นักกินนักช้อปในบ้านเรา น่าจะรู้จัก Choco Card บัตรสีเหลืองที่มีมาสคอตรูปเจ้าลิงน้อย สำหรับสะสมแต้มตามร้านค้าต่างๆกันดี
แต่กว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management) ที่มีลูกค้าใช้บริการนับพันแบรนด์ และ End-users กว่าหนึ่งล้านคนอย่างทุกวันนี้
Choco CRM สตาร์ทอัพไทยต้องผ่านอะไรมาบ้าง นี่คือประสบการณ์ที่ สิรสิทธิ์ สุริยพัฒนพงศ์ หรือคุณไมค์ ซีอีโอของ Choco CRM อยากเล่า และแนะนำให้คนที่กำลังคิดจะมี หรือกำลังทำธุรกิจของตัวเอง ได้นำไปใช้กัน
#1
Founding Team & Partners
ใครที่คิดจะเริ่มทำธุรกิจ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นเรื่องหลักเลย
ส่วนตัว ถือว่าผมโชคดีมากที่ได้พี่ลุย รัฐพล ศิริชุมพันธ์ กับตั้ม ธีรวัฒน์ พึ่งสุจริต เป็น co-founders ทั้งคู่เป็นทั้งเพื่อน และทีมของผมตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละคนก็มีความถนัดแตกต่างกัน
ในการทำงาน เราจะแยกหน้าที่กันชัดเจน ผมดู business development & sales, พี่ลุยดู products & IT และตั้ม ดู marketing & support ซึ่งแต่ละคนก็จะให้เวลากับ Choco แทบทั้งวัน
ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่โฟกัสกับหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ ก็ไปด้วยกันยาก ยังมีเรื่องความเชื่อใจ และเข้าใจด้วย วิธีของเราสามคนคือคุยแบบเน้นเนื้องานเป็นหลัก ถ้าออกจากห้องประชุมแล้วต้องจบ เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
ฉะนั้น ใครที่ทำธุรกิจ ลองดูว่าคนในทีมพร้อมจะไปกับเรารึเปล่า เพราะวันที่ทุกอย่างไปได้สวย เป็นเรื่องปกติที่จะไม่มีใครไปไหน แต่ช่วงที่ต้องสู้ ต้องเหนื่อย ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน เค้าจะอยู่และสู้ไปกับเรารึเปล่า?
#2
Core Team
พอมาถึงช่วงที่จะเริ่มขยับขยาย ต้องพิจารณาคัดเลือกพนักงานกลุ่มแรกๆอย่างใกล้ชิด หาจุดแข็งของคนๆนั้นให้เจอ
สมมติคนๆนั้นได้เลื่อนขึ้นมาเป็นผู้จัดการ ก็ต้องเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้จากการลงมือทำ โดยที่ผู้ก่อตั้งต้องพร้อมให้คำแนะนำ จากประสบการณ์ที่เคยผ่านตรงนี้มาก่อนด้วย
ประเด็นสำคัญคืออย่ามอบหมายงานที่ไม่ถนัดให้ใคร เพราะนอกจากจะทำให้งานไม่ได้ตามที่หวังแล้ว ตัวคนทำงานก็จะไม่มีความสุขไปด้วย
วิธีหาจุดแข็งของพนักงานระดับหัวหน้างาน อาจใช้การทดสอบแบบ Strength Finders ก่อน จากนั้นจึงนำมาปรับบทบาทของแต่ละคน รวมถึงวางกลยุทธ์ และ Career Path กันใหม่ตามความถนัด
หลักการสำคัญของเรื่องนี้ คือการพัฒนาต่อยอด มันจะไปได้ไกลกว่าการฝืนทำอะไรที่ไม่ถนัด
#3
Working Team
จากผู้ร่วมก่อตั้ง 3 คน Choco CRM มีวิธีจัดการพนักงานที่เพิ่มเป็นร้อยคนอย่างไร ผมแบ่งเป็นสามเรื่องหลักๆ ตามนี้
- สร้าง Core Team ให้ได้ก่อน
วิธีการเลือกคนที่จะเป็นหัวหน้างาน ผมไม่ได้ดูเรื่องวัยหรืออายุงาน สิ่งสำคัญคือคนๆนั้นมีบทบาทกับบริษัทฯมากน้อยแค่ไหน ถ้ามี ให้เริ่มพิจารณาเป็นแคนดิเดทสำหรับตำแหน่งได้ - การมอบหมายงาน
