesharing แทนในการเดินทางจากบ้านที่บอสตัน ไปยัง Logan International Airport ด้วยเหตุผลเรื่องการประหยัดเวลาและความสะดวก โดยใช้แอพเรียกรถเมื่อเครื่องลง และไปที่จุดนัดพบเพื่อเข้าตัวเมือง ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาราว 15 นาทีเท่านั้น

หนึ่งในสนามบินที่คาดการณ์ตัวเลขความสูญเสียรายได้ส่วนดังกล่าวในปีนี้ออกมาแล้ว ก็คือ Fresno Yosemited International Airport ในแคลิฟอร์เนีย ที่ระบุว่ารายได้จากการเก็บค่าที่จอดรถจะหายไปอย่างน้อย 250,000 ดอลลาร์

สำหรับทางแก้ไขที่บางสนามบินเริ่มนำมาใช้ คือการเก็บค่าบริการจากบริษัท Ridesharing เหล่านี้แทน แลกกับการได้สิทธิ์ขับเข้ามาในตัวอาคารเพื่อรับผู้โดยสาร แต่ก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องกฎหมายในบางรัฐ และอีกหนึ่งทางเลือกคือการลดราคาเหมาจ่ายสำหรับที่จอดรถ หรือเพิ่มสิทธิพิเศษบางประการ อาทิ เลนพิเศษสำหรับตัดเข้าตัวอาคาร หรือการการันตีที่จอดในระยะไม่ไกลเกิน 200 ฟุตจากเทอร์มินอล ฯลฯ

ด้านสนามบินใหญ่ๆในประเทศอื่น อาทิ Heathrow หรือ Gatwick ในสหราชอาณาจักรนั้น ก็เริ่มมีมาตรการเก็บค่าใช้จ่ายจากรถยนต์ส่วนบุคคลที่ขับเข้าไปรับ-ส่งคนที่สนามบินด้วยวิธีการต่างๆแล้ว

อย่างไรก็ตาม Henry Harteveldt นักวิเคราะห์สายการท่องเที่ยวจาก Atmosphere Research เชื่อว่ารายได้ที่ลดลงจากบริการ Ridesharing ยังเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆเท่านั้น เพราะเมื่อรถยนต์ไร้คนขับได้รับอนุมัติให้เปิดให้บริการอย่างจริงจัง อาคารที่จอดรถของสนามบินจะยิ่งถูกปล่อยทิ้งร้างมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สนามบินต่างๆจะต้องเตรียมตัวรับมือ และหาทางแก้ไขต่อไป

นอกจากนี้ สนามบินยังอาจต้องเจอกับคู่แข่งที่คาดไม่ถึงอย่างโรงแรมในบริเวณใกล้เคียงที่พร้อมให้บริการที่จอดรถ โดยมีชัตเติลบัสคอยรับส่งในราคาแบบเหมาจ่าย ซึ่งเมื่อหารเฉลี่ยแล้วอาจมีราคาถูกกว่า ในกรณีที่ผู้โดยสารต้องเดินทางไปเป็นระยะเวลานานๆ

 

เรียบเรียงจาก

Airports Are Losing Money as Ride-Hailing Services Grow

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Google งัดข้อ Amazon: ถอด YouTube จาก Echo Show และ Fire

Next Article

VC พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ช่วยค้นหาสตาร์ทอัพเพื่อลงทุน

Related Posts