ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา ทีมงาน AHEAD.ASIA มีโอกาสได้ไปร่วมงาน Creative Talk Conference 2018 ที่จัดขึ้นโดยบริษัท RGB72
ตลอดทั้งวัน มีสปีกเกอร์กว่า 40 คน จากกว่า 20 เซสชั่น ร่วมนำเสนอไอเดีย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ ทั้ง Creative, Digital Marketing, Technology และ Startup/Entrepreneur ชนิดเต็มอิ่ม
สำหรับผู้อ่าน AHEAD.ASIA ที่พลาดงานนี้ไป ไม่ต้องเสียดาย นี่คือบทสรุปฉบับรวบรัด ที่เราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณบ้าง ไม่มากก็น้อย
ใส่ใจ UX ให้มากขึ้น
ประเดิมด้วยเรื่องที่หลายคนเคยมองข้าม อย่าง User Interface และ User Experience ที่ได้ คุณกรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล นักออกแบบ UX มาก
ทั้งคู่เห็นตรงกันว่าจากนี้ไป แบรนด์ต่างๆจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ UX มากขึ้น หลายครั้งที่ดีไซเนอร์หรือผู้บริหารต้องการให้งานออกมาตื่นตาตื่นใจ (wow) แต่ความหวือหวานั้นไม่ยั่งยืน ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหา (solution) ให้กับผู้บริโภคได้จริง และหากพยายามยัดเยียดจนเกินไป ก็จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคอึดอัดมากขึ้นเท่านั้น
และการจะทำแบบนั้นได้ แบรนด์ต้องรับฟังเสียงจากผู้บริโภค (Feedback) มากกว่าฟังเสียงจากผู้บริหารองค์กร
เงินดิจิทัล = ฟองสบู่?
ส่วนเทรนด์เทคโนโลยี “ที่กำลังมา” ในปี 2018 ในความเห็นของ คุณปริวรรต วงษ์สำราญ จาก Startup Thailand. คุณอิสรียะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ จาก Blognone และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ จาก Techsauce Thailand
ทั้งสามคนลงความเห็นคล้ายๆกัน คือ IoT จะค่อยๆพัฒนาจาก Internet of Things ไปเป็น Intelligence of Things มากขึ้น คือไม่ใช่แค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของปัญญาประดิษฐ์มาเกี่ยวข้อง ทำให้อุปกรณ์ต่างๆนั้น ฉลาดขึ้น และรองรับการใช้งานของเราได้มากขึ้น
ส่วนเรื่องที่ต้องระวัง คงไม่พ้นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เริ่มเป็นข่าวบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆสำหรับ malware และ ransomeware ต่างๆ รวมถึงช่องว่างของระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ต่างๆ ทั้งในสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป
และที่ขาดไม่ได้คือประเด็นสำคัญอย่าง สกุลเงินดิจิทัล หรือ cryptocurrency ที่แรงเหลือเกินในปี 2017 ก่อนจะฟุบลงแบบกะทันหันเมื่อเข้าสู่ปี 2018 และคำเตือนจากคุณมาร์ค Blognone ก็คือ “ระวังฟองสบู่”
Digital Marketing ในวันที่ต้องปรับตัว
Digital Marketing เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Facebook ปรับ reach บนหน้า News Feed จนกระทบไปทั้งวงการ โดยได้ คุณตูน – สุธีรพันธ์ สักรวัตร EVP Head of Marketing จาก SCB Thailand และ คุณบอย – อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ Co-founder และ CTO จาก Pantip.com มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น
