MIT เริ่มวิจัยพืชเรืองแสงใช้แทนหลอดไฟ

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน MIT ในสหรัฐ ค้นพบวิธีเพาะพันธุ์พืชที่สามารถเรืองแสงได้ในความมืด ‘bioluminescent plants’ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างแสงสว่างในเวลากลางคืนแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า

ในปี 2010 ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Stony Brook เคยทดลองตัดต่อพันธุกรรมพืชตระกูลยาสูบให้สามารถเรืองแสงได้เป็นผลสำเร็จ แต่ไม่สามารถสเกลอัพเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากไม่สามารถปลูกได้ในปริมาณมาก และรวมถึงความกังวลเรื่องผลกระทบจากการตัดต่อพันธุกรรม

ขณะที่ในงานวิจัยโดยทีมของ Dr. Michael Strano ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรเคมีของ MIT เลือกที่จะไม่ดัดแปลง DNA ของพืช แต่ใช้วิธีจุ่มในสารละลายที่ประกอบด้วยอนุภาคนาโนที่มีส่วนประกอบทางเคมี ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับน้ำตาลภายในเซลของพืช จนเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นเฉพาะในเวลากลางคืน และอยู่ได้ราวๆ 3 ชั่วโมงครึ่ง

กลุ่มของพืชที่ทำการทดลองในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผักสลัดน้ำ, ผักเคล, ผักโขม และผักร็อคเก็ต ซึ่ง Dr. Strano เชื่อว่ายังสามารถพัฒนาให้ใช้งานได้นานกว่านี้ ด้วยการปรับแต่งอนุภาคนาโนต่อไปจนกว่าจะสมบูรณ์ และใช้งานกับพืชประเภทอื่นๆได้ เพื่อเป็นทางเลือกของการใช้พลังงานสะอาดในอนาคต อีกทั้งเมื่อพืชหมดอายุขัยแล้ว ก็ยังสามารถนำไปผลิตเป็นปุ๋ยได้ตามปกติ

 

เรียบเรียงจาก

Glow-in-the-dark plants put green energy in a whole new light

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
1
Shares
Previous Article

นักวิจัยญี่ปุ่นค้นพบกระจกคืนสภาพได้

Next Article

อวสานค้าปลีก? 15 รีเทลเลอร์ที่ล้มละลายในปี 2017

Related Posts