ในช่วงแรก นี่จะเป็นเรื่องยากมากๆสำหรับผู้ก่อตั้งที่เคยทำเองทุกอย่างมาตลอด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็ต้องเริ่มประเมินแล้วว่าที่ทำอยู่เป็นคอขวดรึเปล่า ที่ Choco เราจะมีงานหลักของทีม ที่เรียกว่า “bottleneck destroyer”
ถ้าเจองานลักษณะคอขวดเมื่อไหร่ เราจะทำลายทิ้งทันที แม้แต่ตัวเราเอง ถ้าเริ่มเห็นว่างานมากระจุกที่เรา จนเริ่มช้าหรือไม่เวิร์ค ก็ต้องทำลายทิ้งด้วย การจะทำแบบนี้ได้ คือคนบริหารต้องเชื่อมั่น และพร้อมยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากนั้น ปล่อยให้ระดับหัวหน้างานรันทีมไปเลย และบอกว่าถ้าพลาดไม่เป็นไร แต่ต้องเรียนรู้ เพื่อจะได้ไม่พลาดซ้ำ วิธีนี้จะช่วยให้คนระดับ Core Team เกิดความรู้สึก “เป็นเจ้าของ” ในงานชิ้นนั้นๆ - วาง Career Path ให้พนักงานเห็นภาพ
ในฐานะผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร เราต้องมองย้อนกลับไปด้วยว่าถ้าเป็นพนักงาน เราอยากได้อะไรบ้าง? เงิน ตำแหน่ง ความท้าทายในการทำงาน ความสุข ฯลฯในช่วงเริ่มต้น ผมจะบอกพนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้ามาว่า เราต้องสร้างตำแหน่งร่วมกัน เมื่อไหร่ที่บริษัทฯมันโตขึ้น ตำแหน่งใหม่ๆถึงจะผุดขึ้นมา การที่บริษัทจะโตได้ แปลว่ายอดขายต้องได้ users ต้องมา ลูกค้าต้องโอเคการทำงานในบริษัทเล็กๆ ไม่ได้แปลว่า Career Path ของคุณไม่ชัดเจน เพราะจริงๆแล้ว ถ้าคุณมีผลงานโดดเด่น ทุกคนจะเห็นอยู่แล้ว และทุกอย่างจะตามมาเอง ยิ่งถ้าอายุน้อยๆ แต่ได้ทำเยอะ ได้ทำก่อน ย่อมได้เปรียบกว่าคนอื่นๆในเรื่องประสบการณ์
#4
Customers, Partners & Investors
เวลาเราเริ่มธุรกิจ ถ้าไม่อิงคอนเนกชั่นเดิมๆ จากที่บ้านหรือคนรู้จัก บอกเลยว่าไม่มีใครสนใจเราหรอกครับ เราต้องทำเองทั้งนั้น สิ่งสำคัญสุดคือ mentality ของเรา
- Customers
หนึ่งใน core value ของ Choco CRM คือ Customer First (ลูกค้ามาก่อน) ในเมื่อเราอยากได้ลูกค้า ก็ต้องตรงเข้าไปหาเลย ไปคุย ไปขาย ไปถาม ไปตอบ ทุกธุรกิจต้องมีความ aggressive คืออย่ารอให้ลูกค้ามาหา เราต้องเข้าใจ needs เค้าที่สำคัญ ถ้าอยากขายได้ เราต้องขายเองให้ได้ก่อน ถึงสอนคนอื่นได้ครับ ตัวผม เวลาเรามี modules หรือ services ใหม่ๆ จะต้องไปหาลูกค้าเองก่อน ไม่ว่าจะร้านเล็กๆที่ยังไม่มีโต๊ะ หรือ ธุรกิจระดับประเทศ ก็เป็น potential customers ทั้งนั้นการเป็นคนเริ่มก่อน มีข้อดีหลายอย่าง หนึ่งคือจะได้ customer feedback ด้วย และสองคือความเชื่อใจของทีม เพราะถ้าเราทำได้ ทีมเราก็ต้องทำได้แน่นอน - Partners
ก่อนจะเป็นพาร์ทเนอร์กับใคร คิดให้ดีๆครับ ถ้าธุรกิจไปได้ดี ก็ต้องหัดดูว่า 1×1=3 รึเปล่า หรือเท่าเดิม หรือเราเสีย เค้าเสีย หลายๆครั้ง การปฎิเสธคนบ้างก็เป็นเรื่องจำเป็น ถ้าเราไม่พร้อม หรือทีมเราไม่พร้อม ไม่งั้น 1×1 บางทีอาจจะกลายเป็นติดลบก็ได้ - Investors
