Exponential Technologies

รู้จัก Exponential Technologies กับ Rob Van Alphen แห่ง School of Disruption

ในยุคที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายในแต่ละวัน คุณรู้จัก blockchain, biotech, medtech หรือ agritech รวมถึงทักษะต่างๆที่คนรุ่นใหม่ควรมีในอนาคต มากน้อยแค่ไหน

มาทำความรู้จักกับเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น ผ่านบทสนทนาระหว่างทีมงาน AHEAD ASIA กับ Rob Van Alphen (ร็อบ ฟาน อัลเฟน) ผู้ก่อตั้ง School of Disruption สตาร์ทอัพสาย edtech ที่ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดในอนาคต

#1
School of Disruption คืออะไร?

ผมมีประสบการณ์ทำงานในยุโรปและตะวันออกกลางกว่าสิบปี จนมาช่วงห้าปีหลังนี้ ผมย้ายเป็นส่วนนึงในทีมผู้บริหารที่คอยดูแลสินค้ากลุ่มลักชัวรี ในกลุ่มประเทศ GCC (กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ) รวมๆแล้วกว่าร้อยแบรนด์ ตั้งแต่ Gap ถึง Gucci หรือ Ford ถึง Ferrari

เมื่อเร็วๆนี้ ผมตัดสินใจตั้ง School of Disruption ขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ถึงผลกระทบจากเทคโนโลยีใหม่ๆต่อคนในวงกว้าง อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ โรโบติกส์ หรือระบบการพิมพ์ 3 มิติ ฯลฯ

เรายังร่วมมือกับที่ปรึกษาทางธุรกิจ OpenExO ช่วยปลดล็อคศักยภาพให้แก่องค์กรและสถาบันต่างๆ ผ่านการเวิร์คช็อป และหลักสูตรเร่งรัดใน 10 สัปดาห์ เพื่อปรับเปลี่ยนเสริมสร้างภูมิให้องค์กรพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลง

#2
นวัตกรรมองค์กร เป็นแค่กระแสรึเปล่า?

มีหลายบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมองค์กรอย่างจริงจัง ซึ่งมันส่งผลในทางบวกต่อผลประกอบการอย่างเห็นได้ชัด กลับกัน ก็มีบางบริษัทที่ไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ และกำลังได้รับผลกระทบจากการไม่ใส่ใจกับมัน

ผมมองว่านี่คือเวลาสำคัญที่สุดที่องค์กรต่างๆจะต้องลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งไม่ใช่แค่การพัฒนาขึ้นเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

เพราะอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงผู้เล่นแต่ละราย มีโอกาสมากขึ้นเรื่อยๆที่จะถูก disrupt จากผู้เล่นที่มาจากอุตสาหกรรมอื่น

หนึ่งในผลกระทบหลักของการเปลี่ยนแปลง ที่จากนี้ทุกองค์กรจะต้องเจอ ก็คือ นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการ ไม่ว่าจะเป็นในแง่โมเดลธุรกิจหรือการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เกิดกับทั้งอุตสาหกรรม

#3
อะไรคือองค์ประกอบสำคัญ ที่จะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตแบบก้าวกระโดด (ExO) ?

ExO คือองค์กรรุ่นใหม่ที่อาศัยพลังของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ( exponential technologies ) และคุณสมบัติสำคัญในองค์กร เพื่อสร้างผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างกว่าบริษัทอื่นๆในกลุ่มเดียวเป็นสิบๆเท่า ยกตัวอย่าง Google, AirBnB, Netflix หรือ Grab

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญขององค์กรกลุ่มนี้ คือมี เป้าหมายเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง (Massive
Transformative Purpose หรือ MTP)

MTP เป็นมากกว่าแค่การประกาศพันธกิจ หรือสโลแกนในการทำมาร์เก็ตติ้ง มันทำหน้าที่เป็นเหมือนดาวเหนือในการระบุทิศทางที่องค์กรจะมุ่งหน้าไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องมีการตัดสินใจครั้งสำคัญ มันยังเป็นตัวกระตุ้นแรงบันดาลใจ และมีส่วนช่วยดึงบุคลากรเก่งๆมาอยู่ในองค์กรด้วย

จริงๆยังมีคุณสมบัติองค์กรอีก 10 ข้อ ที่ช่วยให้องค์กรระดับ ExO แตกต่างและโดดเด่นกว่าคู่แข่งอื่นๆ หนึ่งในสิ่งที่ผมอยากเน้นว่าจำเป็นมาก คือ การทดลอง ซึ่งคือการนำแนวทาง “Build-Measure-Learn” แบบ Lean Startup มาใช้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไม ExO ในช่วงเริ่มแรก จะมีลักษณะคล้ายสตาร์ทอัพ

