ปลูกผักเอง

ชาวนาไหวไหม? คนเมืองรุ่นใหม่ปลูกผักเอง

แม้จะมีรายงานว่าในยุคปัจจุบันจะมีการเพาะปลูกพืชมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ แต่ปรากฎว่าความอดอยากต่างเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน รวมทั้งยังมีปัญหาการใช้ยาฆ่าแมลงรวมถึงสารเคมีที่ทำลายดินและแหล่งน้ำ ซึ่งทำให้กลายเป็นปัญหาระยะยาวในการเพาะปลูกอีกด้วย นั่นนำมาสู่ทางเลือกที่ต่างไป เมื่อหลายคนเลือกที่จะ ปลูกผักเอง ในรูปแบบต่างๆ

หนึ่งในนั้นคือการปลูกพืชแนวตั้ง ( Vertical Farming ) ในเขตเมือง ( Urban Farmimg ) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว วันนี้ AHEAD.ASIA จะพาคุณไปทำความรู้จัก และดูว่ามันส่งผลกระทบกับใครบ้าง

 

ปลูกผักเอง ในฟาร์มยุคใหม่

ฟาร์มในเมือง ( Urban Farmimg )

แปลตรงตัว คือแหล่งเพาะปลูกที่อยู่ในเขตเมือง จะเป็นแนวตั้งหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สวนชุมชนของกรุงเทพมหานคร หรือ บางคนที่เปลี่ยนดาดฟ้าตึกแถวมาเป็นสวนนั่นเอง ข้อดีคือไม่ต้องขนส่งที่สร้างก๊าซเรือนกระจก และทราบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่มีประโยชน์ในแง่ความคุ้มค่าเท่าไหร่นัก เพราะพื้นที่ในเมืองแพงเอามาปลูกผักไม่คุ้ม ยกเว้นกรณีสตาร์ทอัพเจ้าหนึ่งในบังกลาเทศ ที่ไปรวบรวมพื้นที่ดาดฟ้าว่างๆ มาเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกพืชในเมืองทำให้ลดค่าส่งไปนั่นเอง

ฟาร์มแนวตั้ง ( Vertical Farming )

คือการเพาะปลูกพืชในแนวตั้งที่แก้ปัญหาเรื่องพื้นที่กาะเพาะปลูกที่จำกัด ทำให้ผลผลิตต่อตารางเมตรนั้นสูงขึ้น และสิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยกว่า เช่นน้ำที่ให้อาจไหลลงมาจากชั้นบนลงมาชั้นล่างมากขึ้น

ฟาร์มในร่ม ( Indoor Farming )

คือฟาร์มที่สามารถกำหนดแสง ให้เหมือนกับการเพาะปลูกกลางแจ้ง แต่สามารถป้องการแมลงต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งหากควบคุมได้ การปลูกพืชในร่มยังสามารถอนุญาตให้ สามารถปลูกพืชที่ต้องการได้ในทุกสภาวะอากาศ เช่น ประเทศอิสราเอล ที่เป็นสภาวะทะเลทรายสามารถปลูกข้าวเหมือนกับประเทศไทยในร่มได้

ฟาร์มอัตโนมัติ ( Automation Farming )

คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมปัจจัยทุกอย่างให้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อุณหภูมิ แสงแดด แร่ธาตุในดิน ฯลฯ ปัจจุบันนี้เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้โดย Caleb Harper จากมีเดียแล็บของ MIT โดยจะเริ่มจากการหาบริเวณที่มีความใกล้เคียงกับพื้นที่ต้นแบบ จากนั้นจึงพยายามควบคุมปัจจัยด้านอื่นๆให้มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด

 

ตัวอย่างการใช้งานจริง

ฟังดูเหมือนอยู่ในนิยายวิทยาศาตร์ แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ช่วยให้เราสามารถปลูกมะเขือเทศที่ให้รสชาติแบบเดียวกับมะเขือเทศจากทัสคานีในอิตาลีได้

หรือ Ferrero SpA ผู้ผลิตเนยถั่ว Nutella ที่ต้องการปลูกเฮเซลนัทแห่งใหม่แทนแหล่งเดิมคือตุรกี ที่ปัจจุบันราคาผลผลิตสูงขึ้นจนกระทบต่อต้นทุนการผลิตนั่นเอง

