IoT

อินเดียเดินหน้าเพิ่มเสาโทรคมนาคม รองรับสมาร์ทโฟน 2 พันล้านเครื่อง เชื่อมต่อ IoT

สมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย (Assocham) เผยภาครัฐกำลังเร่งติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่มเติม เพื่อให้สมาร์ทโฟนในประเทศ จำนวนกว่า 2 พันล้านเครื่อง สามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ได้ภายในปี 2022 ซึ่งจะปลดล็อครายได้ถึงระดับ 11,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 366,300 ล้านบาท)

อินเดีย ถือเป็นตลาดใหญ่ และนับเป็นหนึ่งในชาติที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีลำดับต้นๆของโลก กระนั้น ในภาพรวมหลายๆด้าน ก็ยังขาดความพร้อมที่จะไปต่อ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อผ่านระบบใยแก้วนำแสง โดยพบว่าเสาโทรคมนาคมที่นั่น ซึ่งใช้ระบบนี้มีเพียง 25% เมื่อเทียบกับ 65-80% ใน สหรัฐอเมริกา, จีน และเกาหลีใต้

การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ผกผันโดยตรงกับปริมาณการใช้ข้อมูล ทำให้จำเป็นต้องติดตั้งเสาโทรคมนาคมใยแก้วนำแสงเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของเครือข่าย 4G ในปัจจุบัน และ 5G ในอนาคต โดยมีเป้าหมายให้ถึงระดับ 60% รวมถึงอาคารโทรคมนาคม 100,000 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ภายในปี 2022 ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนอินเดียสู่เศรษฐกิจดิจิทัลล้านล้านดอลลาร์

พี. บาลาจี ประธานสภาโทรคมนาคมและคอนเวอร์เจนซ์อินเดีย กล่าวว่า “ในขณะที่รายงานแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ IoT ในการเชื่อมต่อ 2 พันล้านครั้ง และตัวเลขรายรับ 11,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 มันก็ยังมีข้อเสนอให้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต, ภาษี และภาษีภาคครัวเรือน เพื่อส่งเสริมการลงทุนและฟื้นฟูทางการเงิน”

“ถ้าเราหาสมดุลในจุดร่วมของเรื่องเหล่านี้ รวมถึงกรอบการกำกับดูแล, แรงจูงใจของรัฐบาล และความร่วมมือในอุตสาหกรรมอินเดีย ทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนเราไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2022 ได้”

 

AHEAD TAKEAWAY

อินเดีย จัดเป็นหนึ่งในชาติที่มีศักยภาพเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูงเป็นลำดับต้นๆของโลก

นับตั้งแต่ภาครัฐผลักดันใช้นโยบาย Make in India เป็นยุทธศาสตร์ชาติเมื่อสี่ปีก่อน ก็สามารถดึงดูดผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ชั้นนำของโลก เข้าไปลงทุนที่นั่นได้หลายราย ทั้ง Samsung, Intel, Foxconn และ Huawei

แต่นอกจากภาคการผลิตแล้ว รัฐก็จำเป็นต้องยกระดับส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อไม่ให้ประเทศกลายเป็นเพียงที่ตั้งแห่งใหม่ของโรงงานจากต่างชาติเท่านั้น

การพัฒนาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้น เช่นเดียวกับการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

และความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการเข้าถึงบรอดแบนด์ความเร็วสูง ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการนำไฟเบอร์สู่ภาคครัวเรือน (fibre-to-the-home – FTTH) ในประเทศ

คาดว่า FTTH จะสามารถเชื่อมต่อบรอดแบนด์ส่วนใหญ่ได้ภายในปี 2022 เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายครอบคลุมครัวเรือน 50% ของรัฐบาล

ตามรายงานล่าสุดโดย Bernstein ชี้ว่าการเติบโตของข้อมูลทั่วโลก ส่วนใหญ่จะมาจากการรับส่งข้อมูล WiFi ผ่านการเชื่อมต่อแบบตายตัว แต่ในเอเชียเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเครือข่ายคุณภาพต่ำในอินเดียและอินโดนีเซีย ส่งผลให้มีการเติบโตของข้อมูลในเครือข่ายเซลลูล่าร์มากกว่า

“สถานี Fiber-to-the-base กำลังเปลี่ยนจาก ‘มีไว้ก็ดี’ สู่เรื่องจำเป็น เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ในระดับสูง และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานหรือเคลื่อนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่เช่นจีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา” รายงานระบุ

 

เรียบเรียงจาก
IoT can reach 2 bn phone connections and unlock revenues of $11.1 bn: Study

 

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
SEAC

Your Next U by SEAC : Learning Ecosystem แห่งใหม่ สร้างคนไทยระดับโลก

Next Article
Alexa

Alexa ของ Amazon ครองแชมป์แอพถูกดาวน์โหลดมากสุดในเทศกาลคริสต์มาส

Related Posts