ในแวดวงธนาคารยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา ต่างทยอยประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนต่างธนาคารต่างพื้นที่ถึงปลายปีนี้ จนเป็น Talk of the Town พูดกันทั้งเมือง
ล่าสุด นางสาวเทียนทิพย์ นาราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี หรือธนาคารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยรายแรกที่อนุญาตให้โอนเงินต่างธนาคารโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
ซึ่งทางผู้บริหารได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ของพวกเขาด้วยการมองตัวเองเป็นมากกว่าแค่ธนาคาร เพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ลูกค้า แต่ว่าลูกค้าของธนาคารต้อง “ได้มากกว่า” ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะ เจ้าของธุรกิจ SME ที่ TMB มองว่าจะเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในอนาคต
“คิดต่าง ทำต่าง จากความต้องการที่แท้จริง”
ในขณะที่กระแสปิดสาขา และธนาคารออนไลน์ที่กำลังมาแรงจนหลายครั้ง นำไปสู่การถกเถียงของสังคมในวงกว้างนั้น TMB กลับเลือกที่จะต่างไป โดยอัพเกรดสาขา และเพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น ซึ่งการคิดต่างทำต่างในครั้งนี้
ผู้บริหารของ TMB ยืนยึนว่าพวกเขาไม่ได้สักแต่ว่าแตกต่าง หากเป็นการตกผลึกมาจากความต้องการของ เจ้าของธุรกิจ SME ที่ TMB สำรวจพบว่า สำรวจพบว่า 87 เปอร์เซ็นต์นั้น ยังมีความจำเป็นที่ต้องไปใช้บริการสาขาของธนาคารอยู่
นั่นทำให้การลดจำนวนสาขาลง อาจเป็นการสร้างความลำบากให้ลูกค้า จึงทำให้พวกเขาเลือกที่จะเพิ่มประสบการณ์ในการไปสาขาของลูกค้าให้คุ้มค่าขึ้น ด้วยการปรับสาขาให้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ทางการเงิน ที่ผสานโลกออนไลน์ และออฟไลน์ให้เหมาะสมกับลูกค้า จนกลายเป็นที่มาของแคมเปญ Get More with TMB
“3 อย่าง ที่ TMB SME ให้มากกว่า”
ผู้บริหารของ TMB เชื่อว่าธุรกิจ SME นั้นจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจ จึงมองว่าผู้ประกอบการ SME ควรได้ผลประโยชน์ที่มากกว่า ใน 3 เรื่องในแก่
1.More Benefits
สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า ผ่านทาง TMB BIZ WOW ที่เปลี่ยนธุรกรรมทางการเงินเป็นแต้ม เพื่อนำไปใช้แลกสิทธิประโยชน์ที่มีผลต่อ SME เช่นความรู้ คอร์สเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การตลาดออนไลน์ การออกแบบรรจุภัณฑ์ หรือว่าพื้นที่สื่อกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ของ TMB หรือจะเปลี่ยนแต้มจากการทำธุรกรรมเป็นรางวัลสำหรับผู้ประกอบการเองในแง่การเดินทางหรือพักผ่อนก็ได้
2.More Time
คล่องตัวและมีเวลามากขึ้น ด้วยโซลูชั่น TMB SME One Bank ที่ช่วยประหยัดเวลาและไม่มีค่าธรรมเนียม ใช้คู่กับ TMB BIZ TOUCH โมบายล์แอปพลิเคชันแรกที่ออกแบบมาเพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา รับ โอน จ่าย ใช้วงเงิน OD อายัดเช็ค และโอนเงินไปต่างประเทศ ได้บนมือถือ
รวมทั้ง Online Loan Request ครั้งแรกที่เอสเอ็มอีสามารถคำนวณวงเงิน ให้เหมาะกับความต้องการของธุรกิจ เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เร็วและง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
3.More Possibilities
ต่อยอดธุรกิจ SME ด้วยคำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน ด้วย TMB BIZ Advisory บริการให้คำปรึกษาด้านการเงินจากผู้เชี่ยวชาญของทีเอ็มบี ด้วยระบบ VDO Conference ในห้องรับรองส่วนตัว ที่สาขาของ TMB