การจะหานักลงทุน ไม่มีอะไรซับซ้อน ถ้ารู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน ก็ไปหาที่นั่นเลย อาจจะส่งอีเมลไป โทรไปหาแบบ Cold Call เลย ไปตามอีเวนท์ต่างๆ แจกนามบัตร เล่า business model กางตัวเลขให้ดูว่าแผนเราเป็นแบบนี้แต่การไปเสนอตัว ก็ต้องมองในมุมนักลงทุนด้วยว่า เขาต้องการอะไร บริษัทฯเราตอบโจทย์เขารึเปล่า จากประสบการณ์ตรง ช่วงแรกๆ อาจจะยากหน่อย เพราะโดนปฏิเสธตลอด เพราะตอนนั้น เราไม่มีอะไรเลย มีแค่ไฟล์ excel กับไอเดีย แต่ก็อยากให้คิดว่าเป็นการสร้างคอนเนกชั่นไว้ก่อนและหลายๆครั้ง คนที่เป็น Venture Capitalist (VCs) จะมี feedback ดีๆให้เราเยอะมาก เพราะเค้าต้องคุยกับสตาร์ทอัพตลอดหนึ่งเรื่องที่อยากย้ำ คือเราต้องจริงใจกับ investors ด้วย เช่น ช่วงไหนที่ธุรกิจดี ก็ให้คอยอัพเดทตลอด ช่วงไหนมีปัญหา ก็ขอคำแนะนำดู ให้คิดว่าเมื่อเขาเชื่อใจแล้ว เราก็ต้อง deliver ให้ได้ด้วย
#5
Self Mentality
ในฐานะผู้ก่อตั้ง ก็มีเรื่องที่ต้องคอยเตือนตัวเองระหว่างทางเหมือนกัน ตาม 4 ข้อนี้
- โฟกัส
ส่วนตัว ไม่เคยเห็นคนที่ทำหลายธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จเท่าไหร่ โดยเฉพาะพวกที่เริ่มต้นจากศูนย์
ส่วนตัวมองว่าเราต้องคิดเสมอว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจดีขึ้น ยอดขายดีขึ้น ให้ users เพิ่มขึ้นได้ เหมือนที่ผมโฟกัสกับ Choco CRM แบบ 24/7 - Stay Humble and Work Hard
ในฐานะเจ้าของกิจการ เราต้องคุยกับคนให้เป็น ไม่ว่าจะใคร เพราะหัวโขนที่เราใส่อยู่คือหน้าที่และความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันก็ต้องทำงานให้หนัก และโฟกัสอย่างที่บอกไว้ในข้อแรกด้วย - พัฒนาตัวเองตลอด
ต้องหัดอ่าน หัดทำ และเน้นนำด้วยการลงมือทำให้ทีมเห็น พนักงานก็อยากฟังคนที่เก่งกว่า ถ้าเราไม่รู้เรื่อง จะสอนคนก็ยากครับ ในบางเรื่อง ถ้าไม่ใช่เรื่องถนัดจริงๆ ก็ต้องจ้างคนที่เก่งกว่า แต่ในภาพรวม เราต้องรู้หมดว่าธุรกิจเราขับเคลื่อนอย่างไร - ให้กำลังใจตัวเองเสมอ
ในการทำธุรกิจ เป็นเรื่องปกติที่จะต้องเจอปัญหา ฉะนั้น อย่าลืมปลุกตัวเองให้สู้ หลายๆคนที่โชคดี ก็อาจจะมีพ่อแม่พี่น้องคอยให้กำลังใจ และสนับสนุนด้วย ถึงอย่างนั้น ก็น่าจะมีช่วงที่รู้สึก burn out บ้าง อาจจะต้องหากิจกรรมอื่นๆด้วย เพื่อให้สภาพจิตใจได้พักผ่อนบ้าง
Our Guest Contributor: สิรสิทธิ์ สุริยพัฒนพงศ์ (ไมค์) จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Brandeis University ด้าน Economics และ Psychology สั่งสมประสบการณ์ด้าน Consulting ที่บริษัท Accenture ก่อนเริ่มก่อตั้งธุรกิจของตัวเองร่วมกับ รัฐพล ศิริชุมพันธ์ และ ธีรวัฒน์ พึ่งสุจริต ในนาม Choco CRM นอกจากบทบาทซีอีโอแล้ว คุณไมค์ ยังทำหน้าที่เป็น Business Development Manager และเป็นส่วนหนึ่งของทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย
ติดตาม Guest Contributor คนอื่นๆของเราได้ ที่นี่
เจาะ 10 หลักการตลาด เหนือกาลเวลา ของ คล๊อด ซี ฮอปกินส์ โดยคุณโจ้ ศิลป์ธรณ์ สันติธรณ์
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า