ในยุคที่คนรุ่นใหม่ สามารถสร้างชื่อให้ตัวเองเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ด้วยพลังของอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย
อาเรียนา เรเน หรือ อารี (Arii) ก็เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยยอดผู้ติดตาม 2.6 ล้านคน บน Instagram
แต่ประเด็นคือ เมื่อถึงเวลาที่เธอต้องการสร้างรายได้จากยอดฟอลโลว์มหาศาลนี้ ผลลัพธ์กลับเป็นตรงกันข้าม
อารี เปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้าของเธอเองในชื่อว่า ERA ก่อนที่เว็บไซต์ดังกล่าวจะหยุดให้บริการชั่วคราวในเวลาต่อมา พร้อมกับการโพสต์ข้อความตัดพ้อว่า ธุรกิจนี้อาจไม่ได้ไปต่อ เพราะเธอขายสินค้าไม่ได้ถึงขั้นต่ำสำหรับการพรีออร์เดอร์ นั่นคือ 252 ชิ้น
หรือคิดเป็น
The influencer bubble is bursting. This young lady has well over 2 million followers and couldn’t sell 36 shirts. Focus on genuine engagement and not followers cuz they ain’t gonna buy a thing. pic.twitter.com/uOSVxc2k4D
— Flawless and Brown (@kissmyelite) May 27, 2019
แจ๊ค แอปเปิลบาย จากเอเจนซี Midnight Oil ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้ ยิ่งกว่าเหลือเชื่อ
พร้อมสรุปว่า
Twitter เผย 10 แบรนด์ไทยเอนเกจสูงสุด พร้อม 4 แนวทางสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มเป้าหมาย
AHEAD TAKEAWAY
ความล้มเหลวของ อารี ในการขายเสื้อยืด คงนำมาใช้สรุปว่าฟองสบู่ของอินฟลูเอนเซอร์กำลังจะแตกแล้วไม่ได้
แต่เรื่องหนึ่งที่แน่นอน คือมันช่วยยืนยันว่าแค่การสร้างยอดฟอลโลว์อย่างเดียว ไม่ได้แปลว่างานของคนที่คิดจะเดินสายนี้ลุล่วงแล้ว
รีสซา เลค รองประธานบริหารของ Digital Brand Architects มองว่า การเป็น อินฟลูเอนเซอร์ ไม่ได้จบแค่การดึงให้คนมาติดตาม แต่ต้องหาเหตุผลให้ได้ว่าคนเหล่านั้นมาติดตามเพราะอะไร และจะทำยังไงให้คนเหล่านั้น ให้ความสำคัญกับคุณด้วย
“ผู้บริโภคอย่างเรา เลือกติดตามอินฟลูเอนเซอร์ด้วยหลายๆเหตุผล ทั้งเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อการศึกษา หรือเพื่อความบันเทิง แต่เราไม่ได้คิดว่าจะต้องซื้อสินค้าจากเขาเสมอไป”
จริงอย่างที่ เลค ว่าไว้ เพราะถ้าย้อนกลับไปดูคอนเทนต์เก่าๆของ อารี จะเห็นว่าเธอเพียงแต่โพสต์ภาพพร้อมกับแคปชั่นเป็นคำหรือแค่วลีสั้นๆเท่านั้น
ไม่ได้พูดถึงคุณภาพของสินค้า กระตุ้นให้ผู้ติดตามซื้อสินค้าแบรนด์ที่เธอใช้ หรือแม้แต่ติดแฮชแท็กหรือใส่ลิงค์สำหรับซื้อสินค้าเลย
ไม่ใช่แค่ไม่เคยโปรโมทสินค้าอื่นๆเท่านั้น แม้แต่สินค้าที่เป็นแบรนด์ของเธอเอง ก็มีการโพสต์ถึงแค่สองครั้งเท่านั้น แถมยังไม่ได้ใส่ให้ดูในทั้งสองโพสต์ด้วย
ในแง่หนึ่ง เราอาจตีความได้ว่าคนที่มากดฟอลโลว์เธอนั้น เพียงแค่ชอบดูเธอโพสต์ท่าสวยๆ น่ารักๆ เท่านั้น
แต่นั่นไม่น่าจะเป็นไปได้ เมื่อมองจากตัวเลขคนติดตามที่มากกว่า 2 ล้านคน
ในมุมมองของทีมงาน AHEAD ASIA น่าจะเป็นเพราะความผิดพลาดของ อารี ที่ผ่านมา คือเธอวางพฤติกรรมผู้ติดตาม ให้เป็น “ผู้ชม” เท่านั้น ไม่ใช่ “ผู้บริโภค”
จนเมื่อเธอคิดจะเปลี่ยนยอดผู้ติดตามให้เป็นรายได้ในทันที จึงไม่เกิดผล เพราะตัวเธอไม่ได้มีอิทธิพลต่อความคิดของคนเหล่านั้นเลย
ฉะนั้น หากคุณคิดจะสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์แล้ว ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วย เพราะลำพัง “ตัวตน” อย่างเดียว ไม่อาจโน้มน้าวให้คนเชื่อได้ว่าสินค้าที่คุณคิดจะขายนั้น เหมาะกับเขา
ลองมองตัวอย่างในบ้านเรา หลายคนที่ประสบความสำเร็จจากการขายสินค้าผ่านทาง FB Live อย่าง “เจ๊น้ำ” หรือ “ฮาซัน” เลือกที่จะปักธงตั้งแต่ต้นว่าพวกเขามาเพื่อขายสินค้า
และสร้างแรงดึงดูดด้วยวิธีการขายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนผู้ซื้อยอมควักเงินกระเป๋าจ่ายให้
เรื่องที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับคนที่จะทำธุรกิจบนโลกโซเชียลได้ ว่าต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ว่าจะใช้ประโยชน์จากยอดไลค์ หรือยอดฟอลโลว์ได้อย่างไร
เพราะการเป็น อินฟลูเอนเซอร์ ในความหมายทางการตลาด คือคนที่สามารถขาย หรือช่วยให้สินค้าตัวนั้นๆขายได้มากขึ้น
หากไม่สามารถทำให้ผู้ติดตาม เกิดความรู้สึกที่อยากจะมี อยากจะเป็นเหมือนกัน จนยอมลงทุนบางอย่าง เหมือน อารี (และใครอีกหลายคน) แล้ว
ก็น่าจะเป็น “เซเลบบนโลกออนไลน์” แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้บริโภคเลย
เรียบเรียงจาก
Arii Has Over 2 Million Followers. So Why Did Her Clothing Line Fail?
*ขอบคุณภาพฮาซัน จากเพจ อาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า