นักวิจัยญี่ปุ่นค้นพบกระจกคืนสภาพได้

ทีมนักวิจัยจากญี่ปุ่นนำโดยศาสตราจารย์ Takuzo Aida แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ค้นพบสารประกอบโพลิเมอร์ ที่มีคุณสมบัติซ่อมแซมตัวเองเพื่อคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งเหมาะเป็นวัสดุสำหรับจอสมาร์ทโฟนในอนาคต

รายงานจากหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ ระบุว่า Yu Yanagisawa นักศึกษารายหนึ่งของมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นผู้ค้นพบวัสดุนี้โดยบังเอิญ ระหว่างทดลองตัดชิ้นตัวอย่างออกจากกัน และนำมาประกบกันโดยอาศัยเพียงแค่แรงกดจากมือที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส (ดูคลิปการทดลองนี้ได้จากเว็บไซต์ของ Asahi Shimbun)

ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Aida ตั้งชื่อสารประกอบนี้ ว่า “polyether-thioureas” มีลักษณะภายนอกคล้ายแผ่นกระจก แต่สามารถคืนสภาพได้ด้วยแรงบีบจากมือ ซึ่งเป็นคุณสมบัติต่างจากวัสดุคล้ายกระจกอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า 120 องศาเซลเซียส ในการซ่อมแซม

ก่อนหน้านี้ Innerexile เคยผลิตฟิล์มป้องกันหน้าจอสมาร์ทโฟนที่สามารถคืนรูปด้วยตัวเองได้ เมื่อปี 2015 ขณะที่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Motorola ก็เพิ่งจดสิทธิบัตรจอสมาร์ทโฟนที่คืนสภาพได้ แต่เป็นวัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างจากจอทั่วไป รวมถึงยังมีปัญหาเรื่องความแข็งแรงหลังการฟื้นตัว

 

เรียบเรียงจาก

A new polymer could make phone screen repairs a thing of the past

Repairable glass developed by team in Japan needs no glue

 

สำหรับสตาร์ทอัพ และใครที่ต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

8 โฆษณาสุดฮิปส่งท้ายปี 2017

Next Article

MIT เริ่มวิจัยพืชเรืองแสงใช้แทนหลอดไฟ

Related Posts