Grab

Grab ต่อยอดแพลตฟอร์มครบวงจร ตั้งเป้ารายได้แตะ3หมื่นล้านก่อนสิ้นปี

Grab เตรียมขยายสู่การเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการแบบครบวงจร นอกเหนือจาก ride-hailing service ที่เป็นธุรกิจหลัก โดยจะเริ่มให้บริการในสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ภายในสัปดาห์นี้ พร้อมตั้งเป้าทำรายได้แตะหลัก 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3 หมื่นล้านบาท ก่อนสิ้นปีนี้

ปัจจุบัน Grab ซึ่งได้รับการประเมินว่ามีมูลค่าราว 6,000 ล้านดอลลาร์ (1.8 แสนล้านบาท) เป็นผู้เล่นหลักของธุรกิจเรียกรถในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังเข้าเทกโอเวอร์กิจการ Uber Technologies Inc. เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

เป้าหมายต่อไปของ Anthony Tan ผู้ก่อตั้งและ CEO คือการต่อยอดธุรกิจไปสู่การให้บริการอื่นๆ ในลักษณะที่เรียกว่า “everyday super-app” เพื่อแข่งขันกับ Go-Jek คู่แข่งรายใหม่จากอินโดนีเซีย ที่มีแผนขยายการให้บริการใน 4 ประเทศแถบอาเซียนในปีนี้เช่นกัน

ตามแนวทางนี้ Tan อธิบายว่าบริษัทจะไม่ดำเนินการเองในทุกเรื่อง แต่จะใช้กลยุทธ์แบบเดียวกับ Tencent โดยการร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่น เพื่อขยายรูปแบบการให้บริการรูปแบบอื่น นอกจากการเรียกรถ อาทิ การชำระเงินออนไลน์ หรือการจัดส่งสินค้า

โดยพาร์ทเนอร์กลุ่มแรกๆ ที่ตอบตกลงร่วมมือกัน ได้แก่ร้านค้าออนไลน์ HappyFresh ซึ่งจะเป็นการให้บริการดีลิเวอรี่สินค้าอุปโภคบริโภค

และบริการด้านข่าวสารจาก Yahoo! ซึ่งจะมีให้บริการเฉพาะใน สิงคโปร์, มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์

“เราจะไม่พยายามเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับทุกคน สิ่งที่เราจะโฟกัส ก็คือการให้บริการรายวัน และพัฒนาโครงสร้างการชำระเงิน การโดยสาร และการขนส่ง”

บริการใหม่ที่เพิ่มมานี้ จะเริ่มต้นจากสิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นอันดับแรก โดยแอพเวอร์ชั่นใหม่จะเปิดให้ดาวน์โหลดทาง iOS ตั้งแต่วันนี้ (10 ก.ค.) และแอนดรอยด์ ในวันที่ 18 ก.ค. ก่อนขยายไปสู่ประเทศอื่นๆในไตรมาสที่สาม

 

AHEAD FACTS

  • Grab เพิ่งฉลองการให้บริการครบ 2 พันล้านเที่ยว เมื่อ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา (เวลา 10:19.44 น. GMT+8) ถือว่าใช้เวลาไม่ถึง 9 เดือนในให้บริการครบ 1 พันล้านเที่ยวรอบที่สอง ขณะที่ 1 พันล้านเที่ยวรอบแรกนั้น ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี 4 เดือนนับแต่ก่อตั้งบริษัท
  • ปัจจุบัน บริษัทเปิดให้บริการใน 225 เมือง จากทั้งหมด 8 ประเทศ มีผู้ค้า ตัวแทน และผู้ขับรวมแล้วเกินกว่า 7 ล้านคน ขณะที่ตัวแอพถูกดาวน์โหลดลงสมาร์ทโฟนรวมกว่า 100 ล้านครั้ง

 

AHEAD TAKEAWAY

 

Infographic เปรียบเทียบ Grab และ Go-Jek

 

