ปัจจุบัน พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic partnership) กลายมาเป็นอาวุธสำคัญ สำหรับแบรนด์ต่างๆ ทั้งในการบุกเบิกตลาดใหม่ สร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่นจากคู่แข่งในตลาดเดิม เพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้า หรือเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับแบรนด์
นี่คือตัวอย่างความร่วมมือที่ให้ผลในลักษณะ Win/Win สำหรับทั้งสองฝ่าย
#1
Apple & IBM
คู่แข่งในอดีตที่หันมาจับมือกัน โดยผนวกประสบการณ์แบบบูรณาการของ iOS ดีไวซ์ (iphone และ iPad) เข้ากับความสามารถในการวิเคราะห์ Big Data และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ กับที่ปรึกษาองค์กรนับแสนรายของ IBM นอกจากช่วยกระตุ้นยอดขายแท็บเล็ทของ Apple ยังช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของ IBM ให้ดูทันสมัยไปพร้อมกัน
#2
Google & Luxottica
ผู้ผลิตแว่นสัญชาติอิตาลี ช่วยปรับภาพลักษณ์ของ Google Glass ให้มีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่อาจให้ความสำคัญกับความสวยงามเป็นหลัก ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีล้ำสมัย ก็ช่วยเพิ่มมูลค่า และความน่าสนใจให้กับสินค้าของ Luxottica ที่เผชิญหน้ากับกลยุทธการตัดราคาโดยคู่แข่งอย่าง Costco, TJ Maxx และ Warby Parker
#3
Spotify & Uber
การขึ้นแท็กซี ที่พร้อมให้บริการเพลย์ลิสต์เพลงโปรดของคุณ ช่วยเพิ่มคุณค่า จุดแข็งทางการตลาด และความเป็น “เอ็กซ์คลูซีฟ” ให้กับ Uber ขณะเดียวกัน ก็เป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าของ Spotify อัพเกรดแอคเคาท์ของตัวเองเป็นระดับพรีเมียม เพื่อสิทธิ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่แข่งอย่าง Pandora, iTunes หรือ YouTube ไม่สามารถเลียนแบบได้
#4
Snapcash (Snapchat & Square)
Square ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับการทำธุรกรรมทางการเงินแก่ Snapchat แลกกับภาพลักษณ์ที่ทันสมัย และ “ฮิป” ขึ้นในความรู้สึกของกลุ่มผู้ใช้โซเชียลมีเดีย
*ปัจจุบัน Snapchat ได้ถอดฟีเจอร์นี้ออกแล้ว
#5
Alexander Wang & H&M
กลยุทธ์ที่ H&M ใช้มาตลอด คือการจับมือกับแบรนด์แฟชั่นระดับไฮเอนด์ ในการผลิตสินค้าลิมิเต็ด เพื่อกระตุ้นยอดขาย และรักษาสถานะความเป็น “จุดหมาย” สำหรับผู้ที่ต้องการตามกระแสแฟชั่นให้ทัน และการวางสินค้าในช่วงเวลาจำกัด ก็ช่วยกระตุ้นการรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคให้กับบรรดาร้านค้าปลีกในคราวเดียวกัน ขณะที่ฝ่าย Alexander Wang ก็ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่พร้อมจะขยับไปซื้อสินค้าระดับไฮเอนด์ในโอกาสต่อๆไป
#6
Christian Dior Fusion Sneakers & Colette
การจับมือกันระหว่าง Colette หนึ่งในผู้ค้าปลีกระดับแถวหน้าของโลก กับ Christian Dior ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความหรูหรา ล้ำสมัย และมีเสน่ห์น่าค้นหา ในการเปิดตัวไลน์สินค้าใหม่ที่ผสมผสานกันระหว่างรองเท้าสนีคเกอร์ทั่วไปกับความเป็นดีไซเนอร์แบรนด์ ทำให้ภาพลักษณ์ของ Colette ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นจากการร่วมงานกับแบรนด์ระดับโลก ส่วนสินค้าใหม่ของ Christian Dior ก็ได้รับการพีอาร์ระดับมืออาชีพของอีกฝ่ายเป็นการแลกเปลี่ยน
#7
Apple Pay & MasterCard
MasterCard (ปัจจุบันเป็นเบอร์ 2 ในธุรกิจบัตรเครดิต ถัดจาก Visa) ได้ความเป็น “เอ็กซ์คลูซีฟ” จากดีลนี้ และกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตรของตนมากขึ้น ส่วน Apple ก็ได้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้จำนวนมหาศาลของอีกฝ่าย
Apple จับมือ Goldman Sachs เปิดตัวบัตรเครดิต เน้นเจาะกลุ่มสาวกเป็นหลัก
#8
Leica & Moncler
ผู้ผลิตกล้องไฮเอนด์จากเยอรมนี และแฟชั่นแบรนด์หรูจากอิตาลีซึ่งมีรากเหง้าจากฝรั่งเศส นำไปสู่สีของธงชาติฝรั่งเศสบนตัวกล้องรุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น เพิ่มความเย้ายวนให้กับกลุ่มลูกค้าของทั้งสองแบรนด์ซึ่งมีความคาบเกี่ยวกันอยู่เป็นทุนเดิมให้มากยิ่งขึ้น
#9
Macy’s & Google
ด้วยศักยภาพของ Google search ลูกค้าของห้าง Macy’s สามารถเช็คได้ว่าสินค้าที่ตนสนใจจะซื้อมีในสต็อคของสาขาใกล้บ้าน หรือแม้แต่สั่งล่วงหน้า เพื่อไปรับของที่ร้านได้ทันที ช่วยให้ Macy’s รักษาฐานลูกค้าไว้ได้แทนที่จะเสียไปให้ร้านค้าปลีกเจ้าอื่น ในกรณีที่ลูกค้าต้องการสินค้าชิ้นนั้นทันที รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการบริโภคซ้ำจากความประทับใจในบริการ ส่วน Google ได้เรทค่าโฆษณาที่สูงขึ้นจากรูปแบบการค้นหาที่มีความเจาะจงมากขึ้น
#10
BMW & Louis Vuitton
กระเป๋าลากรุ่นสเปเชียล เอดิชั่นของ Louis Vuitton ได้รับการออกแบบให้เข้ากับช่องเก็บของท้ายรถของ BWM i8 ทั้งในเรื่องขนาดและภาพลักษณ์ นอกจากจะช่วยเสริมความโดดเด่นให้กับตัวรถยนต์ BMW ยังเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ในแง่ของคุณภาพและสไตล์ให้กับLouis Vuitton ในคราวเดียวกัน
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า