Starbucks

Starbucks จัดงบ 3 พันล้าน ปั้นสตาร์ทอัพสายรีเทล/ฟู้ดเทค

Starbucks เชนร้านกาแฟยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ จับมือ Valor Equity Partners ตั้งกองทุนใหม่ในชื่อ Valor Siren Ventures Fund เพื่อปั้นสตาร์ทอัพสาย รีเทลเทค และฟู้ดเทค โดยเฉพาะ ด้วยวงเงินก้อนแรก 100 ล้านดอลลาร์ (3,200 ล้านบาท)

เควิน จอห์นสัน ซีอีโอของบริษัทฯ ระบุในแถลงการณ์ว่ากองทุนนี้จัดตั้งขึ้น เพื่อต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคโนโลยี ที่จะยกระดับธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีแผนเพิ่มวงเงินสนับสนุนอีก 300 ล้านดอลลาร์ (ราว 9,500 ล้านบาท) ในอนาคตด้วย ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม น่าจะมีการเปิดเผยในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทในเร็วๆนี้

แม้จะยังไม่มีการระบุรายละเอียดมากนัก แต่ Starbucks ก็นับเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มรายล่าสุดของสหรัฐฯ ที่หันมาลงทุนในสตาร์ทอัพ

ก่อนนี้ Tyson Foods ผู้เล่นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมค้าสัตว์ปีก ก็ก่อตั้งกองทุน Tyson Ventures เพื่อลงทุนกับเทคโนโลยีสกัดโปรตีนจากพืชโดยเฉพาะ ตั้งแต่ปี 2016 ส่วน Kraft Heinz และ PepsiCo Inc ก็มีกองทุน VC ในลักษณะนี้เช่นกัน

 

AHEAD TAKEAWAY

ค่ายนางเงือก ผู้นำตัวจริงด้านนวัตกรรม

แม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีก/อาหาร แต่กาแฟค่ายนางเงือกก็โดดเด่นในเรื่องการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของตน ทั้งแนวคิดการรับชำระค่าสินค้าด้วยเงินดิจิทัล การจับมือกับสตาร์ทอัพดังอย่าง Uber เพื่อให้บริการส่งเครื่องดื่ม ผ่าน UberEats และเป็นพาร์ทเนอร์กับ Alibaba สำหรับบริการดีลิเวอรี่ในจีน ฯลฯ

Starbucks จับมือ Alibaba ยกระดับดีลิเวอรี่ – ขยาย 2,000 สาขาในจีน

ค่ายกาแฟรายนี้ ยังเป็นผู้บุกเบิกการชำระเงินแบบโมบายล์เพย์เมนต์ ตั้งแต่ปี 2011 และเป็นผู้นำตัวจริงในด้านนี้ เหนือกว่าระบบชำระเงินอื่นๆ อย่าง Apple Pay, Google Pay หรือ Samsung Pay ด้วย

เห็นได้จากยอดผู้ใช้งานในสหรัฐฯ 23.4 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว หรือมีอัตราเติบโตขึ้นราว 10% จากปี 2017 และยังมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆด้วย ทั้งในสหรัฐฯเอง หรือกับที่อื่นๆบนโลก

ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์เชิงบวกของผู้บริโภค ทั้งความสะดวกในการจ่าย ความง่ายในการจัดการโอนย้ายตัวเงินในระบบ และการตรวจสอบคะแนนรีวอร์ด

 

องค์กรใหญ่ยกระดับธุรกิจด้วย CVC 

แม้หลายคนจะมองว่ากระแสของวงการสตาร์ทอัพในหลายๆแห่งของโลกเริ่มแผ่วลง แต่องค์กรใหญ่ๆก็ยังพร้อมที่จะตั้ง Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อลงทุนและมองหานวัตกรรมใหม่ๆมายกระดับสินค้า/การให้บริการของตัวเองอยู่

เหมือนที่ Air Asia เพิ่งเปิดตัว RedBeat Ventures ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคม รวมถึงกรณีของ Starbucks ด้วย

ส่วนในไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่าองค์กรใหญ่ๆเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กันมากขึ้น ด้วย CVC ที่จะช่วยสนับสนุนทั้งไอเดียของพนักงานในองค์กร หรือสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีเชื่อมโยงกัน