มุมมองที่คุณตูนนำเสนอคือการที่แบรนด์ต่างๆ (รวมถึง SCB ด้วย) ต้องพยายามสร้างคอมมูนิตี้ของตัวเอง เพื่อรักษาลูกค้าประจำของแบรนด์เอาไว้ และใช้กลยุทธ์ต่างๆ เช่นอาจให้สิทธิพิเศษกับคนในคอมมูนิตี้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆก่อน เพื่อนำไปสู่การบอกกล่าวแบบปากต่อปาก ซึ่งในแง่หนึ่งก็ตรงกับความต้องการของ Facebook ที่ให้ความสำคัญกับ Group และโพสต์ที่มีการแชร์ระหว่างยูสเซอร์มากขึ้นนั่นเอง
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญเช่นกัน คือการกระจายความเสี่ยง หรือที่พูดกันว่า “อย่าวางไข่ในตะกร้าใบเดียว” นั่นเอง
ในเรื่องนี้ คุณบอย ยกตัวอย่าง Pantip ที่ปัจจุบันอาจมี Traffic จาก Facebook ลดลง แต่ Traffic จากทาง Search Engine ยังคงเป็นปกติ พร้อมเสริมไอเดียของคุณตูนว่า แบรนด์จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่เป็น Owned media ของตัวเอง เพราะเมื่อมีคอนเทนท์ในมือแล้ว ก็สามารถที่จะนำไปเผยแพร่ในช่องทางหรือแพลทฟอร์มอื่นๆได้
Micro Influencers พลังเงียบเบื้องหลังแบรนด์
ในเรื่อง Digital Marketing และการสร้างแบรนด์ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ก็คือ Micro Influencers ทั้งหลาย ที่จะเป็นเทรนด์ใหม่สำหรับปี 2018 โดยคุณสุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้ง Tellscore
ในมุมมองของคุณปู บทบาทของ Micro Influencers จะเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในลักษณะที่แตกต่างจาก Macro Influencers ซึ่งเป็นคนดังระดับประเทศ
บทบาทของ Macro Influencers คือการสร้างการรับรู้ (reach) ถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ขณะที่ Micro Influencers จะเป็นตัวแปรในการโน้มน้าวว่าผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าตัวนั้น เพราะในการรีวิว กลุ่ม Micro จะพูดความจริงและสื่อได้ดีกว่า ซึ่งแม้จะไม่ได้รีวิวในเชิงบวก 100% แต่อาจจะเป็นผลบวกต่อภาพของแบรนด์ยิ่งกว่าการพูดถึงแต่แง่ดี
ความรู้หรือใบปริญญาสำคัญกว่าในการหางาน?
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อย เมื่อมีการตั้งคำถามว่า วุฒิการศึกษาจำเป็นต่อการทำงานสาย tech หรือไม่? จนทางผู้จัดต้องเปิดโอกาสให้คนในวงการมาดีเบทกัน ซึ่งฝ่ายสนับสนุน นำโดย ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ จาก iTax ก็นำเสนอทั้งในมุมผู้ประกอบการ ว่าการจ้างคนที่มีวุฒิการศึกษา “ช่วยลดความเสี่ยงในการ
ส่วนคุณเลอทัด ศุภดิลก จาก SellSuki ก็เสริมว่าบางครั้งสิ่งที่คุณคิดว่าไม่รู้จะเรียนไปเพื่ออะไร อาจมีประโยชน์ในภายหลังได้ เหมื
ด้านฝ่ายค้านโดย ทีปกร ศิริวรรณ (Computer Systems Integration) โต้แย้งว่าปัญหาหลักๆคือวัฒนธรรมการศึกษาของไทย ที่มักยัดเยียดวิชาบังคับวิชาพื้นฐานที่ไม่เกี่ยวข้องลงไปในหลักสูตร ทำให้กว่าจะได้เรียนรู้ว
ปิดท้ายด้วย อ.เดฟ รวิทัต ภู่หลำ (Code App) ที่ตั้งคำถามชวนคิดกับคนในห้อง ว่าสุดท้ายแล้ว “วุฒิการศึกษาสำคัญจริงๆสำห
อีสปอร์ต โอกาสใหม่ทางธุรกิจ?