ยังมีโครงการ LEAN Supply Chain by TMB เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารเกาหลี Kimju ที่ผู้เชี่ยวชาญของ LEAN Supply Chain by TMB เข้าไปช่วยให้คำปรึกษาแล้วพบว่า อุณหภูมิของตู้แช่เนื้อนั้นต่ำไป ทำให้การสไลด์เนื้อนั้นมีเนื้อส่วนที่เสียไปมากกว่าควรจะเป็น พอมีการปรับอุณหภูมิในห้องแช่ให้ลดลงจนเหมาะสมทำให้ ส่วนที่เสียไปลดน้อยลง และลูกค้าก็ได้ทานเนื้อ หมู หรือไก่ สไลด์ที่อร่อยขึ้น ส่งผลดีกับธุรกิจอย่างชัดเจน
AHEAD TAKEAWAY
ทีมงาน AHEAD.ASIA มองว่าการที่ผู้บริหารของ TMB ออกมาคอนเฟิร์มว่ามุมมองของพวกเขาคือ ในวันพรุ่งนี้ธนาคารควรเป็นพาร์ทเนอร์ที่ช่วยผู้ประกอบการณ์สร้างธุรกิจให้เติบโต มากกว่าเป็นแค่ผู้ให้บริการทางการเงิน เนื่องจากทราบดีว่าปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ Banking ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการ Disrupt ต่อจาก Telecomunication หรือ สื่อสารโทรคมนาคม ที่โดนกระแส Digital Transformation ถาโถมเข้าใส่มาก่อนแล้ว
โดยในธุรกิจการเงินและธนาคารนั้น การ Disrupt มาจากทั้งทาง Finch Startup ซึ่งจากการวิจัยของ EY ผ่านทาง EY-Fintech Report พบว่า อัตราของผู้เปิดรับนวัตกรรม หรือ Adoption Rate เพิ่มจาก 16 เปอร์เซ็นต์ในปี 2015 เป็น 33 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017 ซึ่งคิดเป็นการเติบโตกว่า 1 เท่าในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
และหากแบ่งดูเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่าง บราซิล จีน อินเดีย แม็กซิโก และ อเมริกาใต้ นั้น Adoption Rate ยิ่งสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งในอนาคตประเทศไทยเองก็คงไม่ต่างจากกลุ่มประเทศเหล่านี้เท่าไหร่ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่ต่างกันมากนัก
นอกจาก Fintech แล้ว ยังมีคู่แข่งรายใหม่จากธุรกิจอื่นๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อเจ้าดังของประเทศไทย ที่ต้องการมีส่วนกับธุรกิจนี้ หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง Amazon ก็มีข่าวว่าพร้อมที่จะเข้ามาลุยอุตสาหกรรมนี้ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2018 ที่เล่นเอาสั่นสะทือนไปทั่วโลก
นั่นทำให้การคิดต่างของ TMB ทั้งไปทำความเข้าใจลูกค้า เติมผู้บริหารที่มาจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่เคยอยู่สายงานธนาคารมาก่อน จนนำมาสู่ความสนใจเรื่องการมอบประสบการณ์ที่ดีและเป็นมากกว่าแค่คนกลาง ( Middle Man ) ที่พวกเขาใช้เวลาศึกษาและเตรียมการมากว่า 1 ปีนั้น ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจ
การเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง และการรักษาสัมพันธ์กับลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ผ่านทางช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ธนาคารเติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมๆกับเจ้าของธุรกิจ SME ซึ่งสุดท้ายแล้ว เวลาเท่านั้นจะเป็นผู้ให้คำตอบ
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วสนใจลองใช้บริการ Get More with TMB เข้าไป ดูรายละเอียดคลิก!!
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมและธุรกิจ และต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน