เจฟฟ์ เบโซส

เจฟฟ์ เบโซส ยกส่วนแบ่งทรัพย์สิน 1.1 ล้านล้าน ให้อดีตภรรยา แต่ยังรวยสุดในโลก

แม็คเคนซี อดีตภรรยาของ เจฟฟ์ เบโซส ทวีตยืนยันหาข้อสรุปเรื่องการหย่าร้างกับผู้ก่อตั้ง Amazon ได้แล้ว โดยเธอน่าจะได้ส่วนแบ่งทรัพย์สินราว 35,000 ล้านดอลลาร์ (1.1 ล้านล้านบาท) ขณะที่ฝ่ายชาย จะยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกต่อไป

ในการหย่าขาดที่น่าจะเคลียร์เอกสารสำคัญเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม แม็คเคนซี ซึ่งอยู่กินกับ เบโซส มานานถึง 25 ปี และเป็นพนักงานคนแรกของ Amazon จะยังคงถือหุ้นจำนวน 1 ใน 4 ของที่ทั้งคู่เคยถือร่วมกัน หรือคิดเป็น 4% ของหุ้นบริษัททั้งหมด

ส่งผลให้เธอจะเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับ 26 และเป็นผู้หญิงที่มีทรัพย์สินมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ที่ 35,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.1 ล้านล้านบาท) เป็นรองแค่ ฟรังซัวส์ เบทเทนคอร์ท เมเยอร์ส ของ L’Oréal และ อลิซ วอลตัน ของ Walmart เท่านั้น

ส่วนหุ้นทั้งหมดของ Washington Post และ Blue Origin พร้อมสิทธิ์ในการบริหาร Amazon จะยังคงเป็นของอดีตสามี ที่เหลือหุ้นในมือ 12% (ส่วนในกรณีที่ แม็คเคนซี ต้องการขายหุ้นในมือ ผู้รับช่วงต่อจะต้องเซ็นยินยอมมอบอำนาจการโหวตให้ เบโซส ด้วย)

ด้าน เบโซส จะยังเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกตามเดิม ที่ 1.1 แสนล้านดอลลาร์ (3.5 ล้านล้านบาท) แม้มูลค่าทรัพย์สินที่มีจะลดลงไปราว 1 ใน 4 ก็ตาม ส่วน บิล เกตส์ ในอันดับสองมีทรัพย์สิน ที่ 99,500 ล้านดอลลาร์ (3.17 ล้านล้านบาท)

เบโซส ยังรั้งเบอร์หนึ่งรวยที่สุดโลก ไคลี เจนเนอร์ ทุบสถิติบิลเลียนแนร์อายุน้อย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปว่าทั้งคู่จะแบ่งทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างไร โดย รายงานเมื่อปี 2017 ระบุว่าตระกูล เบโซส นั้นถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในสหรัฐฯ มากสุดเป็นอันดับที่ 28

บีบีซี ยังเผยว่าการหย่าขาดครั้งนี้ นับเป็นสถิติใหม่ของข้อตกลงการแบ่งทรัพย์สินอีกด้วย โดยสถิติเดิมนั้นเป็นของ อเล็ก วิลเดนสไตน์ และ โจซลีน อดีตภรรยา ที่ 3,800 ล้านดอลลาร์ (1.2 แสนล้านบาท) เมื่อปี 1999

อดีตภรรยาของ เบโซส ระบุไว้ในทวีตเดียวกันนี้ ว่าทั้งคู่ยังคงเป็นเพื่อนกัน และจะร่วมเลี้ยงดูลูกๆทั้งสี่คนต่อไป

นอกจากบทบาทภรรยาและพนักงานยุคแรกของบริษัทฯ แล้ว แม็คเคนซี ยังเป็นนักเขียนนวนิยายเชิงจิตวิทยาออกมาแล้วสองเล่ม คือ Traps และ The Testing of Luther Albright ซึ่งได้รับรางวัล American Book Award มาแล้ว

 

เรียบเรียงจาก

Jeff Bezos: World’s richest man agrees $35bn divorce

Jeff and MacKenzie Bezos have finalized the terms of their divorce — here’s what typically happens when billionaires break up

 

AHEAD TAKEAWAY

การหย่าร้างของสองสามีภรรยา เบโซส นั้น เป็นที่จับตาของผู้คนในหลายๆด้าน มากกว่าแค่เรื่องมูลค่าทรัพย์สิน หรืออันดับคนร่ำรวยที่สุด