ไล่ตั้งแต่ InVent (AIS) Digital Ventures (ธนาคารไทยพาณิชย์) AddVentures (SCG) SiriVentures (แสนสิริ) หรือ Singha Ventures (บุญรอด) ฯลฯ

AddVentures โดย เอสซีจี เลือก “WAVEMAKER PARTNERS” หวังต่อยอดลงทุนสตาร์ทอัพ B2B

เพราะองค์กรเหล่านี้รู้ว่าเทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่ๆที่ฉีกไปจากวัฒนธรรมองค์กร จะเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการแข่งขันในธุรกิจของตัวเอง หรือธุรกิจใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้นนั่นเอง

 

รีเทล/ฟู้ดเทค อยู่กับเราตั้งแต่ตืนจนเข้านอน

ฟู้ดเทค นั้นกินความกว้างกว่าแค่เทคโนโลยีในการผลิตอาหาร แต่ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อช่วยตอบโจทย์ร้านอาหาร ภัตตาคาร และไลฟ์สไตล์การบริโภคด้วย

เช่น การค้นหา (Wongnai) การจองร้าน (eatigo, QueQ) ออน-ดีมานด์และดีลิเวอรี่ (GrabFood, foodpanda, Line Man) เพย์เมนท์ (Grab Pay, Line Pay) ไปจนถึง ลอยัลตี รีวอร์ดส์ อย่าง The1 หรือ Rabbit ฯลฯ

จะเห็นว่าชื่อเหล่านี้ใกล้ตัวกับเรามากกว่าที่คิด ตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอนเลยทีเดียว ยังไม่นับเรื่องการเก็บข้อมูลผู้บริโภคและวิเคราะห์ ซึ่งจะนำไปสู่การโฆษณา

หรือในทางกลับกัน ธุรกิจโฆษณาหรืออินฟลูเอนเซอร์ต่างๆก็สามารถย้อนศรกลับมาแข่งขันกับผู้ผลิต/ผู้ขายได้เช่นกัน

เหมือนที่ทาง Omise วิเคราะห์ว่าในอนาคตอันใกล้ Instagram จะเป็นผู้เล่นหลักในธุรกิจค้าปลีก หรือแม้แต่การจองร้านอาหารได้ หลังโซเชียลมีเดียรายนี้ เตรียมนำระบบซื้อสินค้า/บริการและชำระเงิน Checkout มาทดลองใช้บนแพลตฟอร์มของตัวเอง

จะเห็นได้ว่าหลายธุรกิจที่ดูเผินๆเหมือนไม่มีความเชื่อมโยงกันเลย ในอนาคตอันใกล้อาจจะต้องกลายมาเป็นคู่แข่งกันก็ได้ เพราะเส้นที่คั่นอยู่เริ่มจะบางลงเรื่อยๆ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมถึงไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต้องปรับตัวตลอดเวลา เช่น Grab ที่เริ่มจากการเป็นแอพเรียกรถ ก่อนต่อยอดมาเป็นแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมแทบจะทุกเรื่องในชีวิต

Grab ต่อยอดแพลตฟอร์มครบวงจร ตั้งเป้ารายได้แตะ3หมื่นล้านก่อนสิ้นปี

เช่นกัน แม้แต่ยักษ์ใหญ่ที่น่าจะลอยตัวในธุรกิจกาแฟที่ตัวเองเป็นเบอร์หนึ่งอยู่แล้ว ก็ยังเลือกใช้การเป็น CVC เพราะเชื่อว่าการหาแนวทางยกระดับหรือต่อยอดธุรกิจของตนออกไป คือหนึ่งในทางเลือกเพื่อการอยู่รอดทั้งในวันนี้และในอนาคต

 

เรียบเรียงจาก

Starbucks sets up $100 million fund to invest in food and retail startups

Starbucks will anchor the new $400 million food-focused Valor Siren Ventures fund

7 Unstoppable FoodTech Trends in Singapore to Watch in 2019

Now you can buy clothes or make reservations without ever leaving Instagram

 

อ่านเพิ่มเติม

ทำไมโลโก้สตาร์บัคส์ถึงเป็นนางเงือก?

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
107
Shares
Previous Article
เสรีกัญชา

เสรีกัญชา ใครได้ ใครเสีย..?

Next Article
Strategic partnership

Strategic partnership: หมัดเด็ดเพื่อความโดดเด่น

Related Posts