“ฟัลคอน เฮฟวี” (Falcon Heavy) เป็นจรวดสำหรับนำยานอวกาศที่มีน้ำหนักเกินปกติ (Super heavy-lift launch vehicle) ขึ้นสู่อวกาศ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ออกแบบและผลิตโดย “สเปซเอ็กซ์” (Space X)
“ฟัลคอน เฮฟวี” (เดิมเรียกว่า ฟัลคอน 9 เฮฟวี) เป็นรุ่นปรับแต่งมาจากยานฟัลคอน 9 ที่มีส่วนประกอบของโครงสร้างหลักจากจรวดฟัลคอน 9 ซึ่งถูกเพิ่มความแข็งแรง โดยมีจรวดส่วนแรกของฟัลคอน 9 จำนวน 2 ลำ รัดติดเพื่อใช้เป็นบูสเตอร์ (Strap-on boosters)
เจ้าสิ่งนี้จะทำให้ช่วยเพิ่มน้ำหนักบรรทุกในวงโคจรต่ำของโลก เป็น 63,800 กิโลกรัม และใช้จรวดขับดันอีก 1 ลำ สำหรับเล็งเป้าหมาย
จากการทดสอบ บริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ประสบความสำเร็จในการทดลองส่งจรวดฟอลคอนเฮฟวี (Falcon Heavy) ขึ้นสู่วงโคจรนอกโลกแล้ว โดยสเปซเอ็กซ์ระบุว่าจรวดรุ่นนี้เป็นจรวดขนส่งอวกาศที่ทรงพลังที่สุดของโลก และมีต้นทุนต่ำ ทั้งยังสามารถบรรทุกน้ำหนักได้สูงสุดถึง 64 ตัน ซึ่งเท่ากับรถบัสโดยสารสองชั้นของกรุงลอนดอน 5 คันรวมกัน
จรวดฟอลคอนเฮฟวีได้ทะยานขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ และเข้าสู่วงโคจรระดับต่ำของโลกที่ราว 2,000 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน เพื่อปล่อยยานบรรทุกรถยนต์เทสลาสีแดงพร้อมหุ่นคนขับเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งจะนำพาให้รถยนต์คันดังกล่าวที่เปิดเพลง Space Oddity คลอไปด้วยตลอดทาง ไปถึงจุดหมายที่ดาวอังคารได้ในที่สุด
นายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสเปซเอ็กซ์บอกว่า การทดสอบจรวดฟอลคอนเฮฟวีครั้งแรกนี้มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเกิดความผิดพลาดล้มเหลว แต่กระบวนการปล่อยจรวดในขั้นต้นก็ผ่านไปได้ด้วยดี เหลือเพียงขั้นตอนที่จะต้องจุดระเบิดเครื่องยนต์ของยานส่วนหัวจรวดในอวกาศอีกครั้ง
นายมัสก์บอกว่าในขั้นต้นผ่านไปด้วยดี แต่มีความเสี่ยงว่า ขณะที่ยานบรรทุกรถยนต์เทสลาผ่านแถบรังสีแวนอัลเลน (Van Allen Belts ) ซึ่งห่อหุ้มโลกอยู่ รังสีที่มีความรุนแรงดังกล่าวอาจทำอันตรายต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ของยานได้
อย่างไรก็ตาม จรวดขับดัน 2 ใน 3 ตัวของฟอลคอนเฮฟวี (66.67%) ซึ่งก็คือจรวดฟอลคอน-9 ของสเปซเอ็กซ์ ได้กลับลงสู่พื้นโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจรวดขับดัน 2 ตัวถูกบังคับให้ลงจอดที่ฐานใกล้ศูนย์อวกาศเคนเนดีได้อย่างปลอดภัยไร้ความเสียหาย แต่จรวดขับดันอีกตัวที่เล็งเป้า (33.3%) ลงจอดนอกชายฝั่งบนโดรนซึ่งเป็นเรือบังคับระยะไกลนั้นพลาดเป้าหมายและตกลงในทะเล เสียหายยับเยิน
? จรวดฟอลคอนเฮฟวีเป็นการนำจรวดฟอลคอน-9 ที่มีอยู่แล้ว 3 ตัวมาเชื่อมต่อให้ทำงานร่วมกัน จึงทำให้มีประสิทธิภาพและทรงพลังยิ่งกว่าจรวด Delta IV Heavy แต่มีต้นทุนในการใช้งานต่ำกว่าอย่างมาก เพราะสามารถนำส่วนของจรวดขับดันกลับมาใช้ได้ใหม่ แทนการใช้แล้วทิ้งในทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการธุรกิจจรวดขนส่งอวกาศครั้งยิ่งใหญ่
เขาคาดว่าจรวดอย่างฟอลคอนเฮฟวีที่บรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านอวกาศหลายแขนงในอนาคต
เช่น การนำส่งดาวเทียมการทหารที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ การนำส่งฝูงดาวเทียมเพื่อการสื่อสารนับพันลำขึ้นสู่วงโคจรพร้อมกัน จรวดฟอลคอนเฮฟวียังอาจช่วยนำส่งอุปกรณ์สำรวจอวกาศสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน และมีแนวโน้มของขนาดใหญ่ขึ้น เช่นหุ่นยนต์สำรวจพื้นผิวดาว และกล้องโทรทรรศน์อวกาศได้อีกด้วย