เพราะปัจจุบัน Amazon คือหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก และความเปลี่ยนแปลงใดๆที่มีผลต่อราคาของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ย่อมกระเทือนถึงนักลงทุนอย่างไม่ต้องสงสัย

กรณีของคู่นี้ ซึ่งร่วมก่อตั้งบริษัทขึ้นมาด้วยกัน ย่อมมีผลมากกว่าคู่สามีภรรยาซึ่งแต่งงานกันตอนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์สินมหาศาลอยู่แล้ว

เพราะในกรณีหลังนั้น มักมีการเซ็นสัญญาข้อตกลงก่อนสมรส (prenuptial agreement) ซึ่งจะระบุไว้ชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายจะแบ่งกันอย่างไรเมื่อเกิดการหย่าร้าง (เหมือนในกรณีของ อีลอน และ จัสติน มัสก์)

แต่การสร้างทรัพย์สินร่วมกันขึ้นมาของ เจฟฟ์ และ แม็คเคนซี โดยที่มูลค่าของทรัพย์สินส่วนใหญ่นั้นผูกกับราคาหุ้นของบริษัทด้วย ทำให้นักวิเคราะห์จำนวนมากเกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อราคาหุ้นและอนาคตของบริษัท

“เพราะผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับผู้บริหารที่เป็นผู้ถือหุ้นด้วยนั้น มันมีความซับซ้อนและประเมินค่ายากกว่าการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนทั่วไป” แคริน เจ. ลันเดลล์ จากกองทุน Rower LLC ให้ทรรศนะ

นักวิเคราะห์เตือน Amazon อาจได้รับผลกระทบหนัก หลัง เจฟฟ์ เบโซส เตียงหัก

นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการที่ แม็คเคนซี่ ถึงตกลงให้สิทธิ์ในการโหวตของหุ้น 4% ที่เธอได้เป็นส่วนแบ่งไว้กับอดีตสามีตามเดิม พร้อมเงื่อนไขว่าหากเธอจะขายหุ้นส่วนนี้ทิ้ง ผู้รับช่วงต่อก็ต้องเซ็นยินยอมมอบอำนาจในการบริหารให้แก่ เจฟฟ์ เบโซส ด้วยน่าจะเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุน และอนาคตของบริษัทเอง

เพราะแม้จะเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมากับมือ แต่ในฐานะบริษัทมหาชนที่ต้องอาศัยเสียงในการโหวต เจฟฟ์ เบโซส ก็จำเป็นต้องรักษาสิทธิ์นั้นไว้ ซึ่งสำหรับเจ้าตัว อำนาจในการบริหารอาจจะสำคัญกว่ามูลค่าของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ขณะนั้นๆด้วย

เมื่อเจ้าตัวยังรักษาสิทธิ์ในการบริหารไว้เท่าเดิม (แม้จะมีกรรมสิทธิ์หุ้นในมือน้อยลง) นั่นก็หมายถึงโอกาสที่จะสร้าง Amazon ให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อราคาหุ้นในอนาคตโดยปริยาย

ซึ่งในแง่ของการลงทุน แม็คเคนซี เองก็มีแต่ได้กับได้ด้วย

ส่วนการไม่ถือหุ้นของ Washington Post ไว้ น่าจะเป็นผลดีต่อชีวิตส่วนตัวของเธอมากกว่าก็ได้ เห็นได้จากการที่อดีตสามีต้องเจอกับสารพัดศึกที่ประดังเข้ามา เพราะเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์รายนี้

นักสืบเชื่อรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย แฮ็คมือถือ เจฟฟ์ เบโซส ล้วงข้อมูล

ขณะที่ Blue Origin นั้น ดูจะเป็นบริษัทที่ทำตามใจอยากของ เบโซส มากกว่าจะเน้นผลกำไรเหมือน Amazon นั่นเอง

Blue Origin: โปรเจกต์เติมฝันของ Bezos

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
57
Shares
Previous Article
Instagram Checkout

สถาบันการเงินคาด Instagram Checkout อาจสร้างรายได้ทะลุ 3 แสนล้าน

Next Article
อาชีพสายเทคโนโลยี

จีนขึ้นทะเบียน13 อาชีพสายเทคโนโลยี รวม นักกีฬาอีสปอร์ต-นักบินโดรน ด้วย

Related Posts