Zuckerman

ใต้เตียงซิลิคอนวัลลีย์ : Zuckerman ฮีโร่พันธุ์ใหม่

Zuckerman เมื่อฮีโร่พันธุ์ใหม่ สำหรับคนเจเนอเรชั่นใหม่ถือกำเนิดขึ้น จากวิกฤต เพราะ Mark Zuckerberg พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าสามารถตอบคำถามจากเหล่าสมาชิกสภาคองเกรสได้น่าฟัง และน่าเชื่อถือกว่าฝ่ายที่ตั้งคำถาม…

 

FB ใหญ่และผูกขาดไปไหม?

จากกรณี Facebook ตกเป็นเป้าโจมตีมารัวๆ ตั้งแต่เกิดเหตุ Cambridge Analytica ปล่อยข้อมูลรั่วไหล กว่า 87 ล้านคน จนมีผลกับการชนะเลือกตั้งของ ประธานาธิบดี Donald Trump

จนนำไปสู่การตั้งคำถามของสังคมว่า Facebook ใหญ่และผูกขาดเกินไปไหม??

แพลตฟอร์มของพี่ Mark แก มีอิทธิพลกับพฤติกรรมของคนมากไปไหม มีการเก็บและนำข้อมูลของผู้ใช้ไปทำมาหากินอย่างเกินพอดี!?!

ส่งผลให้พี่ Mark ต้องให้การต่อสภาคองเกรส ของสหรัฐ  เพื่อชี้แจงข้อซักถามต่างๆ

ซึ่งตอนแรกดูเหมือนว่าจะเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ ของโซเชียลมีเดียเบอร์หนึ่งของโลกรายนี้

ในการซักถามนั้น พี่ Mark ก็ยอมรับข้อผิดพลาดกรณีข้อมูลรั่วไหลของ Cambridge Analytica

และมีหลายประเด็นที่ควรค่ามาขบคิดต่อ

เช่น Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่ผูกขาด ชนิดเข้าข่าย Monopoly หรือไม่

การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเลือก ข้อมูลที่โซเชียลรายนี้เอาไปใช้ได้นั้น ตั้งใจบอกให้คนใช้รู้จริงๆ

หรือเป็นการบอกเร็วๆแค่พอเป็นพิธี เหมือนห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด และโปรดสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง

เพราะหลายข้อก็หลบหลืบซะ หรือการกำหนดว่า ใครไม่เข้าไปตั้งค่า ถือว่าอนุญาตอัตโนมัติ โดยเฉพาะในกรณีตำแหน่งผู้ใช้งาน เป็นเรื่องที่ควรหยิบมาทบทวนแก้ไขหรือปล่าว

ขณะที่วุฒิสมาชิกคนนึงตั้งประเด็นได้น่าสนใจว่า การที่ Facebook ให้ตัวเลือกแค่ Take it or Leave it หรือ แปลบ้านๆว่า ใช้ก็เอาข้อมูลมา ไม่ใช้ก็ลบแอพไป

อาจเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเกินเกิ๊นน ควรมีทางเลือกที่มากกว่าไหม

 

นักการเมืองรู้จริงหรือแค่อยากดัง?

แต่ที่กลายเป็นประเด็น ให้เม้ากันสนั่นบนไลฟ์สดนั้น

คือนักการเมืองที่เข้ามามีส่วนร่วม ในการซักถามครั้งนี้หลายคน แทนที่จะทำให้ผู้ก่อตั้ง Facebook อยู่ในที่นั่งลำบาก ( จริงๆ ก็แอบนั่งลำบาก เพราะมาร์ค ต้องใช้หมอนรองก้น ดูรูปในคอมเมนท์ )

กลับแสดงให้เห็นว่านักการเมืองประเภทไดโนเสาร์  ไม่เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีในปัจจุบันเอาซะเลย

หลายคนก็เหมือนว่า… ไม่ได้ต้องการคำตอบเท่าไหร่

เพียงขอแค่ให้ได้ถาม!!… เพื่อให้ออกการถ่ายทอดทีวีเท่านั้น

เพราะสมัยที่ยังไม่มีโซเชียลมีเดีย การออกทีวีของนักการเมืองนั้น สำคัญมากๆ

ขณะที่คอมเมนท์มากมาย ที่ดูการ Live สด ก็ตั้งคำถามว่า….จริงๆแล้ว ….นักการเมืองเหล่านี้

เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้งานจริงๆ

หรือเป็นห่วงความปลอดภัยในอำนาจของพวกเขากันแน่

 

เมื่อ Zuckerberg กลายเป็น Zuckerman

คอมเมนท์บางส่วนมองว่า…

นักการเมืองบางคน เอาเรื่องอื่นมาปน จนกลายเป็นพี่ Mark ต้องมาเป็นแพะ

ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเท่าไหร่ แต่ที่เล่นเอาไวรัลไประดับหนึ่งในโซเชียล

คือตอนที่ Congress Woman ชื่อ “Yvette Clarke” เรียกซีอีโอหนุ่ม Mark Zuckerberg วัย 33 ปีว่า “Mark Zuckerman”

ซะงั้น….

 

ความตลกร้ายของเรื่องนี้คือ ข้อมูลที่ Facebook มี และใช้งานมันนั้น เป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การกังวล

แต่บางทีการได้เห็นการถ่ายถอดการไต่สวน Live ผ่าน Facebook อาจทำให้คนทั่วไปเห็นว่านักการเมืองรุ่นเก่านั้น ตกยุคตกสมัยแค่ไหน

และจะไปมีความสามารถในการกำหนดนโยบายอะไร ในวันที่เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ อาจเป็นเรื่องน่ากังวลมากกว่า

ใครจะไปรู้ว่า บางทีการมีวิกฤติครั้งนี้ อาจไม่เพียงแต่นำไปสู่การปรับโฉมความปลอดภัยของ Facebook ให้ดีขึ้น

แต่อาจช่วยกระตุ้นให้คนอเมริกัน  ตื่นตัวและพยามปรับนักการเมือง และผู้บริหารประเทศ ให้ดี และ ทันสมัยขึ้นเช่นกัน

 

ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง….Mark Zuckerberg ที่อยู่ในนาม Zuckerman อาจทำในสิ่งที่ Superman ยังไม่เคยทำได้ นับเป็นฮีโร่พันธุ์ใหม่ ที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูนอีกต่อไป

 

#ติดตามเราทาง YouTube ได้แล้ตอนนี้ เสนอตอน

AHEAD Knowledge Sharing EP1: 6 ประเด็นหลังจากมารฺคเข้าพบวุฒิสมาชิก

 

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
Elliot Schrage

Elliot Schrage รองปธ.ฝ่ายสื่อสาร ลา Facebook

Next Article
introvert

5 เทคนิคการขาย สำหรับเซลส์สาย introvert

Related Posts