บริษัทเหล่านี้เลือกเน้นโฟกัสที่โมเดลธุรกิจและสมมติฐานตลาด ก่อนจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจัง และก็ยังคงทดลองในระดับเล็กๆอยู่ตลอด เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาและยกระดับองค์กร

#4
ความท้าทายที่องค์กรต่างๆต้องเผชิญ เมื่อตัดสินใจจะสร้างนวัตกรรมองค์กร?

มีเหตุผลหลักๆสามข้อ

หนึ่ง คือทรัพยากร เพราะบริษัทส่วนใหญ่โฟกัสที่ธุรกิจปัจจุบัน 100% เพราะแรงกดดันจากตลาด หรือผู้ถือหุ้นที่อยากเห็นผลประกอบการที่เป็นบวกในระยะสั้นๆ อาจจะเป็นรายไตรมาส ทำให้มันยากที่จะให้ความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมในระดับที่สำคัญและยั่งยืนกว่า

สอง คือแรงต้านภายในองค์กร องค์กรส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดว่าการเปลี่ยนแปลงหรือนวัตกรรม คือความเสี่ยง ยิ่งถ้าเป็นนวัตกรรมที่จะมา disrupt ธุรกิจปัจจุบันด้วย ยิ่งไม่ใช่แรงจูงใจให้เดินหน้าต่อ ปัญหาคือแรงต้านเหล่านี้ อาจจะเหมือนภูมิคุ้มกันที่ดูแลโมเดลธุรกิจปัจจุบันให้แข็งแรงปลอดภัย แต่ในเวลาเดียวกัน มันก็บั่นทอนความสำเร็จ หรือแม้แต่โอกาสอยู่รอดในอนาคตขององค์กร เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง

สาม คือความไม่รู้ ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ หรือไอเดียที่อยู่ตรงหน้า คุณจะเห็นว่ามีหลายบริษัทพยายามดึงสตาร์ทอัพเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือพยายามยัดเยียดไอเดียใหม่ๆที่จะ disrupt เข้าไปในธุรกิจหลักเร็วเกินไป เมื่อ DNA มันไม่เข้ากัน ก็จะทำให้ไอเดียดีๆ กลายเป็นเรื่องล้มเหลว เม็ดเงินหรือเวลาที่ลงทุนไปก็สูญเปล่า

#5
ทักษะแบบไหนบ้างที่เราควรมี เพื่อให้พร้อมสำหรับอนาคต?

เราอยู่ในโลกที่เครื่องจักรกำลังจะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจในอนาคตจะพึ่งพาความรู้น้อยลง มันทำให้ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการปรับตัวจะมีความสำคัญกว่าเดิม

ที่ผมแนะนำได้ คือเราควรพัฒนาทักษะหลักในกลุ่ม soft skills เช่น การคิดวิเคราะห์ การตั้งคำถาม และเปิดกว้างทางความคิด

วิธีคิดแบบ growth mindset และการเรียนรู้จากความผิดพลาด ก็เป็นสิ่งสำคัญ คนในยุคถัดไปจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ตามสถานการณ์ คือทั้งโฟกัสกับดีมานด์ของธุรกิจตรงหน้า และมองหาโอกาสใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เรายังอาจต้องเปลี่ยนตัวเองจากคนที่พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learners) มาเป็นคนที่สามารถเรียนรู้แบบก้าวกระโดด (exponential learners) แทน เพราะถ้าคุณขยับตัวช้าไป ก็อาจจะถูกเบียดจนหลุดวงโคจรได้

#6
เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Exponential Technologies) ตัวไหนบ้างที่จะมีอิมแพกต์ต่อองค์กรธุรกิจในไทย?