อีกหนึ่งบริษัทที่มีหลักการคล้ายๆกันคือ Migaki-Ichigo สตรอว์เบอร์รี่ราคาแพงจากญี่ปุ่น ที่ควบคุมปัจจัยทุกอย่างในเรือนกระจก เพื่อให้ผลผลิตมีรสชาติคงที่ ควบคุมปริมาณในการผลิตได้

และปัจจุบันยังมีการนำเทคโนโลยีการปลูกในเรือนกระจกนี้ไปทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รี่แบรนด์นี้ ในที่อื่นๆของโลกอย่าง อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย และ อียิปต์ ด้วย

 

AHEAD TAKEAWAY

แม้จะมีเทคโนโลยีก้าวหน้า แต่จากรายงานหลายฉบับก็ยังเชื่อว่า การปลูกพืชผักในเมืองเท่านั้นก็ยังไม่พอกับความต้องการซะทีเดียว แต่ก็จะมีส่วนอย่างยิ่งในการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรับกับเทรนด์ใหม่ของผู้บริโภคที่ต้องการทราบว่าอาหารที่เขารับประทานนั้น มาจากที่ไหนบ้าง

นอกจากนี้วิธีการเพาะปลูกแบบใหม่ อาจมีข้อดีในแง่ลดการเผาผลาญทรัพยากรมหาศาล ทั้งน้ำและแร่ธาตุต่างๆมากมาย ยังไม่นับปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการ

ซึ่งฟู้ดเทค ที่มาพร้อมกับแนวทางการเพิ่มปริมาณอาหารด้วยวิธีใหม่ๆ รวมถึงการเก็บรักษาให้ได้นานยิ่งขึ้น จึงน่าจะเป็นทางออกสำคัญสำหรับผู้คนในอนาคต มากกว่าการเป็นแค่ niche market สำหรับคนเฉพาะกลุ่มเหมือนที่ผ่านมา

แต่กระนั้นข้อที่น่าห่วง ที่กองบรรณาธิการ AHEAD.ASIA มักจะถกกันเป็นประจำ คือผู้ที่เข้าถึงการเกษตรแบบใหม่ และกุมความได้เปรียบ น่าจะเป็นบริษัทใหญ่ๆที่มีทรัพยากร มีเทคโนโลยีเรื่อง Big Data ที่สามารถทำนาย หรือทราบได้ว่า การให้น้ำ อุณหภูมิ แสงแดด และแร่ธาตุต่างๆ ปริมาณไหนที่จะทำให้เกิดผลผลิตที่มีประสิทธิภาพที่สุด เหมือนดั่งที่เคยมีข่าวว่าซีพีพร้อมเป็นเจ้าภาพลงทุนในการปลูกข้าวสมัยใหม่แทนชาวนานั่นเอง

ขณะเดียวกัน ก็น่าคิดต่อเช่นกันว่า หากว่าประเทศอื่นๆ สามารถมีเทคโนโลยีเหล่านี้ และสามารถปลูกพืชที่เคยขึ้นเฉพาะสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เช่น ข้าว และ ผลไม้ต่างๆนั้น จะเกิดอะไรขึ้นกับชาวนาและชาวสวนที่เคยได้ชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

 

แล้วคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ล่ะเห็นอย่างไร หรือมีอะไรที่เรายังไม่ได้ครอบครุม คอมเมนท์บอกกันได้

อ่านเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟู้ดเทคต่อ คลิกที่ภาพเลย

ฟู้ดเทค

เรียบเรียงจาก

Why urban farming is changing the future of agriculture?

With More Food Than Ever, Why Is Hunger On The Rise?

Urban agriculture growth in US cities

อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันซะทีเดียว แต่การ ปลูกผักเอง แบบนี้ ทำให้เรารู้สึกว่าเส้นบางๆที่เคยแบ่งระหว่างอาชีพต่างๆกำลังจะหายไป เช่นเดียวกับการศึกษาที่อาจไม่ถูกจำกัดไว้ตามสถาบันต่างๆอีกต่อไปแล้ว

AHEAD.ASIA คือสำนักข่าวเจาะลึกด้านนวัตกรรม และธุรกิจ
อย่าลืมกดติดตามเพจและคอมมูนิตี้ของเรา สำหรับเรื่องล้ำๆ และข่าวสารกิจกรรมต่างๆ
เพื่อเราจะได้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article

Microsoft ร่วมทุน Grab ใช้ AI, Machine learning เสริมบริการ

Next Article
สัตยา นาเดลลา

แก้ทุกปัญหาด้วยการสื่อสารให้ตรงจุด สไตล์ สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ Microsoft

Related Posts