เร็วๆนี้ Nadiem Makarim CEO ของ Go-Jek กล่าวถึงความล้มเหลวของ Uber ในตลาดอาเซียน จนต้องถอนตัวไป ว่าเป็นเพราะการเน้นเฉพาะธุรกิจ ride-hailing เพียงอย่างเดียวนั้น “ไม่ยั่งยืน”

“การจะเน้นเฉพาะบริการ ride hailing อย่างเดียว มันเป็นเรื่องยากมากๆที่จะบรรลุเป้าหมายได้ ในมุมมองของผม หากคุณต้องการทำธุรกิจที่ยั่งยืน เราต้องเริ่มจากการเป็นแพลตฟอร์ม ต้องให้บริการได้หลากหลาย และแต่ละรูปแบบต้องส่งเสริมกันและกัน ทั้งในเรื่องอุปสงค์ และอุปทาน

และเมื่อคุณมีหลายธุรกิจเฉพาะในแพลตฟอร์มของคุณ โอกาสจะทำเงินก็มากขึ้นไปด้วย โดยไม่ต้องไปโฟกัสว่ารายได้จะมาจากไหน อาจเป็น ride hailing เป็น Go Car เป็น Go Food ฯลฯ

เพราะประเด็นหลักคือเมื่อลูกค้าเข้ามาในแพลตฟอร์มแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือเสนอแต่ละผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้ชีวิตเขาง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงเป็นพอ”

การวางตัวเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการหลากหลาย ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ Go-Jek นั้นสามารถรับมือ Grab ที่ดูเหมือนจะพร้อมกว่าทุกๆด้านได้ เมื่อครั้งที่ฝ่ายหลังพยายามรุกเข้าไปเจาะในตลาดอินโดนีเซีย

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg มองว่าการปรับมาใช้กลยุทธ์นี้เช่นกัน ก็คือการแก้ลำ Go-Jek ที่เตรียมขยับออกจากอินโดนีเซีย มาเปิดตลาดใน 4 ประเทศนอกบ้านนั่นเอง

ขณะเดียวกัน ก็อาจตีความได้ว่านี่เป็นการหลีกเลี่ยงกฏหมายผูกขาดการค้าไปในตัว หลังถูกเพ่งเล็งโดยภาครัฐของสิงคโปร์และมาเลเซียตลอด นับแต่ Uber ประกาศถอนตัวจากอาเซียนไป เพราะการขยายตัวเป็นแพลตฟอร์ม จะทำให้รูปแบบการให้บริการของ Grab ไม่ถูกตีความว่าเป็น ride-hailing service อีกต่อไปนั่นเอง

 

ในกรณีระหว่าง Grab และ Uber ผู้ที่อยู่เบื้องหลังอภิมหาดีลที่ได้ควบรวม นั่นคือ Masayoshi Son นักธุรกิจจอมปิดดีลชาวญี่ปุ่น ลองชมคลิป THE REAL BOSS OF RIDE-HAILING INDUSTRY

อ่านเพิ่มเติม

Uber ลาอาเซียนแล้ว

บทวิเคราะห์ “Uber ไปแล้วนะ ออเจ้า”

หลากมุมมอง กรณี Uber โดนเทกโอเวอร์

ตามรอย ยูนิคอร์น ทั้ง 8 แห่งอาเซียน

 

เรียบเรียงจาก

Anthony Tan Wants to Build a Tencent-Like Super-App to Rival Go-Jek

 

สำหรับเพื่อนๆที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรม และธุรกิจ และต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
Camera Search

Amazon จับมือ Snapchat เพิ่ม Camera Search ช่องทางช้อปผ่านแอพสำหรับวัยรุ่น

Next Article
รถไร้คนขับ

Uber โละทีมทดสอบรถไร้คนขับกว่าร้อยคน หวังกู้ชื่อจากอุบัติเหตุ

Related Posts