ผมอาจต้องศึกษาความท้าทายและความต้องการขององค์กรธุรกิจในไทยให้มากกว่านี้ ถึงจะตอบได้ตรงประเด็นกว่านี้ แต่อยากจะยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่จะปลดล็อคโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆแทน

อย่างแรกเลยคือ ปัญญาประดิษฐ์ จริงๆ AI นั้นมีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันเริ่มเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และปริมาณข้อมูลในปัจจุบัน ความสำคัญของมันมีมากถึงระดับที่มีคนกล่าวว่า “AI is the new electricity” เพราะขอบเขตการใช้งานของมันกว้าง และก็ให้ประโยชน์มากจริงๆ เพราะองค์กรสามารถคาดเดาเทรนด์ล่วงหน้าได้ถูกต้องและรวดเร็วในราคาที่ถูกลง จากชุดข้อมูลมหาศาลในมือ

โรโบติกส์ ผมมองว่าทุกวันนี้ เอเชียเป็นผู้นำในด้านการปฏิวัติหุ่นยนต์ไปแล้ว จากการใช้งานเครื่องจักรพวกนี้ในภาคอุตสาหกรรมมานาน และในอนาคต มันจะพัฒนาต่อไปเป็นศัลยแพทย์ เชฟ หรือผู้ช่วยส่วนบุคคลได้ เพราะประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และมีความแม่นยำสูงกว่า ในการทำงานแบบซ้ำๆ อันตราย หรือไม่ต้องใช้ทักษาะมากนัก

เทคโนโลยีที่สร้างความกลมกลืนระหว่างโลกจริงกับดิจิทัล (Immersive reality) ทั้ง AR, VR หรือ MR จะเป็นอินเตอร์เฟสใหม่ ที่เข้ามาแทนหน้าจอทั้งหลายที่เราใช้ในปัจจุบัน ทำให้เส้นแบ่งระหว่างความจริงกับโลกเสมือนจางลง และเปลี่ยนวิธีการตอบสนองของคุณกับโลกไป และก็จะเป็นโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจมากมาย ทั้งในแง่ความบันเทิง การทำงานจากระยะไกลในออฟฟิศเสมือน หรือแม้แต่ลดค่าใช้จ่ายในการสร้างสินค้าต้นแบบ

เรื่องสำคัญที่ผมอยากเน้น คือเทคโนโลยีเหล่านี้ มันมีความเชื่อมโยงกันอยู่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ มีส่วนในการควบคุมหุ่นยนต์, IoT, ควอนตัมคอมพิวเตอร์, รถไร้คนขับ ฯลฯ นอกจากจะสร้างความเท่าเทียมมากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้ทุกอย่างมีราคาถูกลงขึ้นด้วย นั่นหมายถึงคุณอาจไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรใหญ่ๆ ก็สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้

และในงาน RISE Innovation Week 2019 วันที่ 27 กันยายนนี้ คุณจะได้พบกับ Rob Van Alphen พร้อมด้วยคนในแวดวงเทคโนโลยีกลุ่ม Exponential Technologies มากมาย

อาทิ Levi Sani ผู้ร่วมก่อตั้ง Nalagenetics สตาร์ทอัพสายไบโอเทคจากสิงคโปร์ ที่มาพร้อมเทคโนโลยีตรวจวัดพันธุกรรม เพื่อลดกระทบจากการแพ้ยา และดึงประสิทธิภาพสูงสุดจากตัวยาที่แพทย์สั่งให้กับผู้ป่วย

RISE Innovation Week 2019 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 กันยายนนี้ ที่ The Society อาคาร Gaysorn Tower ผู้สนใจเข้าร่วม สามารถซื้อบัตรได้ที่นี่ RISE Innovation Week ติดต่อสอบถามได้ที่ 099-190-1468

พบกับบทสัมภาษณ์สปีกเกอร์คนอื่นๆ ได้ที่นี่

มองโอกาสทางธุรกิจผ่านสายตา AI กับ ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ แห่ง EATLAB

คุยเรื่อง เทคโนโลยีควอนตัม ไอเดียพลิกโลก กับ ดร. ธิปรัชต์ โชติบุตร แห่ง QTFT

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

รู้ลึกเรื่อง Deep Tech ใน 5 วัน ในงาน RISE Innovation Week 2019

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
1
Shares
Previous Article
เทรนด์เทคโนโลยี

10 เทรนด์เทคโนโลยี ที่จะพลิกโฉมธุรกิจยุคหน้า

Next Article
Ascend

หัวเว่ย เปิดตัว Atlas และบริการคลาวด์ บน Ascend สร้างโซลูชั่น AI แบบครบวงจร

Related Posts
Read More

บทเรียนจากกรณี Ensogo ล้มละลาย

ข่าว สคบ ประกาศให้ Ensogo ล้มละลายและแจ้งให้เจ้าหนี้นับพันรายไปยื่นสิทธิ์พิทักษ์ทรัพย์นั้น ทำให้ชื่อของอดีต Daily Deal ยักษ์ใหญ่ถูกพูดถึงอีกครั้ง