จากธุรกิจเล็กๆ ที่เริ่มต้นด้วยการให้บริการเช่าวิดีโอทางไปรษณีย์ Netflix เปลี่ยนตัวเองและเติบโตจนหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดของโลกในเวลาไม่ถึงยี่สิบปี
หนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จของ Netflix คือวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ให้อิสระกับพนักงาน เพราะ แพตตี้ แม็คคอร์ด ซีทีโอ (chief talent officer) ของบริษัทฯ เชื่อว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
แม็คคอร์ด เคยคิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลตามตำราที่เรียนกันมา เป็นเรื่องถูกต้อง แต่เมื่อถึงเวลาทำงานจริง เธอพบว่ามันทำให้ทุกอย่างยุ่งยากยิ่งกว่าเดิม
และนี่คือ 8 แนวทางสร้างองค์กรให้สนุกและมีประสิทธิภาพตามแบบฉบับ แม็คคอร์ด
#1
ทุกคนในออฟฟิศโตๆกันแล้ว
แม็คคอร์ด มองว่าการวางกฎเกณฑ์หรือจัดระเบียบองค์กรให้เป็นสัดเป็นส่วน เป้นการตีกรอบให้พนักงานเป็นเหมือนเด็กๆในโรงเรียน ทั้งที่จริงๆ คนเหล่านี้เป็นผู้ใหญ่ มีวุฒิภาวะ และมีความรับผิดชอบระดับหนึ่งแล้ว และรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ
#2
อย่าคิดว่า management คือการควบคุมคน
การบริหารจัดการ คือการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ แปลว่าสิ่งที่ควรใช้เป็นเครื่องวัดคือ งานที่ออกมานั้นดี ทำให้ลูกค้าพอใจ หรือทำกำไรให้บริษัท แทนที่จะวัดว่าเข้างานตรงเวลารึเปล่า ยื่นใบลาหยุดรึเปล่า หรือก่อนตัดสินใจได้ขออนุญาตแล้วรึยัง?
#3
สร้างองค์กรให้เป็นสถาบันสร้างคน
HR ควรมองว่าการทำงานคือส่วนหนึ่งของเส้นทางชีวิต และก็ไม่ใช่ทุกคนอยากทำงานที่เดียวไปตลอด บางคนอาจอยากไปเรียนต่อ บางคนอยากเปลี่ยนเส้นทาง การพยายามรั้งคนที่ไม่เต็มใจให้อยู่ต่อ มีแต่จะส่งผลเสียกับทั้งสองฝ่าย
คำแนะนำจาก แม็คคอร์ด คือเปลี่ยนองค์กรให้เป็นสถาบันที่สร้างคนเก่งๆขึ้นมา เมื่อคนเหล่านั้นย้ายไปเติบโตที่อื่น เท่ากับช่วยประกาศให้คนภายนอกรับรู้ว่าสร้างคนได้ดีขนาดไหน
#4
สอนทุกคนให้เข้าใจธุรกิจขององค์กร
จากข้อ #1 ที่เรามีสมมติฐานว่าทุกคนโตๆกันแล้ว เรื่องถัดมาที่ต้องทำ คือสอนให้ทุกคนเข้าใจธุรกิจของบริษัท ว่ามีเป้าหมายอะไร ขับเคลื่อนยังไง และวัดผลยังไง
เพราะองค์กรที่เดินหน้าได้คล่องตัว และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอด ก็เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกคน และการที่คนเหล่านั้นจะให้ความร่วมมือเต็มที่ก็ต่อเมื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังทำอยู่
#5
พร้อมรับคำวิจารณ์ เพื่อปรับปรุงตัวเอง
แม็คคอร์ด มองว่าการประเมินผลงานปีละครั้ง ไม่ช่วยให้องค์กรพัฒนาขึ้น
เธอเชื่อว่าโดยธรรมชาติ คนเราพร้อมรับฟังความเห็นที่ตรงไปตรงมา ถ้าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดนั้นเป็นเรื่องจริง
การให้ฟีดแบ็กแต่ละครั้ง จึงต้องเป็นการพูดตรงๆ ณ ตอนนั้น ว่าสิ่งที่ทำดีแล้ว หรือต้องปรับปรุงตรงไหน และเมื่อทุกคนกล้าพูดจริง เราก็จะได้ยินฟีดแบ็กที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
#6
ยึดมั่นและปฏิบัติตามคุณค่าตามที่ประกาศ
แม็คคอร์ด เล่าว่าซีอีโอของบริษัทแห่งหนึ่ง บ่นให้เธอฟังว่าการทำงานแต่ละเรื่องติดขัดไปหมด แต่เธอสังเกตเห็นว่าแม้แต่ตัวเขาเอง ยังไม่เคยมาประชุมตรงเวลาซักครั้ง
ซึ่งตรงกับตัวเลขจากผลสำรวจของ Dropbox พบว่าปัจจุบัน มีพนักงานเพียง 27% ที่เชื่อมั่นในคุณค่าตามที่องค์กรประกาศ
คำแนะนำจากเธอคือถ้าผู้บริหารอยากเห็นองค์กรเป็นแบบไหน ตัวเขาเองก็ต้องเป็นแบบอย่างให้กับคนในองค์กรด้วย
#7
ไอเดียแบบสตาร์ทอัพใช้งานไม่ได้จริง!?!
แม็คคอร์ด ไม่เชื่อในแนวคิดการแก้ปัญหาแบบสตาร์ทอัพ เธอมองว่าถ้าไอเดียพวกนั้นสมเหตุสมผลจริง ก็คงมีคนทำไปนานแล้ว
#8
กระตือรือล้นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ถ้าคุณกำลังแก้ปัญหาด้วยวิธีแบบเดิมๆ แม็คคอร์ด เตือนว่านั่นคือกับดักทางความคิด
เธอเชื่อว่าเราต้องลองวิธีใหม่ๆดูบ้าง เพราะโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และถ้าทุกคนพร้อมที่จะทำตามนั้น การทำงานก็จะสนุกขึ้น
เรียบเรียงจาก
8 lessons on building a company people enjoy working for
สำหรับ ผู้อ่าน AHEAD ASIA ที่อ่านบทความนี้และสนใจเรียนรู้การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Netflix โอกาสของคุณมาถึงแล้ว
พบกับ Patty McCord ตัวจริง เสียงจริง ได้ที่งาน Corporate Innovation Summit 2020 งานสัมมนาด้านนวัตกรรมที่ผู้ร่วมงานจะได้เรียนรู้การสร้างและขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมผ่านประสบการณ์ลงมือทำจริงในรูปแบบเวิร์คชอป จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ในระหว่างวันที่ 15 – 17 กันยายน 2563 นี้ ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมมาตรการความสะอาดและความปลอดภัยสูงสุด
งานสัมมนานี้ได้รวบรวมนำเอา 240 เวิร์คชอปที่ดำเนินการโดยผู้นำทางความคิดทางด้านนวัตกรรมระดับโลกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Andreas Weigend, Former Chief Scientist จาก Amazon, Dan Roam นักเขียนหนังสือขายดีเดอะนิวยอร์กไทมส์ The Back of the Napkin, Rashmi Sharma, Global Learning & Wellbeing จาก Unilever, William Bao Bean, General Partner จาก SOSV Accelerator VC ระดับท๊อป 3 ของโลก และนวัตกรอีกหลายท่านจากทั่วทุกมุมโลก ดูรายชื่อสปีกเกอร์และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ cis.riseaccel.com
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า