นอกจากเรื่องที่หลายๆคนคุ้นเคยกันดีแล้ว ก็ยังมีมุมมองที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากธุรกิจที่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงมาก่อนอย่าง อีสปอร์ต โดยคุณกีรคิต ทรัพย์วิสุทธิ์ นักลงทุนจาก Mega Esport และคุณอุบล ดารา นักกีฬาอีสปอร์ต
ความน่าสนใจคือแม้จะยังเป็นตลาดเล็ก ที่มีมูล
ขณะที่ตัวนักกีฬา ก็มีลักษณะเป็น influencer ที่แบรนด์สามารถนำไปต่อยอดไ
ตลกร้ายกับจารย์อาร์ท
ในช่วง Startup Comedy นั้น ความพิเศษคือ คุณอาร์ต ไกรวิน วัฒนะรัตน์ CEO และผู้ก่อตั้ง AHEAD.ASIA ก็มีเรื่องตลกร้ายมาเล่าให้คุณๆได้ฟัง
จากอดีตอาจารย์สาขา Cyber Business วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว ที่ยอมทิ้งอาชีพที่ดูเหมือนมั่นคง มาเริ่มต้นธุรกิจสื่อด้านนวัตกรรมเมื่อเกือบปีที่แล้วโดยลำพัง เล่าว่าบนเส้นทาง Entrepreneur มือใหม่นั้นมีเรื่องตลกร้ายมากมาย
เช่นสิ่งที่สอนกันในระบบการศึกษาปัจจุบันนั้น อาจจะไม่ตอบโจทย์โลกยุคอนาคตที่ทุกคนต้องคิดว่าตัวเองเป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะมีบริษัทของตัวเองหรือใหม่
เพราะในโลกธุรกิจและชีวิตจริงไม่มีตัวเลือกแค่สี่ข้อ และคำตอบที่ถูกที่สุดแค่ข้อเดียว ไม่มีการให้ทำข้อสอบลำพังพอจบมาต้องมาทำเทรนนิ่งให้ทำงานเป็นทีม
และที่สำคัญไม่ได้สอนให้คนกลัวความผิดพลาด แต่สอนให้กล้าที่จะผิดพลาด แต่ต้องไม่ผิดเรื่องเดิมๆซ้ำๆ เพราะทางหนึ่งที่จะทำอะไรให้ถูกต้องนั้น คือการทำผิดพลาดให้บ่อยที่สุดและเรียนรู้จากมัน เป็นการเดี่ยวไมโครโฟนของเด็กเนิร์ด ที่ตลกร้ายและได้สาระ
คริปโตในมุมเศรษฐศาสตร์
ด้วยความที่เป็นประเด็นร้อนแรงของจริง งาน CTC 2018 จึงต้องด้วย session ที่ถกกันถึงสกุลเงินดิจิทัลโดยตรง แต่พลิกมาเป็นมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ และ miner โดยคุณรัน นิรันดร์ ประวิทย์ธนา จาก AVA Advisory
คุณรัน เล่าย้อนถึงประวัติิศาสตร์
คุณรันมองว่าเหตุผลหนึ่งที่
ส่วนข้อกล่าวหาเรื่อง ฟองสบู่ นั้น คุณรัน ไม่ปฏิเสธว่าตลาด cryptocurrency ตอนนี้คือฟองสบู่
“แต่” แง่ดีของฟองสบู่ที่กำลังจะเ
และนักลงทุนที่มีความโลภแ
และความน่าสนใจอีกเรื่อง เมื่อเทคโนโลยีบล็อกเชนและ cryptocurrency พัฒนาไปถึงระดับหนึ่ง คือบรรดาพ่อค้าคนกลางทั้งหลาย (รวมถึงธนาคาร) จะเป็นกลุ่มที่เสียผลประโยช
“แต่” ถ้าทั่วโลก หันมาใช้เงินเพียงสกุลเดียว
คุณรันให้ทรรศนะว่าปีนี้โอก
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรม และธุรกิจ และต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน