เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า

ประธาน Microsoft เร่งรัฐออกกฏคุมเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า

Bradford L Smith ประธาน Microsoft เชื่อความล่าช้าในการผลักดันกฏหมายควบคุม เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า (Facial Recognition) ในสหรัฐ ไม่เป็นผลดี เมื่อมีแนวโน้มสูงที่ระบบนี้ จะถูกนำไปใช้ในเชิงล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ปัจจุบัน เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบรรดาองค์กรชั้นนำของสหรัฐ ทั้ง Apple, Google, Amazon หรือ Facebook ที่ทุ่มงบประมาณในการพัฒนาระบบนี้อย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่เรื่องเล็กๆอย่าง การปลดล็อคโทรศัพท์ การเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่เดินเข้าออกร้านค้า ไปจนถึงการสแกนหาผู้ก่อการร้ายในสนามกีฬา และตรวจสอบผู้ที่เดินทางเข้าสหรัฐ ทั้งทางชายแดน หรือในสนามบิน โดยที่ผู้ถูกตรวจสอบด้วยเทคโนโลยีนี้ ไม่มีโอกาสเลือกว่ายินยอมหรือไม่

ในมุมมองของ Smith นั้น ตราบใดที่รัฐบาลสหรัฐไม่พยายามผลักดันร่างกฏหมายเพื่อควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจัง เมื่อเทียบกับสหภาพยุโรป ซึ่งบรรจุเรื่องนี้ไว้ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR)

แต่ละองค์กรที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ก็จะต้องควบคุมดูแลกันเอง ภายใต้ขอบเขตจริยธรรมของตัวเอง ซึ่งเป็นการยากที่จะตีความถึงขอบเขตการใช้งานได้

“เราอยู่ในประเทศที่มีกฏหมายบังคับใช้ และรัฐก็จำต้องมีบทบาทสำคัญในการควบคุมดูแลเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า” Smith เขียนเตือนรัฐบาลสหรัฐในบล็อกของ Microsoft

ที่ผ่านมา พนักงานของ Microsoft ได้รวมตัวเพื่อเรียกร้องให้บริษัทเลิกติดต่อหรือให้ความร่วมมือใดๆกับ กองตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร (Immigration and Customs Enforcement: ICE) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐที่นำ Facial Recognition มาใช้ด้วย

ภายหลังมีการบังคับใช้กฏหมายการเข้าเมืองผิดกฎหมาย และเนรเทศคนต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารรับรอง อย่างเข้มงวด จนเด็กจำนวนมากถูกพลัดพรากจากครอบครัว แต่ Satya Nadella CEO ของบริษัทได้ปฏิเสธถึงความเกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตจาก Will Oremus นักเขียนอาวุโสของ Slate สื่อด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ว่าการแสดงความเห็นในลักษณะนี้ของ Smith ส่วนหนึ่ง อาจมาจากความล้าหลังของ Microsoft ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่รายอื่นๆในซิลิคอน วัลลีย์ด้วย

 

AHEAD FACTS

  • จุดด้อยของระบบ Facial Recognition (FRT) ที่มีการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง คือความสามารถในแยกแยะคนที่มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน โดยงานวิจัยในปี 2012 พบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในการตรวจสอบคนกลุ่มนี้ 5-10% เมื่อเทียบกับคนผิวขาว (คอเคซอยด์)
  • Bkav บริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยในเวียดนาม อ้างว่า ระบบ FRT ใน iPhone X สามารถถูกหลอกได้ ด้วยหน้ากากที่สร้างจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แต่ Apple ยืนกรานปฏิเสธเรื่องนี้
  • ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศว่าได้พัฒนาซอฟต์แวร์ FRT ที่สามารถระบุรสนิยมทางเพศของผู้เข้ารับการสแกนได้ พร้อมระบุว่ามีความถูกต้องในการระบุเพศชายที่อยู่ในกลุ่ม homosexual ถึง 81% และหญิง 71%
  • ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม็คควารีในออสเตรเลีย ประสบความสำเร็จในการพัฒนา FRT ที่สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นได้ว่าผู้เข้ารับการสแกนมีสุขภาพเป็นอย่างไร
  • จีน เป็นหนึ่งในชาติผู้นำด้านเทคโนโลยี FRT โดยปัจจุบัน มีการติดตั้ง CCTV ที่เชื่อมโยงกับระบบดังกล่าวทั่วประเทศ มากถึง 140 ล้านตัว (ข้อมูลในเดือนธันวาคม 2017) และมีแผนติดตั้งเพิ่มอีก 400 ล้านตัว ภายใน 3 ปีนับจากนี้
  • ในปี 2015 มีการยื่นเรื่องต่อศาลในรัฐอิลลินอยส์ เพื่อฟ้องร้อง Facebook กรณีเก็บข้อมูลเชิงชีววิทยาของผู้ใช้งาน ผ่านระบบ FRT โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถูกสแกน ซึ่งขัดต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจาก หนึ่งในโมเดลธุรกิจของ Facebook นั้น เป็นการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ประเมินพฤติกรรม และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่อการโฆษณา

 

เรียบเรียงจาก

Facial recognition technology: The need for public regulation and corporate responsibility

 

อ่านเพิ่มเติม

ตำรวจฟลอริดา เริ่มใช้ ระบบตรวจจับใบหน้า จาก Amazon แล้ว

10 มาตรการไฮเทค (และโหด) ของจีน เพื่อ ‘Social Credit System’

โปลิศ 4.0 : หมดยุควิ่งไล่จับโจร

 

สำหรับเพื่อนๆที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรม และธุรกิจ และต้องการพัฒนาตัวเองเพื่ออยู่ข้างหน้าเสมอ สามารถกด like เพจ AHEAD.ASIA เพื่อติดตามเรื่องราวที่มีประโยชน์ และข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
Snapask

โซเชียลแห่แชร์ ดัน Snapask ขึ้นแท่นแอปการศึกษา อันดับ 1 ชั่วข้ามคืน

Next Article
หุ่นยนต์แมลงสาบ

Rolls-Royce ซุ่มพัฒนาหุ่นยนต์แมลงสาบซ่อมเครื่องบิน

Related Posts