ฟรานเซส ฮอเกน

อดีตพนักงานเผย Facebook รู้ดีเรื่องผลต่อปัญหาสุขภาพจิต แต่เลือกมองข้าม

“ฉันก้าวออกมาเปิดเผย
เพราะพบความจริงที่น่ากลัว
ที่คนนอก Facebook ไม่เคยรู้”

คือหนึ่งในประโยคที่ ฟรานเซส ฮอเกน อดีตโปรดักท์ เมเนเจอร์ ของ Facebook กล่าวกับคณะอนุกรรรมการสภาคองเกรส หลังเปิดเผยเอกสารสำคัญ ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่ง

 

ฟรานเซส ฮอเกน คือใคร?

ฮอเกน คือวิศกรด้านข้อมูลที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีมานับสิบปี

เคยทำงานให้กับ Google, Yelp และ Pinterest ก่อนย้ายมาร่วมงานกับ Facebook ในปี 2018 เพื่อแก้ไขปัญหาเฟคนิวส์ เฮทสปีช ฯลฯ ก่อนได้รับตำแหน่งโปรดักท์ เมเนเจอร์ ในปีถัดมา

ในเดือนพ.ค. เธอตัดสินใจลาออกเพราะพบข้อมูลสำคัญ ซึ่งขัดกับความเชื่อดังกล่าว

และติดต่อ จอห์น ไท ผู้ก่อตั้ง Whistle Blower Aid สำนักงานทนายความไม่แสวงผลกำไร เพื่อเป็นตัวแทนในการประกาศข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนโดยไม่เปิดเผยชื่อของเธอ

โดยมี Wall Street Journal ร่วมตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเอกสารเหล่านั้น ก่อนที่เธอจะตกลงเปิดเผยตัวเป็นครั้งแรกในรายการ 60 Minutes เมื่อ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา

 

ความลับที่ Facebook ปกปิดไว้

ฮอเกน เข้าให้การในฐานะพยาน ต่อหน้าคณะอนุถกรรมการการพาณิชย์ ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และความปลอดภัยของข้อมูล เมื่อ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา

หลังจากนำเอกสารภายในของ Facebook ในปี 2018 จำนวนหลายพันหน้า มอบให้แก่ Wall Street Journal SEC (ก.ล.ต. สหรัฐ) และสภาคองเกรส

ใจความสำคัญของเอกสารเหล่านั้น คือ Facebook เคยทำงานวิจัยภายใน พบว่าโปรดักท์อย่าง News Feed มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ใช้ มีส่วนปลูกฝังความรุนแรง และกระตุ้นให้นำไปสู่พฤติกรรมสุดขั้ว

แต่สุดท้ายบริษัทฯ เลือกที่จะมองข้ามรายงานชิ้นนั้น

 

แนวทางควบคุมโซเชียลเบอร์หนึ่ง

นอกจากตอบคำถามคณะอนุกรรมการถึงหลักการทำงานอัลกอริทึมของ Facebook แล้ว

ฮอเกน ยังเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานกำกับจากภายนอก ซึ่งมีอำนาจในการขอข้อมูลจาก Facebook โดยเฉพาะการทำงานของอัลกอริทึม และชนิดของเนื้อหาที่แพลตฟอร์มเลือกขยายการเข้าถึงผู้ใช้

เธอเสริมว่าทุกวันนี้ คนที่มีสิทธิ์เข้าถึงและวิเคราะห์การทำงานของ Facebook และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ มีเพียงคนในองค์กรเท่านั้น

การมอบหมายให้อดีตพนักงานที่เคยทำงานในบริษัทเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานกำกับที่จะเข้ามาดูแลจึงเป็นเรื่องจำเป็น

พร้อมกันนี้ เธอยังแนะนำให้สภาคองเกรสให้ความสำคัญกับแนวทางของ Facebook ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใช้ เพราะยังเป็นประเด็นที่น่ากังวลอยู่

 

การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เอ็ด มาร์คีย์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวหลัง ฮอเกน ให้การว่าข้อมูลที่ได้รับ ช่วยให้คณะอนุกรรมการเห็นภาพการทำงานของ Facebook ชัดเจนขึ้น รวมถึงผลกระทบของอัลกอริทึมต่อสภาพจิตใจของผู้ใช้งานด้วย

คณะอนุกรรมการให้คำมั่นว่าจะเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ Facebook ให้มากขึ้น และอาจมีการเรียกผู้บริหาร Facebook รวมถึงโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เข้ามาให้การเพิ่มเติมในอนาคต

ส่วนสมาชิกวุฒิสภา ริชาร์ด บลูเมนธาล ก็เสริมว่าข้อมูลจาก ฮอเกน จะสร้างความแตกต่างให้เกิดกับการทำงานของฝ่ายกฎหมายได้ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางใหม่ ๆ ในการกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ต่อไป

เรียบเรียงจาก

Facebook’s whistleblower tells Congress how to regulate tech

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
Blue Origin

คนในแฉยับ Blue Origin ปัญหาเพียบ ทำพนักงานเครียดเกือบฆ่าตัวตาย

Next Article
Life on LINE

Life on LINE ขยายภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับไลฟ์สไตล์ยุค Now Normal

Related Posts